ผลการดำเนินงาน 2566

ผลการดำเนินงานปี 2566

1. ด้านศิลปวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น จำนวนทั้งสิ้น 7 เรื่อง 50 รายการ ดังนี้    

1.1 รายการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น เรื่อง "ปูนปั้น" จำนวน 35 รายการ  โดยจำแนกเป็น

https://localphetchaburi.net/eLocal/items/browse?advanced[0][element_id]=49&advanced[0][type]=is+exactly&advanced[0][terms]=ปูนปั้น 

https://localphetchaburi.net/eLocal/search?query=ปูนปั้น

1.2 รายการทรัพยากรสารสนเทศท้องถิ่น เรื่อง “ช่างปูนปั้น” จำนวน 12 รายการ จำแนกเป็น

https://localphetchaburi.net/eLocal/items/browse?advanced[0][element_id]=49&advanced[0][type]=is+exactly&advanced[0][terms]=ช่างปูนปั้น 

1.3 ประเภทภาพนำเสนอ กลุ่มข้อมูล “สถานที่” หมวดหมู่ “แหล่งโบราณคดี” เรื่อง แนวป้อมเมืองเก่า เพชรบุรี : สรุปผลเบื้องต้นการขุดตรวจสอบทางโบราณคดี

https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/39  

1.4 ประเภทภาพถ่าย กลุ่มข้อมูล “สิ่งประดิษฐ์” หมวดหมู่ “เครื่องแต่งกาย” เรื่อง การแสดงเดินแบบของภูษาผ้าลายอย่าง ในงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์ครั้งที่ 11

https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/40 

1.5 ประเภทภาพเขียน กลุ่มข้อมูล “สิ่งประดิษฐ์” หมวดหมู่ “ทัศนศิลป์” หมวดหมู่ย่อย “จิตรกรรม”  เรื่อง “ภาพเขียนชุดทุ่งนาป่าตาลเมืองเพชรบุรี

https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/38 

1.6 ประเภทภาพเขียน กลุ่มข้อมูล “สิ่งประดิษฐ์” หมวดหมู่ “ทัศนศิลป์” หมวดหมู่ย่อย “จิตรกรรม”  เรื่อง “จิตรกรรมชุด ฝ่าวิกฤต” https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/117 

1.7 ประเภทวีดีโอ กลุ่มข้อมูล “สิ่งประดิษฐ์” หมวดหมู่ “ประติมากรรม” เรื่อง “ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมปูนปั้น : แนวความคิดการออกแบบผลงานทศพิธราชธรรม ภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีhttps://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/126

1. เรื้่อง ช่างปูนปั้น ประกอบด้วย 

          งานปูนปั้น นับเป็นงานช่างสาขาหนึ่งของเพชรบุรีที่สืบทอดต่อกันมานาน เป็นศิลปะอย่างหนึ่งที่นิยมกันมาแต่โบราณ มีทั้งงานปั้นองค์พระพุทธรูปและปั้นประดับตกแต่งอาคารสิ่งก่อสร้างทาง สถาปัตยกรรมหน้าบัน อุโบสถ วิหาร ฐานพระพุทธรูป ฐานเจดีย์ ลายที่ปั้นมักเป็นลายไทยที่มีความวิจิตรพิสดารผสมผสานกันอยู่กันรูปปั้นพุทธ ประวัติ ประกอบด้วย เทพ เทวดา สัตว์หิมพานต์ และสัตว์ในวรรณคดี ใน อดีตการปั้นจะใช้ปูนซึ่งทำมาจากเปลือกหอยเผาไฟที่นำไปตำจนละเอียดผสมกับน้ำ อ้อย กระดา หนังหรือเขาสัตว์เผาไฟ แล้วนำไปตำรวมกัน ทำให้ได้ปูนที่มีความเหนียวสามารถปั้นเป็นรูปต่างๆได้ง่าย และเมื่อแห้งแล้ว จะแข็งตัวและทนแดด ทนฝนได้ดี เรียกว่า ปูนเพชร ปัจจุบัน ช่างปั้นจะใช้ปูนขาวสำหรับปั้น ที่มีขายในท้องตลาดไปตำรวมกับกระดา กาวหนังสัตว์ ทรายละเอียดและน้ำเพื่อให้ได้ปูนที่มีความเหนียวพอดีเหมาะสำหรับงานปั้น งาน ปูนปั้นตามรูปแบบของจังหวัดเพชรบุรี นิยมทำร่วมกับงานลงรักปิดทองและประดับกระจก เมื่อดูแล้วจะแข็งแรง ทนทานไม่หดตัวง่าย แพรวพราวมีลายเด่น ช่วยเสริมให้งานประกอบปูนปั้นเด่นยิ่งขึ้น เช่น ฐานพระ เป็นต้นงานปูนปั้นที่มีความโดเด่นสวยงามในเมืองเพชรมีหลายแห่ง ประดับอยู่ตามอาคารและสิ่งปลูกสร้างมีมากตามวัดทั่วไป อาทิ งานปูนปั้นหน้าบันพระวิหารหลวง พระปรางค์ และงานปูนปั้นโดยทั่วไปของศาลาวัดมหาธาตุวรวิหาร ผลงานของช่างเมืองเพชรหลายท่าน เช่นนายพิณ อินฟ้าแสง นายทองร่วง เอมโอษฐ นายเฉลิม พึ่งแตง นายสมพล พลายแก้ว หน้าบันวิหารพระคันธารราฐ วัดพลับพลาชัย ฝีมือของนายพิณอินฟ้าแสง หน้าบันและซุ้มประตูอุโบสถวัดปากคลอง ฝีมือ นายแป๋ว บำรุงพุทธ เป็นต้น ส่วนงานปูนปั้นฝีมือช่างสมัยอยุธยามีปรากกอยู่หลายแห่ง เช่น วัดไผ่ล้อม วัดสระบัว วัดเกาะ วัดใหญ่สุวรรณารามวรวิหาร วัดบันไดอิฐ เป็นต้น
          ในการที่จะสร้างงานประติมากรรมปูนปั้นให้ได้ดีนั้นต้องมีความมุ่งมั่นขยันพาก เพียรในการปฏิบัติ เพราะเมื่อเริ่มปฏิบัติในช่วงแรกจะมีความรู้สึกยาก แต่พอปฏิบัติผ่านไปเรื่อยๆจะเริ่มเข้ามือมีทักษะในการปั้นขึ้นและสนุกกับการ ปั้น เปรียบเสมือนการฝึกขับรถใหม่ๆ จะดูสับสนไปหมด เพราะต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายแต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่งจะเกิดทักษะในการ ปฏิบัติงานขึ้น การปั้นรูปนอกจากจะฝึกฝนให้เกิดความชำนาญแล้วยังส่งผลประโยชน์ทั้งทางร่าง กายและจิตใจ บางคนฝึกสมาธิโดยการปั้นรูปเพราะจะทำให้สมาธินิ่งขึ้นหรือการนวดปูน การขึ้นรูปปูนเป็นการใช้แรงออกกำลังกายอย่างหนึ่งทำให้สุขภาพแข็งแรงดีเลือดลมสูบฉีด สิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญมากในกระบวนการปั้นนั้นจะต้องวาดเส้น ( Drawing ) ซึ่งเป็นสิ่งที่คู่กับงานปั้น ประติมากรที่เก่งนั้นจะวาดเส้นดีทุกคนเพราะพื้นฐานสำคัญในการปั้นรูปให้ได้ดี

ปราณีตศิลป์ประเภทงานปูนปั้น
         ประณีตศิลป์ประเภทต่อไปนี้ เป็นไปในลักษณะงานปั้นโดยอาศัยปูนโขลกปูนตำเป็นวัสดุสำคัญ ปั้นทำลวดลายประดับสำหรับตกแต่งติดกับวัตถุสถานต่าง ๆ เช่นพื้นหน้าบันกรอบซุ้มประตู ซุ้มหน้าต่าง เป็นต้น ประณีตศิลป์ประเภทงานปูนปั้น มิใช่ประณีตศิลป์ที่เพิ่งจะมาเกิดมีขึ้นเป็นคราวแรกใน รัชกาลที่ 3 งานปูนปั้นที่จัดเป็นประณีตศิลป์ได้มีอยู่แล้วและทำสืบกันลงมาแต่โบราณ ส่วนงานปูนปั้นซึ่งได้ทำขึ้นระหว่างรัชกาลที่ 3 นั้น มีสาระสำคัญอันเนื่องมาแต่พระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่เป็นการใหม่ ๆ ต่างกว่าขนบนิยมของงานปูนปั้น อันเคยถือปฏิบัติกันมาแต่กาลก่อน ซึ่งจะได้อธิบายเรื่องนี้โดยเฉพาะต่อไปข้างหน้า งานปูนปั้นที่ได้ทำขึ้นสำหรับตกแต่งวัตถุสถานต่าง ๆ เมื่อรัชกาลที่ 3 นั้น สังเกตได้ว่าใช้ปูนตำ 2 ชนิดด้วยกันคือปูนผสมน้ำกาวชนิด 1 กับปูนผสมน้ำมันอีกชนิด 1 คุณสมบัติของปูนตำทั้ง 2 ชนิดนี้ มีความคงทนเสมอกัน แต่ จะต่างกันที่ปูนผสมน้ำมันนั้นมีสิ่งมาร่วมผสมทำให้เนื้อปูนละเอียดกว่าปูน ผสมน้ำกาวปูนตำชนิดนี้จึงมักใช้ปั้นสิ่งที่ต้องการแสดงส่วนละเอียดให้ได้มาก ชัดเจน และวิจิตรประณีต ส่วนปูผสมน้ำกาวเนื้อปูนติดจะหยาบจึงใช้ปั้นแต่ของใหญ่ ๆ ไม่สู้ต้องการแสดงส่วนละเอียดมากนัก งานปูนปั้นที่เป็นการเนื่องด้วยพระราชดำริขึ้นใหม่ในรัชกาลนี้ มีสาระสำคัญในด้านความคิดและรูปแบบซึ่งจะเห็นได้ในงานปูนปั้นต่าง ๆ ต่อไปนี้

งานช่างปั้นปูนสด
          ศิลปะปูนปั้น เป็นเทคนิคการประดับตกแต่ง ที่ช่างไทย นิยมนำ มาใช้ในการตกแต่งลวดลายบนงานสถาปัตยกรรมที่ก่อสร้าง ด้วยอิฐ หรือ ศิลาแลง มีปรากฏตั้งแต่สมัยทวารวดี และยังคงเป็นที่ นิยมสืบต่อกันมาทุก ยุคสมัย ดังจะพบเห็นได้ตามโบราณสถานโดย ทั่วไป ลวดลายเครื่องสถาปัตยกรรมที่ทำจากปูนปั้น มีทั้งที่เป็นรูป บุคคล รูปสัตว์ ลวดลายพันธุ์พฤกษา เป็นภาพเล่าเรื่องและอื่นๆ อีกมาก มีทั้งที่ทำเป็นภาพนูนสูง นูนต่ำ หรือทำเป็นประติมากรรมลอย ตัวทั้งนี้ขึ้นอยู่กับคตินิยมและฝีมือช่าง
          การปั้นปูนแบ่งออกเป็น ๒ วิธีใหญ่ๆ คือ การปั้นสด หรือ การปั้นที่ขึ้นรูปด้วยมือโดยตรง และการอัดปูนลงในแม่พิมพ์เป็นรูปลาย และยังมีการตกแต่งผิวของปูนปั้น เพื่อความสวยงามด้วยวิธีลงรักปิด ทอง ลงรักประดับกระจก หรือลงสีเขียนระบายด้วยก็ได้ลวด ลายปูนปั้นที่ประดับโบราณสถาน รวมทั้งเทคนิคในการทำแต่ละยุคสมัย จะมีรายละเอียดในรูปแบบ สามารถใช้ กำหนดอายุโบราณสถาน ที่มีลวดลายปูนนั้นๆ ประดับอยู่ได้ ลายปูนปั้นที่ประดับอยู่ตามโบราณสถานโดยทั่วไป มักอยู่ ในสภาพชำรุด เพราะภูมิอากาศ ความชื้น และฝนทำให้หักพังและหลุดร่วงได้ง่าย

          ศิลปะ ปูนปั้นของไทย ที่นิยมปั้นตกแต่งอาคารพุทธสถาน ปราสาทราชวังมาแต่เดิมนี้ มีชื่อเรียกที่บ่งบอก ลักษณะต่างๆ กัน ดังนี้   

          - ปูนปั้น เรียกตามลักษณะการปฏิบัติงาน คือ การนำมาปั้นงานศิลปกรรม
          - ปูนโบราณ เรียกตามการจัดยุคสมัย
          - ปูนตำ เรียกตามลักษณะขบวนการสร้างเนื้อวัสดุสำหรับใช้งาน
          - ปั้นปูนสด ปูนสด เรียกตามลักษณะสภาพเนื้อวัสดุที่เป็นอยู่ในขณะนำไปใช้ซึ่งมีความหมายใกล้ เคียงกับ ชื่อขบวนการในการปฏิบัติงานประติมากรรมสากลอย่างหนึ่ง คือ ขบวนการปั้นสดด้วยปูนปลาสเตอร์
          - ปูนงบน้ำอ้อย ปูนน้ำอ้อย ปูนน้ำมัน ปูนน้ำมันทั่งอิ้ว เรียกตามส่วนผสมที่มีอยู่ในเนื้อวัสดุ
          - ปูนไทย ปูนจีน ปูนฝรั่ง เรียกตามวัฒนธรรมที่ได้รับการถ่ายทอดมาในทางช่าง
          - ปูนเพชร เรียกตามคุณสมบัติที่แข็งแกร่งของเนื้อปูน เนื่องจากเมื่อแห้งและแข็งตัวแล้วจะแข็งแกร่งมาก ประดุจเพชร ปูนปั้นนี้มีมาแต่โบราณมีอยู่ทั่วทุกภาคทุกพื้นที่ของอาณาจักรสยาม เมื่อมีวัฒนธรรมตะวันตก เข้ามาในสมัย รัตนโกสินทร์มีการนำเทคนิค และวัสดุใช้งานแบบใหม่เข้ามา คือ ปูนซีเมนต์ ซึ่งเป็นที่นิยมมาก ขบวนการช่างไทย ของเดิมถูกทอดทิ้งไป แต่ด้วยความรักและหวงแหนในวิชาช่างปั้นปูนสด ของสกุลช่างเมืองเพชรบุรี แห่งจังหวัดเพชรบุรี และอีกหลายแหล่งในภาคอื่นๆ เช่น ช่างปั้นทางภาคเหนือ จึงสามารถอนุรักษ์ไว้ได้ ฝีมือช่างปั้นช่างเพชรบุรีเป็นที่ติดตา ต้องใจของผู้คนเป็นพิเศษ จนอาจเข้าใจว่าปูนเพชรแปลว่าปูนของช่างเมืองเพชรบุรีไป
          - ปูนหมัก เรียกตามขบวนการผลิตเนื้อปูนที่ต้องหมักไว้ก่อนใช้งาน

          ในการที่จะสร้างงานประติมากรรมปูนปั้นให้ได้ดีนั้นต้อง มีความมุ่งมั่นขยันพากเพียรในการปฏิบัติ เพราะเมื่อเริ่มปฏิบัติในช่วงแรกจะมีความรู้สึกยาก แต่พอปฏิบัติผ่านไปเรื่อยๆจะเริ่มเข้ามือมีทักษะในการปั้นขึ้นและสนุกกับการ ปั้น เปรียบเสมือนการฝึกขับรถใหม่ๆ จะดูสับสนไปหมด เพราะต้องใช้ทุกส่วนของร่างกายแต่พอผ่านไปสักระยะหนึ่งจะเกิดทักษะในการ ปฏิบัติงานขึ้น การปั้นรูปนอกจากจะฝึกฝนให้เกิดความชำนาญแล้วยังส่งผลประโยชน์ทั้งทางร่าง กายและจิตใจ บางคนฝึกสมาธิโดยการปั้นรูปเพราะจะทำให้สมาธินิ่งขึ้นหรือการนวดปูน การขึ้นรูปปูนเป็นการใช้แรงออกกำลังกายอย่างหนึ่งทำให้สุขภาพแข็งแรงดีเลือด ลมสูบฉีด สิ่งหนึ่งซึ่งสำคัญมากในกระบวนการปั้นนั้นจะต้องวาดเส้น ( Drawing ) ซึ่งเป็นสิ่งที่คู่กับงานปั้น ประติมากรที่เก่งนั้นจะวาดเส้นดีทุกคนเพราะพื้นฐานสำคัญในการปั้นรูปให้ได้ ดี