พระบรมรูป

รูปภาพ

พระบรมรูป  "พระมหากษัตริย์ทอดพระเนตรประชาชน"

ผู้สร้างสรรค์ผลงาน ผู้ช่วยศาสตราจารย์พูลสวัสดิ์ มุมบ้านเซ่า

แนวคิด

           วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ “...รถแล่นผ่านฝูงชนไปได้อย่างช้าที่สุดถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นได้เร็วขึ้นบ้างตามทางที่ผ่านมาได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดัง ๆ ว่า “...อย่าละทิ้งประชาชน...” อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า …ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งอย่างไรได้…”  จากพระราชดำรัสดังกล่าว เป็นดั่งคำสัญญาที่จะเสด็จกลับมา สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฏร์ต่อเนื่องมาตั้งแต่แรกเริ่มรัชกาลจนถึงปัจจุบัน
           ชื่อผลงาน "พระมหากษัตริย์ทอดพระเนตรประชาชน" เป็นพระบรมรูปรัชกาลที่ ๙ ทรงครุยมหาจักรีครึ่งองค์ หล่อสำริด ขนาดใหญ่กว่าคนจริง ความสูงจากฐาน ๘๖ เซนติเมตร กว้าง ๗๐ เซนติเมตร หนา ๓๒ เซนติเมตร ประดิษฐานบนกล่องไม้อัดสัก คิ้วไม้สัก โครงเหล็กขนาดความลึก ๐.๔๒ เซนติเมตร กว้าง ๐.๔๖ เซนติเมตร สูง ๑.๓๐ เซนติมเตร  สร้างสรรค์โดย ผศ. พูลสวัสดิ์ มุมบ้านเซ่า ข้าราชการบำนาญ และอาจารย์พิเศษสาขาวิชาศิลปกรรมศาสตร์ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
 
แนวคิด 
          วันที่ ๑๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๙ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ประทับรถยนต์พระที่นั่งเสด็จพระราชดำเนินกลับประเทศสวิสเซอร์แลนด์เพื่อทรงศึกษาต่อ “...รถแล่นผ่านฝูงชนไปได้อย่างช้าที่สุดถึงวัดเบญจมบพิตร รถแล่นได้เร็วขึ้นบ้างตามทางที่ผ่านมาได้ยินเสียงใครคนหนึ่งร้องขึ้นมาดัง ๆ ว่า “...อย่าละทิ้งประชาชน...” อยากจะร้องบอกเขาลงไปว่า …ถ้าประชาชนไม่ทิ้งข้าพเจ้าแล้ว ข้าพเจ้าจะละทิ้งอย่างไรได้…”  จากพระราชดำรัสดังกล่าว เป็นดั่งคำสัญญาที่จะเสด็จกลับมา สะท้อนให้เห็นถึงความผูกพันที่ทรงมีต่ออาณาประชาราษฏร์ต่อเนื่องมาตั้งแต่แรกเริ่มรัชกาลจนถึงปัจจุบัน
 
ความเป็นมา
           จากการที่ ผศ.ดร. เสนาะ กลิ่นงาม อธิการบดีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มอบหมาย ผศ. พูลสวัสดิ์ มุมบ้านเซ่า เมื่อวันที่ ๗ มกราคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ให้ดำเนินการปั้นและหล่อพระบรมรูปในหลวงรัชกาลที่ ๙ นำไปจัดตั้งหน้าทางเข้าอาคารวิทยาภิรมย์ (อาคาร ๑๔) เพื่อให้นักศึกษา อาจารย์ เจ้าหน้าที่ และประชาชนได้เคารพสักการะ และน้อมรำลึกในพระมหากรุณาธิคุณ แล้วเสร็จและประดิษฐานเมื่อวันที่ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๔ ต่อมาในโอกาสที่มีการปรับปรุงโครงสร้างพื้นฐานของอาคารวิทยาภิรมย์ ในปีงบประมาณ ๒๕๖๔ คณะกรรมการบริหารมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้พิจารณาความเหมาะสม โดยให้ย้ายมาประดิษฐานไว้ที่ห้องเกียรติภูมิปัญญามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (PBRU Hall of fame) ชั้น ๑ อาคารศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรีฯ (อาคารหอสมุดเดิม) สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
 
ขั้นตอนการสร้างสรรค์
          เริ่มปั้นต้นแบบโดยใช้เทคนิคปั้นดินน้ำมัน ขนาดความกว้าง ๖๕ ซ.ม. หนา ๓๒ ซ.ม. สูง ๘๕ ซ.ม. เสร็จเมื่อวันที่ ๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๔ ทำแม่พิมพ์ปูนปลาสเตอร์ หล่อขี้ผึ้ง และแต่งขี้ผึ้ง ทำแม่พิมพ์ยางซิลิโคน เสร็จวันที่ ๔ มีนาคม ๒๕๖๔ และหล่อวัสดุบรอนซ์ที่โรงหล่อเอเซียไฟล์อาร์ท จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เสร็จเมื่อวันที่ ๑๓ พฤษภาคม ๒๕๖๔

 


2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี