ชุมชนโค้งตาบาง ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

ชุมชนโค้งตาบาง ตำบลท่าไม้รวก อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก

ในเขตชุมชนโค้งตาบาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี

 

บริบทชุมชน

            บ้านโค้งตาบาง เป็นหมู่บ้านที่จัดตั้งขึ้นใหม่เมื่อปี พ.ศ.2542 โดยแยกตัวจากบ้าน    ไร่หลวง หมู่ 7 ตำบลท่าไม้รวก เดิมทีราษฎรที่ชื่อนายบางและครอบครัว ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตรงบริเวณทางโค้ง ถนนสายเขื่อนเพชร-เขาลูกช้าง จนชาวบ้านเรียกบริเวณนี้ว่า “โค้งตาบาง” และให้เรียกชื่อหมู่บ้านว่า “ชุมชนโค้งตาบาง”

            ชาวบ้านส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป และไม่มีรายได้เสริมทางอื่น ทำให้รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายของครัวเรือนชาวบ้านส่วนใหญ่ไม่มีที่ดินทำการเกษตรไม่มีต้นทุนในการซื้อพ่อพันธุ์แม่พันธุ์ในการเลี้ยงและขยายพันธุ์สัตว์ หรือการทำปศุสัตว์ และมีรายได้รายวัน เพียงวันละ 300 บาท ซึ่งไม่เพียงพอกับรายจ่ายในครัวเรือน อีกทั้งยังมีกลุ่มผู้สูงอายุ ตั้งแต่ อายุ 60 - 80 ปี  ที่ไม่มีอาชีพ และว่างงาน อีกด้วย

 

ประเด็นปัญหาของชุมชน

            ปัญหาและขีดจำกัดของชุมชนในการสร้างรายได้เพิ่มในครัวเรือน โดยสาเหตุของความยากจนที่พบสำหรับประชาชนในเขตชุมชนโค้งตาบาง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี   ส่วนใหญ่สาเหตุมาจากปัจจัยภายใน ได้แก่ การมีความรู้ความสามารถในการประกอบอาชีพต่ำ เนื่องจากการขาดโอกาสในการศึกษา  และการพัฒนาทักษะต่างๆ การขาดโอกาสในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์ การมีปัญหาสุขภาพ การมีภาระในการเลี้ยงดูครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ การมีทรัพย์สินและที่ดินในการทำกินน้อย เป็นต้น ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ ล้วนเป็นสาเหตุภายในบุคคลที่ทำให้บุคคลกลายเป็นคนจน หรือมีรายได้น้อย

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา

            " ในปีงบประมาณ 2562 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัย ราชภัฏเพชรบุรี ได้ดำเนินการจัดทำผลิตภัณฑ์นวดและจัดอบรมนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง เพื่อสร้างอาชีพเสริมให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ จำนวน 13 ครัวเรือน การจัดอบรมนวดไทยเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง สามารถสร้างได้รายได้เพิ่มมากขึ้นและเป็นอาชีพติดตัวไปตลอดชีวิต

            " การจัดทำผลิตภัณฑ์นวด (พิมเสนน้ำ น้ำมันนวดสมุนไพร  ยาหม่อง             ลูกประคบสมุนไพร สมุนไพรขัดตัว สมุนไพรขัดหน้าและสบู่สมุนไพร) ส่วนใหญ่จะซื้อผลิตภัณฑ์นวดไปใช้ในการนวดเพื่อสร้างรายได้ และจำหน่ายที่โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพส่วนตำบลเป็นส่วนใหญ่และได้รับการตอบรับเป็นอย่างดี

           

 

            " ในปีงบประมาณ 2563 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จะเน้นการหาสถานที่นวดเพิ่มให้กับผู้เข้าร่วมโครงการ เพื่อขยายพื้นที่ในการสร้างรายได้ และการสร้างผลิตภัณฑ์เพิ่มขึ้น โดยเน้นการใช้วัสดุในชุมชนเป็นส่วนใหญ่ การสร้างผลิตภัณฑ์ให้มีการรับรองและการวางแผนการจำหน่ายเพิ่มมากขึ้น

 

Model การทำงาน

 

ผลความสำเร็จของชุมชน

            < รายได้เพิ่มมากขึ้น ทำให้คุณภาพชีวิตของผู้เข้าร่วมโครงการฯมีชีวิตที่ดีขึ้น

สมาชิก 13 คน รวมรายได้เพิ่มขึ้นจากการนวด (อาชีพเสริม)/เดือน จำนวน 95,600 บาท

หมายเหตุ : รายได้ต่อเดือนของแต่ละคนรายได้จะประมาณตามตารางที่นำเสนอข้อมูล และช่วงเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2563 (ประมาณ 3 เดือน หมอนวดไม่สามารถประกอบอาชีพนวดได้เนื่องจากสถานการณ์โควิด-19) ทำให้หมอนวดขาดรายได้เนื่องจากประกอบอาชีพนวดเป็นหลัก

 

   

 

< ช่องทางจัดจำหน่าย เพจเฟสบุ๊คและไลน์ มีการจำหน่ายตามโรงงานต่างๆ ในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรี

        

 

ศูนย์บริการแพทย์แผนไทยโค้งตาบาง แหล่งสร้างรายได้ให้กับคนในพื้นที่

      

 

      

 

 

ผลิตภัณฑ์นวดที่ได้รับเลขจดแจ้งเลขทะเบียน OTOP

      

 

      

 

คณะดำเนินงานโครงการ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

1. อาจารย์จันทนา                          ก่อนเก่า

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์วัชราภรณ์         ประภาสะโนบล

3. อาจารย์ ดร.กนกรัตน์                   จิรสัจจานุกูล

4. นางปริศนา                               พันธ์งาม

5. นายณัฎฐนันท์                           ศูนย์จันดา

8. นางสาวเบญจวรรณ                     บัวบังใบ

9. นางสาวปนัดดา                          อ่อนนุ่ม