ชุมชนไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

 ชุมชนไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

“โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและสร้างวิสาหกิจชุมชนต้นแบบ ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเพชรบุรี

ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี สู่การค้าเชิงพาณิชย์ ภายใต้โครงการหลัก

โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก”

 

บริบทชุมชน

 

            จากการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากประธานกลุ่มวิสาหกิจผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเพชรบุรี ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี  เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 ได้ข้อมูล ดังนี้

            + ชาวบ้านในชุมชนอาศัยอยู่ในลักษณะกึ่งชนบทและเมือง มีการประกอบอาชีพต่างๆ เช่น อาชีพข้าราชการ ทำนา ทำสวน ทำไร่ ขึ้นตาล เป็นต้น จึงมีพื้นที่ในการทำปศุสัตว์ เลี้ยงวัว เลี้ยงไก่ เลี้ยงเป็ด ฯลฯ

            + ชาวบ้านสมาชิกเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพชรบุรี ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี มีความสนใจที่จะปลูกหญ้าเนเปีย สมุนไพร ฯลฯ และใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่น ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง และปลูกข้าวปลอดสารพิษ

            + มีกลุ่มเยาวชน กลุ่มผู้สูงอายุ และกลุ่มสตรีที่รวมตัวกันมาร่วมกันคิด ร่วมกันทำให้เศรษฐกิจในครอบครัวเพิ่มพูนรายได้ และลดรายจ่าย ในการเลี้ยงไก่พื้นเมือง

            + มีผู้นำชุมชนในการประสานงาน เพื่อเชื่อมต่อกับเครือข่ายในการมาให้ความรู้เรื่องไก่พื้นเมือง เช่น วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี ส่งเสริมให้มีการเรียนในระดับปวส. เกษตรศาสตร์ มีการให้องค์ความรู้ในด้านเกษตรศาสตร์ นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี เข้ามาสนับสนุนเพิ่มพูนความรู้ เพื่อเสริมในด้านวิชาการเกษตรให้มากยิ่งขึ้น

            + การส่งเสริมด้านการตลาดในชุมชน เริ่มจากตลาดชุมชนมีการส่งเสริมด้านการบริโภคอาหารปลอดภัย ไม่ใส่สารเร่งและมีการควบคุมดูแลเพื่อไม่ใช้สารเคมีในการเลี้ยงไก่

 

 

ประเด็นปัญหาชุมชน

 

            จากการลงพื้นที่ในการสำรวจข้อมูลเชิงลึกของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมกับประธานวิสาหกิจชุมชนไก่พื้นเมือง และชาวบ้าน ตำบลไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันจันทร์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 พบว่า ภายในชุมชนมีการจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนไก่ที่เป็น   อัตลักษณ์ของเพชรบุรี คือ “ไก่พริบพรี”  ซึ่งเน้นไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ที่มีการปรับปรุงพันธุ์มาอย่างดีเยี่ยม โดยกรมปศุสัตว์ คือ สายพันธุ์ประดู่หางดำและสายพันธุ์เขียวห้วยทราย โดยวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีเพชรบุรี ร่วมกับสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงในพื้นที่จังหวัดเพชรบุรีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 โดยสมาชิกภายในกลุ่มประกอบด้วยชาวบ้านจำนวน 15 - 18 คน จากการพูดคุย สอบถามปัญหา (เนื่องจากสามารถผลิตเนื้อไก่สดได้สูงถึง 300-500 ตัวต่อเดือน แต่ยังมีการส่งจำหน่ายไปยังผู้ประกอบการไม่มากนัก และปริมาณการจำหน่ายยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ ส่งผลให้ต้องเพิ่มต้นทุนการเลี้ยงไก่ที่ยังขายไม่ได้ ทำให้ต้นทุนการเลี้ยงไก่สูงขึ้น แต่กำไรจากการขายไก่ที่ได้รับไม่สมดุลกับกำลังผลิตที่ดีเป็นทุนเดิม ดังนั้นจึงร่วมกัน

สรุปความต้องการของชุมชน ดังนี้

            1) ต้องการความช่วยเหลือในการวางแผนการผลิต และการตลาดออฟไลน์ ออนไลน์

            2) ต้องการความรู้ในการประชาสัมพันธ์ไปยังผู้ประกอบการ และผู้บริโภค เพื่อขยายตลาดการซื้อขาย “ไก่พริบพรี”

            3) ชุมชนมีข้อจำกัดด้านการทำตลาดที่ต้องอาศัยเทคโนโลยีอย่างมากในปัจจุบัน  ชุมชนไม่มีความถนัด และขาดความรู้ด้านการตลาดออนไลน์ ทำให้ไม่สามารถวางแผนการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง จึงต้องการความรู้ในการพัฒนาข้อจำกัดดังกล่าว

 

         

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา

 

            1. จัดทำข้อมูลกระบวนการเลี้ยงไก่ ต้นทุน-รายได้ และยกระดับระบบการเลี้ยงไก่ของวิสาหกิจ ฯ ให้เกิดมาตรฐานในระดับสากล ประกอบด้วย

                 1.1 กิจกรรมลงพื้นที่สำรวจกระบวนการเลี้ยงไก่ ฯ

                 1.2 กิจกรรมอบรมและทบทวนกระบวนการผลิตตามมาตรฐานฟาร์มเลี้ยงไก่เนื้อ สำหรับผู้ประกอบการ (ก่อน ระหว่าง และหลังการปรับปรุงกระบวนการ) จากผู้เชี่ยวชาญภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีและบุคลากรภายนอกจากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดเพชรบุรี

                 1.3 กิจกรรมอบรมกระบวนการวิเคราะห์ต้นทุน-รายได้ จากผู้เชี่ยวชาญภายในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

            2. พัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์ไก่สดของวิสาหกิจฯ ในรูปแบบต่าง ๆ เช่น ไก่แปรรูป เมนูอาหารจากไก่

            3. วิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ

            4. ถ่ายทอดองค์ความรู้การพัฒนาผลิตภัณฑ์และจัดทำผลิตภัณฑ์ “ไก่พริบพรี” เพื่อจัดจำหน่าย

 

 

Model การทำงาน

 

 

 

 

ผลความสำเร็จของชุมชน

           

             1. จำนวนครัวเรือนเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรมประกอบด้วยสมาชิกของวิสาหกิจ  “ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเพชรบุรี” ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี ทั้งสิ้น 17 ครัวเรือน

 

         

 

 

             2. ได้ข้อมูลผลการสำรวจกระบวนการเลี้ยงไก่ ต้นทุนการผลิตและรายได้ของวิสาหกิจ “ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเพชรบุรี” ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี

      

 

             3. ได้ผลิตภัณฑ์จากการดำเนินงานวิจัยและพัฒนาการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากไก่สด  “ไก่พริบพรี จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์ และ 5 สูตรอาหาร ดังนี้

                      1) ไก่แดดเดียว

                      2) ไก่ฝอย           

                      3) น้ำพริกไก่ฝอยทรงเครื่อง

                      4) ซุปไก่สกัด และ

                      5) คุกกี้เสริมแคลเซียม จำนวน 500 ชิ้น โดยส่งมอบให้ชุมชน 250 ชิ้น คณะและมหาวิทยาลัย 250 ชิ้น

 

      

 

           4. ได้ข้อมูลผลการตรวจวิเคราะห์คุณค่าทางโภชนาการ ได้แก่ โปรตีน Kjeldahl Method ไขมัน Solvent extraction Method เถ้า Dry Ash method เส้นใยGravimetric method ได้แก่ น้ำพริกไก่ฝอย ไก่ฝอย และไก่แดดเดียว

 

      

 

           5. ได้องค์ความรู้สูตรเมนูอาหาร และผลิตภัณฑ์แปรรูปส่งมอบให้กับวิสาหกิจ“ผู้เลี้ยงไก่พื้นเมืองเพชรบุรี” ต.ไร่ส้ม อ.เมือง จ.เพชรบุรี ทั้งสิ้น 17 ครัวเรือน ในการนำไปต่อยอดเพื่อจัดทำผลิตภัณฑ์จำหน่ายในชุมชน จากงานวิจัยเรื่อง “ผลของการเสริมแคลเซียมจากกระดูกไก่และปริมาณเนยสดต่อคุณภาพด้านประสาทสัมผัสของคุกกี้: Effect of calcium fortification from chicken bone powder and butter on sensory qualities of cookies” คณะผู้วิจัย ได้แก่ ผศ.ดร.พูนศิริ ทิพย์เนตร อ.ดร.สุคนธา สุคนธ์ธารา อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี และนางสาวจินตนา วิบูลย์ศิริกุล นางสาวปนัดดา อ่อนนุ่ม และนางสาวเบญจวรรณ บัวบังใบ (นักศึกษาจ้างงาน)

          6. ได้องค์ความรู้การเลี้ยงไก่พื้นเมืองเพชรบุรี “ฉบับไร่ส้ม” โดยอาจารย์สำรวย    มะลิถอด และ ผู้ช่วยศาสตราจารย์.น.สพ.ดร.มหิศร ประภาสะโนบล อาจารย์ประจำสาขาวิชาสัตวศาสตร์ คณะเทคโนโลยีการเกษตร มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

 

   

 

      

 

คณะดำเนินงานโครงการ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.พูนศิริ         ทิพย์เนตร           

2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ.ดร.มหิศร  ประภาสะโนบล

3. อาจารย์สำรวย                           มะลิถอด

4. อาจารย์ ดร.สุคนธา                     สุคนธ์ธารา

5. อาจารย์ ดร.กนกรัตน์                   จิรสัจจานุกูล

6. อาจารย์ ดร.จุฬาลักษ์                   ปราบเสียง

7. อาจารย์อรพรรณ                        เลื่อนแป้น

8. อาจารย์ปิยวัฒน์                         เนียมมาลัย

9. อาจารย์ ดร.อิสราภรณ์                 ทองสมนึก

             10. นางกชพรรณ                           จิรประเสริฐวงศ์

             11. นางสาวนรกมล                        สิงห์เล็ก

             12. นายนพดล                              เมืองนก

             13. นายณัฎฐนันท์                         ศูนย์จันดา

            14. นายทศพร                               ลิ้มดำเนิน

15. นางปริศนา                             พันธ์งาม และคณะทำงาน