ราชภัฏสัญลักษณ์

รูปภาพ

        พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยครูทั่วประเทศว่า “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘ ซึ่งคำว่า “ราชภัฏ” หมายถึง “คนของพระราชา ข้าของแผ่นดิน” ซึ่งมีความหมายและนัยยะ ที่สำคัญและลึกซึ้งมาก เปรียบเสมือนว่า สถาบันราชภัฏ หรือ มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งทั่วประเทศ ได้เป็นผู้ทำงานถวายเพื่อสนองพระราชกรณียกิจของพระองค์ ในเรื่องที่สำคัญๆ พัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสทางการศึกษา และพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน ช่วยให้เขามีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกสถานที่รวมถึงชุมชนสังคมที่ส่วนราชการ หรือหน่วยงาน อื่นๆ ยังเข้าไม่ถึง หรือละเลยในการพัฒนา ด้วยความสำนึกของ “คนราชภัฏ” จึงชัดเจนแล้วว่าทุกคนจักต้องมีจิตสำนึกที่จะต้องอุทิศตน ทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและเทิดทูน อย่างหาที่สุดมิได้ จะกระทำสิ่งใดต้องคิดคำนึงเพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง รวมทั้งปฎิบัติภารกิจต่างๆของมหาวิทยาลัย ให้เปรียบเสมือนได้กระทำเพื่อถวายพระองค์ทุกกรณี นั่นเองราชภัฏสัญลักษณ์ได้หลอมรวมมาจากสัญลักษณ์เดิมของวิทยาลัยครูจำนวน 36 สถาบัน ให้คงเหลือความเป็นหนึ่งในรูปแบบสัญลักษณ์ใหม่เพียงรูปแบบเดียว โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อการสื่อความหมาย ง่ายต่อการจดจำมีจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสถาบัน เป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ทรงให้กำเนิดสถาบันราชภัฏ และเป็นกลาง เกี่ยวข้องกับถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติ และความสอดคล้องกับชื่อสถาบันราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน

 

สีของสัญลักษณ์ ประกอบด้วยสีต่าง ๆ จำนวน 5 สี ดังต่อไปนี้     

        สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน "สถาบันราชภัฏ" 

        สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของสถาบันราชภัฏ 36 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม 

        สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา 

        สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน 

        สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

พระราชลัญจกร

        พระราชลัญจกรประจำรัชกาล เป็นตราประจำพระมหากษัตริย์แต่ละรัชกาล ที่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าให้สร้างขึ้น เพื่อเริ่มต้นรัชกาลเพื่อประทับกำกับพระปรมาภิไธย ในเอกสารสำคัญต่างๆ ของชาติ ที่เกี่ยวด้วยการราชการแผ่นดิน เช่น รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา และเอกสารสำคัญส่วนพระองคที่เกี่ยวกับราชการแผ่นดิน พระราชลัญจกรเป็นเครื่องมงคลที่แสดงถึงพระราชอิสริยยศ และพระบรมเดชานุภาพของพระมหากษัตริย์ จากหลักฐานพบว่า มีมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา อันเป็นหลักฐานถึงความเจริญด้านวัฒนธรรมของชาติที่สืบต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน

 

 

 

        พระบรมราชสัญลักษณ์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 เป็นรูปพระที่นั่งอัฐทิศ ประกอบด้วยวงจักร กลางวงจักรมีอักขระเป็น "อุ" หรือ "เลข 9" รอบวงจักรมีรัศมีเปล่งออกโดยรอบ เหนือจักรเป็นรูปเศวตฉัตร 7 ชั้น ฉัตรตั้งอยู่บนพระที่นั่งอัฐทิศ แปลความหมายว่า มีพระบรมเดชานุภาพในแผ่นดิน โดยที่วันบรมราชาภิเษก ตามโบราณราชประเพณี ได้เสด็จประทับเหนือพระที่นั่งอัฐทิศ สมาชิกรัฐสภาถวายน้ำอภิเษกจากทิศทั้ง 8 นับเป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ ที่พระมหากษัตริย์ในระบอบประชาธิปไตย ทรงรับน้ำอภิเษกจากสมาชิกรัฐสภา แทนที่จะรับจากราชบัณฑิตดั่งในรัชกาลก่อน

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานชื่อวิทยาลัยครูทั่วประเทศว่า “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ ๑๔ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๕๓๕ และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานตราพระราชลัญจกรประจำพระองค์ ให้เป็นตราสัญลักษณ์ของสถาบันราชภัฏทั่วประเทศ เมื่อวันที่ ๖ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๓๘

         คำว่า “ราชภัฏ”  หมายถึง  “คนของพระราชา  ข้าของแผ่นดิน”  ซึ่งมีความหมายและนัยยะ ที่สำคัญและลึกซึ้งมาก เปรียบเสมือนว่า  สถาบันราชภัฏ  หรือ  มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่งทั่วประเทศ ได้เป็นผู้ทำงานถวายเพื่อสนองพระราชกรณียกิจของพระองค์  ในเรื่องที่สำคัญๆ พัฒนาประชาชนทุกหมู่เหล่าได้มีโอกาสทางการศึกษา  และพัฒนาตนเองในทุกๆ ด้าน ช่วยให้เขามีคุณภาพชีวิตดีขึ้นในทุกสถานที่รวมถึงชุมชนสังคมที่ส่วนราชการ หรือหน่วยงาน อื่นๆ ยังเข้าไม่ถึง  หรือละเลยในการพัฒนา

        ด้วยความสำนึกของ “คนราชภัฏ” จึงชัดเจนแล้วว่าทุกคนจักต้องมีจิตสำนึกที่จะต้องอุทิศตน  ทำงานทุกอย่างเพื่อเป็นการถวายความจงรักภักดีและเทิดทูน  อย่างหาที่สุดมิได้  จะกระทำสิ่งใดต้องคิดคำนึงเพื่อประชาชนเป็นที่ตั้ง  รวมทั้งปฎิบัติภารกิจต่างๆของมหาวิทยาลัย  ให้เปรียบเสมือนได้กระทำเพื่อถวายพระองค์ทุกกรณี  นั่นเอง

 

 

ราชภัฏสัญลักษณ์

         ราชภัฏสัญลักษณ์ได้หลอมรวมมาจากสัญลักษณ์เดิมของวิทยาลัยครูจำนวน 36 สถาบัน ให้คงเหลือความเป็นหนึ่งในรูปแบบสัญลักษณ์ใหม่เพียงรูปแบบเดียว โดยคำนึงถึงประโยชน์ในการนำไปใช้เพื่อการสื่อความหมาย ง่ายต่อการจดจำมีจุดเด่นและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวของสถาบัน เป็นรูปแบบที่เกี่ยวข้องกับสถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ทรงให้กำเนิดสถาบันราชภัฏ และเป็นกลาง เกี่ยวข้องกับถิ่นที่ตั้ง ธรรมชาติ และความสอดคล้องกับชื่อสถาบันราชภัฏที่ได้รับพระราชทาน สีของสัญลักษณ์ ประกอบด้วยสีต่าง ๆ จำนวน 5 สี ดังต่อไปนี้ 

        สีน้ำเงิน แทนค่า สถาบันพระมหากษัตริย์ผู้ให้กำเนิด และพระราชทาน "สถาบันราชภัฏ" 

        สีเขียว แทนค่า แหล่งที่ตั้งของสถาบันราชภัฏ 36 แห่ง ในแหล่งธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อมที่สวยงาม 

        สีทอง แทนค่า ความเจริญรุ่งเรืองทางภูมิปัญญา 

        สีส้ม แทนค่า ความรุ่งเรืองทางศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่น ที่ก้าวไกลใน 36 สถาบัน 

        สีขาว แทนค่า ความคิดอันบริสุทธิ์ ของนักปราชญ์แห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว 

 

การพัฒนารูปแบบของตราสัญลักษณ์

       พัฒนารูปแบบของตราสัญลักษณ์ โดยแสดงพระราชกรณียกิจของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวอย่างชัดเจน ในกรณีการปรับเปลี่ยนแผนการศึกษาของชาติที่เด่นชัด โดยพัฒนาการศึกษาที่เริ่มจากบ้าน วัด วัง และโรงเรียนตามลำดับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจุดสำคัญเมื่อทรงโปรดเกล้าฯ ให้มีการจัดตั้งโรงเรียนฝึกหัดอาจารย์ขึ้นเป็นครั้งแรก โดยทรงใช้กระบวนการทางปัญญาแก้ปัญหาระบบการพัฒนาประเทศ ตัวอักษรจึงเป็นส่วนประกอบสำคัญในการจัดวางรูปแบบตามสัญญลักษณ์ โดยปรับตัวอักษรไทยให้มีโครงสร้างในลักษณะใกล้เคียงระบบสากล คือใช้อักษรโรมันแบบ Ghothic หรือตัวอักษรอังกฤษแบบ Old English ตัวอักษรล้านนาและตัวอักษรขอม พัฒนาประกอบเข้าด้วยกัน เป็นแนวทางในการสร้างสรรค์รูปแบบตัวอักษร ให้สามารถแทนค่าความรู้สึกในการสื่อสารร่วมสมัยและแสดงความสูงส่งแห่งสถาบันพระมหากษัตริย์อัญเชิญตราพระราชลัญจกร ประจำพระองค์ในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๙ โดยมีอุณาโลมสีทองขอบสีส้มประดับบนเศวตฉัตร 3 ชั้นล่าง ด้านล่างของเศวตฉัตร ในวงกลมเปลี่ยนจักรซึ่งหมุนรอบอุณาโลมเดิมเป็นลายไทย สีทองบนพื้นเขียว พร้อมทั้งขอพระราชทานพระปรมาภิไธยย่อ "ภปร" สีทอง ขอบสีส้มประดับในวงกลมซึ่งมีพื้นสีน้ำเงิน เส้นขอบสีขาว เปลวของดวงตราลัญจกรสีทองขอบสีส้มสามสิบหกเปลวอยู่เหนือพื้นที่ภายในวงรีสีน้ำเงิน วงรีนอกของดวงตรา ด้านบนเป็นชื่อเดิมภาษาไทยของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และมีลายประจำยามปิดหน้าและท้ายตัวอักษร ด้านล่างเป็นชื่อภาษาอังกฤษตัวอักษรสีทองบนพื้นเขียวและล้อมวงรีทั้งด้านในและด้านนอกด้วยเส้นสีทองทับ

 

ที่มา : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (2559). 90 ปี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี: 9 ทศวรรษ โรงเรียนฝึกหัดครู สู่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์. 


2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี