ชุมชนไร่มะขาม 1 ไร่คลายวิกฤตฟื้นวิถีชีวิตชุมชนหลังโควิค 19

ชุมชนไร่มะขาม

“1 ไร่คลายวิกฤตฟื้นวิถีชีวิตชุมชนหลังโควิค 19 ภายใต้โครงการหลัก โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตและยกระดับรายได้ให้กับคนในชุมชนฐานราก”

 

บริบทชุมชน

           “ไร่มะขาม”เป็นชื่อชุมชนที่แต่เดิมคนในชุมชนมีอาชีพทำไร่มะขาม ซึ่งมีต้นมะขามใหญ่มีอายุมากกว่า 100 ปีอยู่ในพื้นที่ เมื่อมีการตั้งตำบลขึ้นมาจึงใช้สัญลักษณ์คือ ต้นมะขาม และเรียกตำบลนี้ว่า "ตำบลไร่มะขาม" มาจนถึงปัจจุบัน โดยตำบลไร่มะขาม ตั้งอยู่ในเขตการปกครองของอำเภอบ้านลาด ประกอบไปด้วย 9 หมู่บ้าน แต่ต่อมาการทำไร่มะขามได้ให้ผลผลิตน้อยลง คนในชุมชนจึงหันมาทำนาปลูกข้าวแทนจนเต็มทั่วผืนไร่มะขามเดิม การผลิตข้าวในผืนดินของไร่มะขามได้ผลผลิตดีส่งผลให้คนในชุมชนหันมายึดอาชีพทำนาเป็นอาชีพหลัก   อีกทั้งได้รับการส่งเสริมจากหน่วยงานของรัฐในการจัดตั้งเป็นศูนย์การเรียนรู้ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขาม จนเป็นศูนย์การเรียนรู้การผลิตข้าวปลอดสารที่มีชื่อเสียงระดับประเทศ นอกจากศูนย์ข้าวของชุมชนจะเป็นศูนย์การเรียนรู้เรื่องข้าวแล้ว ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่งหนึ่งที่ให้นักท่องเที่ยวได้เข้าถึงและได้สัมผัสการเป็นชาวนาอย่างแท้จริง กับโปรแกรมการท่องเที่ยว “1 วันกับการเป็นชาวนา” โดยชุมชนไร่มะขามที่มีพื้นที่โดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตร

   

 

ประเด็นปัญหาชุมชน

              ประเด็นปัญหาชุมชนแบ่งออกเป็น 4 ด้าน ประกอบด้วย

              1) เศรษฐกิจ         

              - รายได้หลักของชุมชนมาจากการขายเมล็ดพันธุ์ข้าวทั้งนาปีและนาปรัง เมื่อประสบปัญหาไม่สามารถทำนาปรังได้ เมล็ดพันธุ์จึงขายไม่ได้ตามไปด้วย ชุมชนจึงแก้ปัญหาด้วยการนำไปขายเป็นข้าวสำหรับเลี้ยงไก่และขายในราคาที่ถูกจนเกิดภาวะขาดทุน

              - กลุ่มชุมชนบ้านไร่มะขามได้ผลิตพันธุ์ข้าวเพื่อจำหน่าย แต่ปัญหาที่พบคือต้นทุนการผลิตข้าวอยู่ในเกณฑ์ที่สูง ดังนั้นเพื่อเป็นการสนองต่อนโยบายของนายกสภามหาวิทยาลัยจึงได้วางแผนร่วมกับชุมชนเพื่อแก้ปัญหาโดยมีการนำนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวของชุมชน

              - ชาวบ้านไม่มีทุนในการดำเนินงาน  ทาง ธ.ก.ส. จึงเข้ามาสนับสนุนเงินทุนที่มีอัตราดอกเบี้ยต่ำ

              -ชุมชนดำเนินงานโดยไม่มีการทำบัญชีและการกู้ยืมเงินนอกระบบ   

              - ต้นทุนการผลิตสูง

              2) สังคม

              - ปัญหาด้านผู้นำ ที่บางหมู่บ้านผู้นำชุมชนอายุน้อยจึงขาดประสบการณ์ในการทำงานและประสานความร่วมมือในชุมชนได้ไม่มากพอ

              - ปัญหาด้านการมีส่วนร่วม คนในชุมชนยังเป็นส่วนน้อยที่เข้ามามีส่วนร่วมในการร่วมกิจกรรม

              - ขาดความรู้ด้านการจัดการ การตลาด และการส่งเสริมการตลาด ประกอบกับปัญหาเรื่องราคาข้าวที่ไม่แน่นอน

              3) สิ่งแวดล้อม

              - การเผาซังข้าว ทำให้เกิดค่าฝุ่น PM 2.5

              - ค่าใช้จ่ายในการขอมาตรฐานเกษตรอินทรีย์

              4) วัฒนธรรมและประเพณี

              - ชาวบ้านนำข้าวจากบ้านมาสีที่โรงสีตามแบบวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมา

              - คนรุ่นใหม่ไม่รู้จักประเพณีทำขวัญข้าว

              - ไม่มีประเพณีลงแขกเกี่ยวข้าว

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา

             - มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้วางแผนร่วมกับชุมชนเพื่อแก้ปัญหาโดยมีการนำนวัตกรรมนาโนเทคโนโลยีมาใช้เพื่อลดต้นทุนการผลิตข้าวของชุมชน

 

      

 

            -  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี วิทยาลัยนาโนเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าคุณทหารลาดกระบัง และสำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบุรี ร่วมกันวางแผนการทำงานเพื่อลดต้นทุนการผลิตและเพิ่มปริมาณผลผลิตข้าวในปีงบประมาณ 2558 โดยใช้การวิจัยข้าวตามแนวคิดของนายกสภาฯ เพื่อพัฒนาหมู่บ้านไร่มะขามให้เป็นหมู่บ้านต้นแบบเกษตร  นาโน ในการเพิ่มผลผลิตตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง

            -  ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตรเข้ามาสนับสนุนเงินทุนในการดำเนินการ โดยสนับสนุนเงินกู้ดอกเบี้ยต่ำ ในการจัดตั้งโรงสีของชุมชน

 

 

              - ส่งเสริมให้ชุมชนมีความรู้ทางการเงิน มีการทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การปิดบัญชีของสมาชิกในชุมชน

              - คนรุ่นใหม่ (New Gen) วิทยากรจากภายนอก รอยยิ้มชาวนา เข้ามาช่วยทำการตลาด ออกแบบโลโก้ผลิตภัณฑ์ และการแพ็คถุงข้าว

 

      

 

 

              - ในปีงบประมาณ 2563 จากความพร้อมและศักยภาพของชุมชนมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้คัดเลือกพื้นที่ชุมชนไร่มะขามเป็นพื้นที่ต้นแบบในการดำเนินงานโครงการ   “1 ไร่คลายวิกฤตฟื้นวิถีชีวิตชุมชนหลังโควิค 19” เนื่องจากความพร้อมของพื้นที่/สมาชิกในชุมชน และพื้นที่มีการทำเกษตรอินทรีย์อยู่แล้ว จึงได้ดำเนินการพัฒนาแปลงต้นแบบปลูกผักระยะสั้น จำนวน 1 ไร่

 

      

 

   

             

 

 Model การทำงาน

 

 

 

ผลความสำเร็จของชุมชน

 

              -  ศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขาม อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรีได้เป็นวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขาม

 

 

              -  ศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวเพื่อชุมชน ซึ่งได้รับการรับรองโดยกรมการข้าว เป็นกำลังใจในการสร้างระบบเกษตรอินทรีย์หรือออร์แกนิกแบบยั่งยืนตามรอยเท้าพ่อ

              -  ภายหลังจากพัฒนาการปลูกข้าวอินทรีย์อย่างเป็นระบบ พบว่าสามารถลดต้นทุนการผลิตได้มากเมื่อเปรียบเทียบกับแปลงข้าวที่ใช้สารเคมี คือ แปลงข้าวธรรมดา มีต้นทุนการผลิตเฉลี่ย 4,300 บาทต่อไร่ ขณะที่ข้าวอินทรีย์มีต้นทุนเฉลี่ย 1,500 บาทต่อไร่ หากรวมค่าแรงด้วยจะประมาณ 3,000 บาทต่อไร่ โดยผลผลิตข้าวอินทรีย์ที่ชุมชนไร่มะขามปลูกได้อยู่ที่ประมาณ 90 -95 ถังต่อไร่ (ข้าว 100 ถังเท่ากับ 1 เกวียน) ซึ่งเดิมเคยปลูกได้ 60 - 70 ถัง             

              - วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนไร่มะขามมีสมาชิก 124 ราย มีรายได้ 11.2 ล้านบาท/ปี

              -  เกิดการอนุรักษ์วัฒนธรรมและประเพณีท้องถิ่น เกิดการจ้างงาน คนว่างงานมีอาชีพ คนรุ่นใหม่กลับมาสานต่ออาชีพในชุมชน เกิดธนาคารต้นไม้ และเตรียมพัฒนาสู่ชุมชนไม้มีค่า

              -  เกิดการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนไร่มะขาม เพิ่มรายได้ด้วยการรวมกลุ่มเป็นวิสาหกิจชุมชนโคขุน และเชื่อมโยงด้านการตลาดกับวิสาหกิจชุมชนถ้ำรงค์

              -  ได้รับรางวัลชนะเลิศศูนย์ข้าวชุมชนอันดับ 1 ของประเทศ ส่งผลให้กลุ่มชาวนาเกิดวิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขามได้รับรางวัลชนะเลิศ อันดับ 1 จากกรมชลประทาน โดยเป็นรางวัลประเภทสถาบันเกษตรกรผู้ใช้น้ำชลประทานดีเด่นประจำปี 2561 จากกลุ่มเกษตรกรผู้ใช้น้ำทั่วประเทศ

              -  วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขามได้รับมาตรฐาน GAP

              -  วิสาหกิจชุมชนศูนย์ข้าวชุมชนตำบลไร่มะขามได้รับการคัดเลือกให้เป็นโมเดลของจังหวัดเพชรบุรีและจะเป็นต้นแบบในการปลูกข้าวคุณภาพดีของประเทศไทยในอนาคตต่อไป

              -  นำผลผลิตที่ได้จากโครงการ 1 ไร่คลายวิกฤตฟื้นวิถีชีวิตชุมชนหลังโควิค 19 ไปแจกจ่ายให้กับประชาชนที่เดือดร้อน และกระจายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

 

      

 

      

 

คณะดำเนินงานโครงการ

              1) สถาบันวิจัยและส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม

              2) สำนักงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น