ชุมชนหนองประดู่ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

ชุมชนหนองประดู่ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

บริบทชุมชน

          พื้นที่ เป็นที่ราบลุ่ม และเหมาะสำหรับทำนา และการเกษตร เนื้อที่เป็นผืนยาวติดต่อกันเกือบเป็นสี่เหลี่ยม

เขตพื้นที่         ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลหนองชุมพลเหนือ อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

                    ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลสระพัง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

                    ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบางเค็ม อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

                    ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลหนองหญ้าปล้อง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

อาชีพ 

           อาชีพหลัก ทำนา  อาชีพเสริม รับจ้าง และอุตสาหกรรม       

 

ปัญหาชุมชน

- สหกรณ์ไม่รับพันธุ์ข้าวที่เกษตรกรปลูก (เกษตรกรปลูก สุพรรณ,กข31) ทำให้ชาวนาเอาข้าวไปขายที่โรงสี ทำให้ได้ราคาต่ำตามที่โรงสีตั้งราคา

          - น้ำไม่เพียงพอต่อการเพาะปลูก (มีน้ำเข้ามาในพื้นที่แค่ 20%)

          - ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่ำ

          - ไม่มีมาตรฐานในการวัดค่าความชื้นของข้าว

          - น้ำท่วมในพื้นที่ (น้ำไหลจากภูเขา)

          - ใช้ทรัพยากรในพื้นที่ได้ไม่เต็มศักยภาพ

ความต้องการ

          - การเปลี่ยนทัศนคติคนในชุมชนให้เกิดการทำอินทรีย์

          - ต้นทุนการผลิตให้ลดลง

          - การรวมกลุ่มสู่การทำนาแบบอินทรีย์

          - สร้างมาตรฐานในราคาข้าว

 

แนวทางการพัฒนา

          คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ได้มีพันธกิจเกี่ยวกับการบริการวิชาการแก่ท้องถิ่น ตามนโยบายมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อท้องถิ่น ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน โครงการนี้ จัดขึ้นเพื่อลดปัญหาความยากจนให้แก่ชุมชนหนองประดู่  อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี โดยจากการลงพื้นที่เพื่อเก็บข้อมูลต่างๆเพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนในการลดรายจ่ายให้แก่ครัวเรือนโดยประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม และอาชีพหลักคือการทำนา การทำแปลงเกษตรกรรม ตลอดจนเลี้ยงสัตว์ เช่นวัว และสุกร จึงมีเศษวัสดุเหลือใช้ทางการเกษตร เช่น มูลสัตว์เป็นจำนวนมาก  ซึ่งมูลสัตว์เหล่านั้นสามารถนำมาผ่านกระบวนการจากการหมักเป็นก๊าซเพื่อใช้ในการหุงต้มและมีผลพลอยได้เป็นปุ๋ยอินทรีย์อีกด้วย ซึ่งจะเป็นการลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนด้านพลังงานให้กับเกษตรกรในชุมชน อีกทั้งยังไม่เสียค่าใช้จ่ายด้านเชื้อเพลิงในการใช้งาน ไม่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม

          คณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรมจึงมีแนวทางในการนำองค์ความรู้ในด้านพลังงานทดแทนซึ่งเป็นนวัตกรรมที่เกิดจากแนวพระราชดำริในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช (พระบิดาแห่งนวัตกรรมไทย) เกี่ยวกับการส่งเสริม สนับสนุนให้เกษตรกรใช้นวัตกรรมด้านการเกษตรมากขึ้น โดยการผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์นั้นจะทำให้ชาวบ้านในชุมชนจะลดค่าใช้จ่ายด้านแก๊สหุงต้ม อีกทั้งยังมีผลพลอยได้จากน้ำหมักของระบบแก๊สชีวภาพ ที่สามารถใช้เป็นปุ๋ยอินทรีย์กับทางการเพาะปลูกพืชผลทางการเกษตร เป็นการลดใช้สารเคมีให้แก่พืช ตลอดจนการใช้พลังงานทดแทนในทางเกษตรกรรม  เพื่อนำไปสู่การเพิ่มผลผลิตและพัฒนาภาคการเกษตรให้ยั่งยืนในอนาคต  ร่วมบูรณาการกับชุมชน เพื่อทุ่นแรง ลดรายจ่ายด้านพลังงาน และ ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพและปริมาณมากขึ้น นำไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็งและมีวิถีชีวิตที่ดีขึ้นต่อไป

 

1. กิจกรรมการรับฟังปัญหาและความต้องการของชุมชน

      

 

2. กิจกรรมการสนทนากลุ่ม (Focus group) เพื่อหาแนวทางการพัฒนาร่วมกัน ณ ชุมชนหนองประดู่ ตำบลหนองชุมพล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี

 

         

 

3. โครงการส่งเสริมชุมชนเพื่อลดรายจ่ายในครัวเรือนด้วยระบบผลิตแก๊สชีวภาพจากมูลสัตว์และเศษอาหารตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียงชุมชนหนองประดู่  อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี

 

       

 

      

 

   

 

คณะทำงาน

อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม

            1. อาจารย์ปองพล                   รักการงาน       

            2. ผู้ช่วยศาสตราจารย์กังสดาล   สกุลพงษ์มาลี    

            3. อาจารย์ ดร.จุติพร                อินทะนิน         

            4. อาจารย์ชลีดล                     อินยาศรี                    

            5. อาจารย์ปกรณ์                     พรหมแก้ว