ชุมชนบ้านทุ่งพุฒิ  อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

ชุมชนบ้านทุ่งพุฒิ  อำเภอทับสะแก จังหวัดประจวบคีรีขันธ์

 

บริบทชุมชน

          หมู่บ้านทุ่งพุฒิเดิมอยู่ หมู่ที่ 4 บ้านวังยาง ต.อ่างทอง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ หมู่บ้านวังยาวอาณาเขตกว้างและมีประชากรมาก ทำให้การดูแลไม่ทั่วถึง จึงจัดประชุมหมุ่บ้าน โดยแบ่งอาณาเขตออกเป็น 2 ส่วน โดยให้หมู่บ้านดอนบนเป็นหมู่ 4 และจัดให้หมู่บ้านทุ่งพุฒิเป็นหมู่ 11 ตั้งแต่วันที่ 11 กันยายน 2539 โดยมีผู้ใหญ่บ้านตามลำดับ ดังนี้ นายประกอบ อินทร์สรัญ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนแรก นายอำพันธ์  พุฒใหญ่ เป็นผู้ใหญ่บ้านคนที่ 2 และนายสมชาติ โพธิ์ศรีทอง เป็นผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบัน

          สาเหตุที่ต้องตั้งชื่อหมู่บ้าน ทุ่งพุฒิ เนื่องจากบริเวณหมู่บ้านโดยทั่วไปจะมีแต่ ดอกพุด ชาวบ้านส่วนใหญ่จึงเรียกว่า ทุ่งพุฒิ และเรียกติดปากหมู่บ้านทุ่งพุฒิจนถึงปัจจุบัน

          บ้านทุ่งพุฒิเป็นหมู่บ้านหนึ่งของ ต.อ่างทอง ซึ่งอยู่ห่างจากที่ว่าการ อ.ทับสะแก ไปทางใต้เป็นระยะทาง 13 กม. มีพื้นที่ 1,840 ไร่ มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

          ทิศเหนือ           ติดต่อ   บ้านจักกระบน หมู่ที่ 5 ต.อ่างทอง

          ทิศใต้              ติดต่อ    บ้านวังยาง หมู่ที่ 4 ต.อ่างทอง

          ทิศตะวันออก     ติดต่อ    บ้านอ่างทอง หมู่ที่ 1 ต.อ่างทอง

          ทิศตะวันตก      ติดต่อ    บ้านเขาปอ หมู่ 7 ต.อ่างทอง

          จำนวน 191 ครัวเรือน ส่วนใหญ่ ประกอบอาชีพทำสวนมะพร้าว ทำนา และรับจ้าง

 

ปัญหาชุมชน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ลงพื้นที่หมู่บ้านทุ่งพุฒิ ต.อ่างทอง อ.ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์ ในโครงการแก้ไขปัญหาความยากจน ได้มีการจัดเวทีประชาคมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน พบว่าชุมชนประสบปัญหาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ ขาดองค์ความรู้ในการแปรรูปผลผลิต จากความรู้ทางด้านการพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตลอดจนช่องทางการจัดจำหน่าย

 

   

 

   

 

ผลการดำเนินงาน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี จึงได้จัดกิจกรรมการยกระดับรายได้ในการแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าว ในหมู่บ้านทุ่งพุฒิ โดยการทำน้ำมันมะพร้าวสกัดเย็น น้ำมันมะพร้าวสกัดร้อนลิปสติก สบู่น้ำมันมะพร้าวและน้ำพริกเผามะพร้าวคั่ว ส่งผลในด้านต่างๆ ดังนี้

          1) ด้านสังคม เกิดความรักความสามัคคีในหมู่คณะ สามารถรวมกลุ่มได้ 

          2) ด้านเศรษฐกิจ ชุมชนมีอาชีพเสริมก่อให้เกิดรายได้ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น โดยมีการนำสินค้าไปจำหน่ายในตลาดของชุมชนและนอกชุมชน

          3) ด้านการศึกษา ชุมชนได้รับความรู้เกี่ยวกับศาสตร์พระราชา "เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา"

          จนสามารถต่อยอดการแปรรูปผลผลิตจากมะพร้าว ได้ผลิตภัณฑ์ใหม่เกิดการสร้างงาน สร้างอาชีพเกิดเป็นผู้ประกอบการใหม่ในชุมชน

 

      

 

         

 

      

 

   

 

คณะทำงาน

1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วิภวานี  เผือกบัวขาว      อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

2. อาจารย์ ดร.ดารัณ                 พราหมณ์แก้ว    อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

3. อาจารย์กฤษฎา                    สุริยวงค์           อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ

4. อาจารย์เผ่า                         อนันจิ๋ว             อาจารย์ประจำคณะพยาบาลศาสตร์

5. อาจารย์ ดร.สุคนธา               สุคนธ์ธารา        อาจารย์ประจำคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

6. อาจารย์สมบัติ                     ไวยรัช              อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

7. อาจารย์กฤษณ์                    ไชยวงศ์            อาจารย์ประจำคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม 

8. อาจารย์ ดร.ดำรงศักดิ์            อาลัย              อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร

9. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ประกาศ     ชมพู่ทอง          อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร

10. อาจารย์ ดร.ศิริวรรณ           แดงฉ่ำ              อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร

11. อาจารย์เพ็ญทิพย์                รักด้วง             อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

12. อาจารย์วรรณีศา                สีฟ้า                 อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

13. อาจารย์วันรัต                    ชื่นบุญ              อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

14. อาจารย์เสาวลักษณ์             วิบูลย์กาล         อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

15.อาจารย์ดรุณี                      ทิพย์ปลูก          อาจารย์ประจำคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ 

16. อาจารย์จันทรา                  ธนีเพียร            อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ

17. อาจารย์ ดร.วิวิศณ์              สุขแสงอร่าม      อาจารย์ประจำคณะวิทยาการจัดการ

18. ผู้ช่วยศาสตราจารย์อรอนงค์    ศรีพวาทกุล     อาจารย์ประจำคณะเทคโนโลยีการเกษตร