ชุมชนบ้านรวมไทย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ชุมชนบ้านรวมไทย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

บริบทชุมชน

           หมู่บ้านรวมไทย   เป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติ  ในอดีตเคยเป็นแหล่งหลบซ่อนของคอมมิวนิสต์ หมู่บ้านแห่งนี้ถือกำเนิดจากพระมหากรุณาธิคุณของในหลวงรัชกาลที่ 9 ทรงมอบพื้นที่ทำกินให้ราษฎร จึงมีการอพยพจากหลายถิ่นฐานมาจับจองพื้นที่ดังกล่าว จนเกิดเป็นที่มาของชื่อ“หมู่บ้านรวมไทย” โดยหมู่บ้านรวมไทย เริ่มเปิดหมู่บ้านเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2521 บ้านรวมไทยเป็นหมู่บ้านที่อยู่ห่างไกลจากองค์การบริหารส่วนตำบลหาดขาม  ประมาณ  22  กิโลเมตร อยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอกุยบุรี ประมาณ 30 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากตัวจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ประมาณ 60 กิโลเมตร

 

 

ปัญหาที่พบ

          หมู่บ้านรวมไทย เป็นหมู่บ้านที่มีคนจากหลากหลายถิ่นเข้ามาอยู่อาศัยอยู่รวมกัน มีวัฒนธรรมที่หลากหลาย ปัจจุบันจำนวนประชากรอาศัยอยู่ประมาณ  596 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพรับจ้าง และเกษตรกรรม ได้แก่ การทำไร่สับปะรด สวนผลไม้ เลี้ยงวัว เลี้ยงแพะ เป็นต้น ซึ่งจากการลงพื้นที่ปัญหาที่พบในชุมชนคือ รายได้จากผลผลิตขึ้นอยู่กับราคาท้องตลาด ซึ่งปัจจุบันพบว่าราคาสับปะรดตกต่ำ ชุมชนจึงต้องการเพิ่มรายได้ จึงมีความต้องการแปรรูปผลผลิตจากสัปปะรด แปรรูปผลผลิตจากทรัพยากรในท้องถิ่นเพื่อต้องการสร้างรายได้เพิ่มให้แก่สมาชิกในชุมชน ตลอดจนต้องการให้คนในชุมชนเข้ามารวมกลุ่มกันเพื่อให้เกิดความสามัคคีของคนในชุมชนเพื่อให้เกิดความเข้มแข็งให้ชุมชนโดยมีกิจกรรมทางเศรษฐกิจของชุมชนในการผลิตสินค้าและบริการร่วมกันที่จะสืบสานตามศาสตร์พระราชา ตลอดจนเป็นผู้ประกอบการมืออาชีพที่จนสามารถนำไปสู่ชุมชนที่เข้มแข็ง มีความมั่นคงทางด้านอาหารและมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งๆ ขึ้นไป

 

   

 

ผลการดำเนินงาน

          การพัฒนาท้องถิ่นในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ลงพื้นที่หมู่บ้านรวมไทย ต.หาดขาม อ.กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้มีการจัดเวทีประชาคมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พบว่าชุมชนประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ขาดองค์ความรู้ในการแปรรูปผลผลิต จากความรู้ทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนช่องทางการจัดจำหน่าย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จึงได้จัดกิจกรรมการยกระดับรายได้ในการแปรรูปผลผลิตจากสับปะรดหรือกล้วย ในหมู่บ้านรวมไทย ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่ คือน้ำพริกเผาจากกล้วย และไซเดอร์จากสับปะรดหรือกล้วย ส่งผลในด้านต่างๆ ดังนี้

           1) ด้านสังคม เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ สามารถรวมกลุ่มกับจัดตั้ง"กลุ่มวิสาหกิจชุมชนการแปรรูปผลผลิตการเกษตรอย่างยั่งยืน"ได้ 

           2) ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนมีอาชีพเสริมก่อให้เกิดรายได้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยมีการนำสินค้าไปจำหน่ายที่เมืองทองธานี มาร์เก็ต วิลเลจ หัวหิน และออกบูทจำหน่ายในงานเทศการของจังหวัดประจวบคีรีขันธ์

           3) ด้านการศึกษา ชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา" จนสามารถต่อยอดการแปรรูปอาหารจากสับปะรดหรือกล้วยจนได้ผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพเกิดเป็นผู้ประกอบการใหม่ในชุมชน

 

 

      

 

      

 

   

 

คณะทำงาน

          1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภวานี  เผือกบัวขาว      อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          2. อาจารย์ ดร.ดารัณ                 พราหมณ์แก้ว    อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          3. อาจารย์กฤษฎา                    สุริยวงค์           อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ

          4. อาจารย์ ดร.ปราโมทย์            ตงฉิน              อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีสารสนเทศ

          5. อาจารย์ ดร.กิติมา                 ลีลาพงศ์พัฒนา  อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์

          6. อาจารย์สมบัติ                      ไวยรัช             อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          7. อาจารย์กฤษณ์                     ไชยวงศ์           อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์ฯ 

          8. อาจารย์ ดร.ดำรงศักดิ์             อาลัย             อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร

          9. อาจารย์เพ็ญทิพย์                 รักด้วง             อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          10. อาจารย์วรรณีศา                สีฟ้า                 อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          11. อาจารย์เสาวลักษณ์             วิบูลย์กาล         อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

          12. อาจารย์ดรุณี                     ทิพย์ปลูก          อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

          13. อาจารย์จันทรา                  ธนีเพียร            อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ

          14. อาจารย์จรรยาพร                บุญเหลือ          อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ