ชุมชนห้วยเกรียบ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ชุมชนห้วยเกรียบ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

“โครงการพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง

สู่โครงการ ครึ่งไร่คลายวิกฤติฟื้นวิถีชีวิตชุมชนหลังโควิค 19”

 

บริบทชุมชน

          “ชุมชนบ้านห้วยเกรียบ” เดิมเป็นที่รกร้าง และมีชื่อเดิมว่าบ้านตำหรุ หมู่ 5 ตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ส่วนมากอพยพมาจากจังหวัดนครศรีธรรมราชและจังหวัดเพชรบุรี อพยพเข้ามาอาศัย อยู่ตั้งแต่ประมาณ พ.ศ. 2500 และในปี พ.ศ. 2505  กลุ่มชาวบ้านในจังหวัดนครศรีธรรมราช  ได้ประสบวาตภัยที่แหลมตะลุมพุก จึงมีการอพยพย้ายถิ่นฐานมาตั้งรกรากอย่างถาวรในบ้านตำหรุ หมู่ที่ 5 ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็นหมู่บ้านธรรมรัตน์และแยกตัวออกมาเป็นหมู่บ้านห้วยเกรียบ หมู่ที่ 4 ในปี พ.ศ. 2516 โดยชื่อที่ตั้งว่าหมู่บ้านห้วยเกรียบนั้นมีที่มาจากลักษณะของภูมิประเทศ ภายในหมู่บ้านที่ประกอบไปด้วยลำห้วย ที่มีไม้ไผ่เกรียบและหวายขึ้นอยู่ริมคลองเป็นจำนวนมาก โดยชาวชุมชนบ้านห้วยเกรียบประกอบอาชีพทำสวน ทำไร่ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป รับราชการ พนักงานบริษัทและประกอบธุรกิจส่วนตัวเป็นหลัก อีกทั้งยังมีอาชีพปลูกผักสวนครัว เลี้ยงผึ้ง และจักรสานหวายเป็นอาชีพรอง

 

ประเด็นปัญหาของชุมชน

          จากการลงพื้นที่สำรวจข้อมูลของชุมชนบ้านห้วยเกรียบ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่าชาวบ้าน มีการรวมกลุ่มกันปลูกพืชผักสวนครัวและเลี้ยงไก่ไข่ เป็นอาชีพหลัก โดยปัญหาส่วนใหญ่ที่พบ มีดังนี้

          - การปลูกพืชเชิงเดี่ยวทำให้ดินมีคุณภาพต่ำ ธาตุอาหารในดินไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโตของพืช

          - ต้นทุนในการผลิตแต่ละครั้งค่อนข้างสูง

          - รายได้จากการขายผลผลิตขึ้นอยู่กับราคาตามท้องตลาด

          - ชาวบ้านยังคงต้องซื้ออาหารสัตว์จากร้านค้าเพื่อการเลี้ยงไก่ไข่

 

แนวทางการแก้ไขปัญหา

       สำนักงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ร่วมกับชุมชนบ้านห้วยเกรียบ อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ได้ดำเนินการจัดทำโครงการ การพัฒนาหมู่บ้านต้นแบบเศรษฐกิจพอเพียง บ้านห้วยเกรียบ สู่การยกระดับคุณภาพชีวิตตามศาสตร์พระราชา ภายใต้โครงการยุทธศาสตร์มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี โดยมีการจัดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมองค์ความรู้ในด้านการเกษตรต่าง ๆ ให้กับกลุ่มประชาชนได้ลงมือปฏิบัติจริง ดังนี้

          - กิจกรรมการศึกษาดูงานชุมชนต้นแบบเกษตรปลอดภัย ณ จังหวัดเพชรบุรี

          - ศึกษาเรียนรู้การทำการเกษตรเพื่อวิเคราะห์วางแผนการผลิตในเชิงสร้างสรรค์ (สวนลุงน้อย)

          - อบรมเชิงปฏิบัติการ การปลูกพืชสวนครัว เพื่อการจัดจำหน่ายอย่างเป็นระบบ ณ สมาพันธ์เกษตรอินทรีย์ จังหวัดเพชรบุรี

          - การผสมดิน การผลิตปุ๋ยโบกาฉิ จุลินทรีย์สังเคราะห์แสง เพื่อการเพาะปลูกพืช ณ กลุ่มเกษตรกรอารักขาพืช จังหวัดเพชรบุรี

          - การศึกษาดูงานกลุ่มเลี้ยงไก่พื้นเมือง จังหวัดเพชรบุรี เพื่อการสร้างมูลค่าเพิ่ม ณ ชุมชนไร่ส้ม อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี

 

      

 

      

 

          - กิจกรรมถอดองค์ความรู้จากการศึกษาดูงานการทำเกษตรอินทรีย์ จังหวัดเพชรบุรี

 

    

 

          - การทำแปลงต้นแบบเกษตรปลอดภัย ในกิจกรรมครึ่งไร่คลายวิกฤติ ฟื้นวิถีชีวิตหลังโควิด-19

 

      

 

      

 

   

 

Model การทำงาน

 

สำนักงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

 

 

ผลความสำเร็จของชุมชน

          - ชุมชนน้อมนำเอาหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของรัชกาลที่ 9 มาปรับใช้ สู่การปฏิบัติจริง และชุมชนได้รับความรู้จากการศึกษาดูงานแล้วนำมาปรับใช้กับชีวิตประจำวันของตนเอง

          - ชุมชนสามารถลดรายจ่ายในการซื้อผลผลิตทางการเกษตรและเพื่อการบริโภคได้ในครัวเรือน

          - ในกลุ่มประชาชนที่มีการเลี้ยงไก่ไข่ สามารถลดต้นทุกในเรื่องของอาหารสัตว์ได้จากการผลิตอาหารสัตว์สูตรง่าย ๆ  ในครัวเรือน

          - สร้างรายให้กับเกษตรกรในหมู่บ้านห้วยเกรียบ ตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยการเก็บผักที่ปลูกไว้ไปจำหน่ายต่อ

         - ชุมชนได้รับรางวัลชุมชนเข้มแข็งเป็นสุขตามแนวทางเครือข่ายความสุขชุมชน บ้านห้วยเกรียบ ตำบลทองมงคล อำเภอบางสะพาน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

คณะดำเนินงานโครงการ

          สำนักงานโครงการยุทธศาสตร์การพัฒนาท้องถิ่น

                     1. นางสาวนงลักษณ์       ขาวผ่อง          

                     2. นางสาวชญาณิศา       นามเที่ยง         

                     3. นางสาวญาณิศา         มหาทำนุโชค    

                     4. นางสาวฐิติณัทชาภัค  พานทอง