อาคารหมู่เรือนไทย หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ

Dublin Core

Title

อาคารหมู่เรือนไทย หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ

Description

          หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ เป็นอาคารหมู่เรือนไทย และหอประชุม ได้เริ่มก่อสร้างเป็นหมู่เรือนไทยขึ้นในครั้งแรก ตามดำริของคณะกรรมการศูนย์ศิลปวัฒนธรรมปี 2531 ในสมัยที่อธิการนิทัศน์ เพียกขุนทด ดำรงตำแหน่งเป็นอธิการ มี ผศ.สุนันท์ อุดมเวช ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ศิลปวัฒนธรรม คณะกรรมการได้ขอเงินสนับสนุนจากเอกชนหลายราย และจากงบประมาณพัฒนาท้องถิ่นของ ส.ส. จังหวัดเพชรบุรี จนได้สร้างเรือนไทยขึ้น 2 หลังแรก เป็นเงินประมาณ 3 ล้านบาท ในสมัยที่อธิการ รศ. สันต์ ธรรมบำรุง ดำรงตำแหน่งอธิการ

          ต่อมาในสมัยที่ ผศ.ดร.ปัญญา การพานิช เป็นอธิการในปี 2537 คณะกรรมการอันประกอบด้วย ผศ.สุนันท์ อุดมเวช ผู้อำนวยการสำนักศิลปวัฒนธรรม อาจารย์ล้อม เพ็งแก้ว ผศ.มนู อุดมเวช และ อ.ปราณี ชุ้มน้อย ปรึกษาสำนักศิลปวัฒนธรรม ได้ร่วมกันเขียนโครงการขอเงินงบประมาณ 14 ล้านบาทซึ่งก็ได้รับความกรุณาจากฯพณฯบุญชู ตรีทอง รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลังในสัยนั้นช่วยผลักดันให้โครงการนี้ผ่านลุล่วงไปด้วยดี และคณกรรมการยังได้เขียนขอครุภัณฑ์ต่างๆ ในงบแปรญัติติจากสภาผู้แทนราฎรอีกจำนวน 9 ล้านบาท และสถาบันราชภัฎเพชรบุรีสมทบเพื่อปรับปรุงหอประชุมอีกจำนวนหนึ่งเพื่อก่อสร้างจึงแล้วเสร็จ โดยสมบูรณ์ในปี 2538 รวมงบประมาณที่ใช้ในการก่อสร้างทั้งสิ้นประมาณ 20 ล้านบาทเศษ

          ซึ่ง 3 ชื่อแรกนั้นเป็นตำแหน่งทางการปกครองของเมืองเพชรบุรีในสมัยโบราณ คือเป็นตำแหน่งเจ้าเมือง ปลัดเมืองและยกกระบัตรเมือง ส่วนที่ 2 ชื่อนั้น ได้นำมาจากชื่อผู้มีจิตเมตตาบริจาคสร้างเรือนไทยให้สำนักศิลปวัฒนธรรมเป็นปฐม คือนางบุญรวม เสนาดิสัย และด้านล่างของหมู่เรือนไทยจะเป็นอาคารใช้สอยและสำนักงาน ประกอบไปด้วยห้องต่างๆ ดังนี้ 

  • ห้องภูมิผไท (ห้องนิทรรศการ)
  • ห้องภูมิประวัติ (ห้องสมุดวัฒนธรรม)
  • ห้องภูมิรักษ์ (ห้องเอกสาร)
  • ห้องภูมิพลัง (ห้องศิลปินเมืองเพชร)
  • ห้องภูมิประชา (ห้องประชุมเล็ก)
  • ห้องภูมิหทัย (ห้องสำนักงาน)
  • ห้องปันกัน (จำหน่ายของที่ได้รับบริจาคมาในราคาถูก)

          ส่วนด้านซ้ายของหมู่เรือนไทยจะเป็นหอประชุมใหญ๋ชื่อ “หอประชุมภูมิแผ่นดิน” รับรองคนได้ประมาณ 200 คน มีอัฒจันทร์เลื่อนเก็บได้ติดแอร์ขนาด 70 ตัน ด้านหน้าของหมู่เรือนไทย จะมีสระน้ำ มี “ศาลาสบาย” ไว้สำหรับนั่งพักผ่อนและมีหลวงพ่อเกตุน้อย ประดิษฐานอยู่ริมสระด้านซ้าย ด้านขวาของหมู่เรือนไทย จะมีเรือนโซ่งหรือเรือนชาวไทดำและโรงเคี่ยวตาล ส่วนด้านหน้าหมู่อาคารจะเป็นป้ายบอกนามอาคาร สร้างด้วยปูนปั้น จากช่างเมืองเพชร ซึ่งได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ใช้นามว่า “อาคารหอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ” พร้อมทั้งพระราชทานตราสัญลักษณ์ งานสิริราชสมบัติครล 50 ปี ประดิษฐานไว้ ณ บนป้ายบอกนามอาคาร เมื่อ 16 สิงหาคม 2539 และในวันที่ 20 มกราคม 2543 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ได้เสด็จเป็นการส่วนพระองค์มาทรงเปิดป้ายอาคาร “หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ” ทั้งหมดนี้คือบริเวณของอาคารหอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ สำนักศิลปวัฒนธรรมสถาบันราชภัฏเพชรบุรี และปัจจุบันคือ สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Subject

สถาปัตยกรรม
อาคาร
เรือนไทย

Creator

ทวี นวมนิ่ม

Date

2531

Source

  • สุนันท์ อุดมเวช. (2537). แนะนำศูนย์ศิลปวัฒนธรรมและศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี สถาบันราชภัฏเพชรบุรี. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์.
  • สำนักศิลปวัฒนธรรม. (2543). หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์.

Format

image/jpeg

Language

tha

Type

Image

Identifier

สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี https://research.pbru.ac.th

Coverage

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
จังหวัดเพชรบุรี

Files

Thaihuen-01.JPG
Thaihuen-02.JPG
Thaihuen-03.JPG
Thaihuen-04.JPG
Thaihuen-05.JPG

Citation

ทวี นวมนิ่ม, “อาคารหมู่เรือนไทย หอวัฒนธรรมเฉลิมพระเกียรติ,” จดหมายเหตุดิจิทัลมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, accessed January 14, 2025, https://localphetchaburi.net/archives/items/show/4.

Output Formats

Geolocation