ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมปูนปั้นเพชรบุรี ช่างเฉลิม พึ่งแตง

สไลด์1.JPG
สไลด์2.JPG
สไลด์3.JPG
สไลด์4.JPG
สไลด์5.JPG

Title

ทายาทช่างศิลปหัตถกรรมปูนปั้นเพชรบุรี ช่างเฉลิม พึ่งแตง

Creator

มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี, สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ
วิโรจน์ ว่องไวไพโรจน์
ARIT PBRU Channel

Description

นายเฉลิม พึ่งแตง เกิดเมื่อวันที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2487 ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านเลขที่ 6 บ้านเขาสมอระบัง ต.หนองปลาไหล อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี เป็นบุตรของนายโพธิ์ นางกิมฮวย (ห่วย) พึ่งแตง ปัจจุบันนายเฉลิม พึ่งแตง อยู่บ้านเลขที่ 69/2 ซอย 5 เทคนิค ถนนบริพัตร ต.ท่าราบ อ.เมือง จ.เพชรบุรี เบอร์โทรศัพท์ 08-1291-9081 ชีวิตครอบครัวสมรสกับ นางประทุม พึ่งแตง มีบุตรด้วยกัน จำนวน 4 คน เป็นผู้ชาย 3 คน และผู้หญิง 1 คน ดังนี้

  1. นายกิตดิพงษ์ พึ่งแตง เกิดวันที่ 20 กันยายน 2506
  2. นายพิพัฒน์ พึ่งแตง เกิดวันที่ 14 เมบายน 2510
  3. นางสาวอรวรรณ พึ่งแตง เกิดวันที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2511

4 นายจักรพงษ์ พึ่งแตง เกิดวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2527


การศึกษา

นายเฉลิม พึ่งแตง จบระดับประถมศึกษาชั้นปีที่ 4 ที่โรงเรียนวัดเขาสมอระบัง บ้านเขาสมอระบัง ตำบลหนองปลาไหล อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี และได้ศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษาชั้นปีที่ 1-6 ที่โรงเรียนศึกษาปัญญาเพชรบุรี โดยอาศัยอยู่ที่วัดพระทรง ระหว่างนั้นก็มีการศึกษาเรียนรู้เรื่องการทำเมรุ การเขียนออกลายลูกโกษฐ์ และยังได้เรียนศิลปะกับครูสอนศิลป์ และขุนชาญ ชาญใช้จักร อดีตผู้ว่าราชการเมืองเพชรบุรี ซึ่งได้สอนที่โรงเรียนศึกษาปัญญานั้นด้วย จนจบระดับชั้น ม. 6 ในปี พ.ศ. 2504 และศึกษาต่อในระดับมัธยมศึกษา ชั้นปีที่ 7-8 ที่ โรงเรียนอรุณประดิษฐ์ (แต่ไม่จบการศึกษา) ซึ่งนายเฉลิม พึ่งแตง ได้สมัครสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยคผู้สอนวาดเขียนตรี (ว.ต.) เมื่อปี พ.ศ. 2505 และสอบไล่ได้ประกาศนียบัตรประโยคผู้สอนวาดเขียนโท (ว.ท.) เมื่อปี พ.ศ. 2514 ต่อมาได้รับปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ สายศิลปกรรมและศิลปะประยุกต์ โปรแกรมวิชาศิลปกรรม จากวิทยาลัยครูเพชรบุรี เมื่อปี พ.ศ. 2537


การทำงาน

นายเฉลิม พึ่งแตง ชอบวิชาศิลปะขณะเรียนหนังสือระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1-6 ที่โรงเรียนศึกษาปัญญาเพชรบุรี ได้พักอาศัยอยู่ที่วัดพระทรง ซึ่งเป็นสถานที่ชุมนุมของช่างฝีมือเมืองเพชร อาทิ อาจารย์เลิศ พ่วงพระเคช ครูพิน อินฟ้าแสง เป็นต้น ทำให้นายเฉลิม พึ่งแตง ได้ซึมซับและถ่ายทอดประสบการณ์ฝีมือเชิงช่างตั้งแต่นั้นเป็นตันมา จากการที่ได้เห็นได้สนทนาและได้ถามปัญหาเมื่อติดขัดในรูปแบบลวดลายและนำมาฝึกปรือฝีมืออยู่เสมอ ทำให้เกิดความชำนาญในการเขียนลวดลายไทยเพิ่มมากขึ้น

ขณะที่นายเฉลิม พึ่งแตง อาศัยอยู่ที่วัดพระทรง กับพระมหาประทิว (ศิษย์ของครูหวน ตาลวันนา) ซึ่งมีศักดิ์เป็นน้าของนายเฉลิม พึ่งแตง ได้มีการศึกษาเรียนรู้เรื่องการทำเมรุ เขียนลายลูกโกษฐ์ การฝึกเขียนลายไทยต่าง ๆ  และได้ทำงานก่อสร้างกับบิดา ซึ่งเป็นช่างโครงสร้าง และช่างหงษ์ ซึ่งเป็นช่างรับเหมาก่อสร้างในสมัยนั้น ได้มีการฝึกหัดทำช่อฟ้า ใบระกากับช่างออด มีการปั้นลายที่วัดเขาสมอระบัง ตั้งแต่ในวัยเรียน ต่อมาก็ทำซุ้มประตู คูหา หน้าบรรณ ที่วัดหนองปลาไหล ราว ๆ อายุ 19-20 ปี โดยศึกษาตำราลายไทยของ นายโพธิ์ ใจอ่อนน้อม ต่อมาได้มาทำโครงสร้างของศาลาวัดทับคาง ได้มีความรู้เรื่องคอนกรีต งานแบบ เรียนรู้จากการปฏิบัติจริง 

การที่บิดาเป็นช่างทำโบสถ์ มีอาชีพก่อสร้างทางสถาปัตยกรรมไทย จึงได้ไปช่วยเทปูน ผสมปูนอยู่ระยะหนึ่ง ช่างห่ง ซึ่งเป็นช่างปูนปั้นในสมัยนั้นได้เห็นฝีมือของนายเฉลิมพึ่งแตง จึงได้ชวนไปทำประตูซุ้มที่วัดหนองปลาไหล ได้พัฒนาฝีมือ จนกลายเป็นช่างเขียนภาพลายไทย และช่างปูนปั้นฝีมือดีเยี่ยมของเมืองเพชรคนหนึ่ง

ขณะที่ได้มาทำงานที่วัดกุฎีดาว และได้เป็นครูสอนวิชาศิลปะที่โรงเรียนปริยัติรังสรรค์ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2515 เมื่อเขียนภาพลวดลายไทยได้ดีพอควร  จึงได้สมัครและสอบเป็นนักวาดเขียนตรีและโทได้ตามลำดับ ครั้นจะสอบเป็นนักวาดเขียนเอกที่โรงเรียนเพาะช่าง ต้องส้มเลิกไปเนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ 

ได้เข้ามาซ่อมโบสถ์หลังเก่าของวัดคงคาราม วัดแรก ได้ความคิดของครูเลิศ พ่วงพระเดช และครูพิน อินฟ้าแสง โดยครูรุ่นเก่า ๆ สอนไว้ว่า “ต้องดูให้เป็น เห็นให้มาก” มีการเรียนรู้ลวดลายและสั่งสมฝีมืองานปั้นเรื่อยมา

ช่างเฉลิม พึ่งแตง เป็นผู้มีบุคลิกสุภาพ เยือกเย็น สุขุม มีความประพฤติดีงามเป็นที่เคารพนับถือยกย่องในฐานะช่างฝีมือของคนรุ่นใหม่ มีน้ำใจช่วยเหลือเพื่อนร่วมอาชีพ และบุคคลทั่วไปด้วยความเต็มใจ ไม่เคยหวงวิชาชีพ ใครขอคำแนะนำเรื่องงานเขียนภาพไทย และงานปูนปั้น จะบอกถ่ายทอดวิชาให้โดยไม่ปีดบัง

ผลงานการเขียนภาพลายไทยและปูนปั้นของช่างเฉลิม พึ่งแตง สวยงามทั้งในรูปแบบของลวดลายในชั้นเชิงของศิลปะ ตัวลายอวบอิ่มอย่างสมบูรณ์ และภาพประกอบลายไม่ว่าจะเป็นภาพเทวดา ภาพยักษ์ในชุดรามเกียรติ์ ภาพกินนร กินนรี ภาพสัตว์หิมพานต์ ฯลฯ เป็นที่ต้องตา ต้องใจผู้ได้ชมอย่างยิ่ง ศิลปินหลายท่านกล่าวเป็นทำนองเดียวกันว่า "ฝีมือดีจริง ๆ พอกันกับช่างทองร่วง เอมโอษฐ์"

เป็นวิทยากรให้กับการศึกษานอกโรงเรียน เพชรบุรี ตั้งแต่พ.ศ. 2535 โดยเป็นวิทยากรประจำให้กับ โรงเรียนคงคาราม 2 ปี และเป็นวิทยากรประจำ ให้กับ โรงเรียนสุขประสารราษฎร เพชรบุรี 2 ปี.


กระบวนการ เทคนิค รูปแบบงานปูนปั้นสูตรสกุลช่างเมืองเพชรบุรี

งานปูนปั้นสูตรสกุลช่างเมืองเพชรบุรี เป็นสูตรดั้งเดิมตั้งแต่สมัยโบราณ (สมัยอยุธยาตอนปลาย) มีอัตราส่วน ประกอบด้วย ทราย 1 ส่วน ปูนขาวที่ร่อนแล้ว 3 ส่วน กระดาษฟางหรือกระดาษอื่น ๆ ตามความเหมาะสม กาวหนังสัตว์ น้ำตาลโตนด (กากน้ำตาล) นำตาลใส่มากก็ดี มันแข็งตัว ข้อเสียคือสีไม่สวย  เดิมทีใช้เปลือกประดู่ หรือน้ำหมาก  (หมากกับพลู) ต่อมาไม่ได้ใช้แล้ว


ลวดลายพื้นฐานของงานปั้น

  นิยมออกลายแบบอยุธยา เพราะถือเป็นจุดสูงสุดของลายไทย งานปั้นส่วนใหญ่จึงเป็นลักษณะงานประติมากรรมแบบประเพณี อาทิ

  1. ลายกนก แบบบิดกลับหรือพับกลับ (ลายที่ศาลาการเปรียญวัดพลับพลาชัย ลายกนกที่เป็นครูคือที่ประตูวัดใหญ่สุวรรณารามฯ
  2. ลายหน้ากระดาน
  3. ลายเถาลายใบคู่ (ที่วัดไผ่ล้อม)
  4. ภาพสมมาตรเข้าพระเข้านาง ให้เข้าบรรยากาศกินนอน กินรี 
  5. ลายดอกพุดตาล

ผลงาน

นายเฉลิม พึ่งแตง เป็นผู้ที่มีความสามารถในงานเชิงช่างหลายแขนง และหลายสาขา ในระดับฝีมือชั้นครูของจังหวัดและของประเทศ ดังตัวอย่างความสามารถอันเป็นที่ประจักษ์ทั่วไปได้ดังต่อไปนี้

  1. ผลงานค้านศิลปะปูนปั้น มีดังนี้
  1. ปั้นหน้าบันโบสถ วัดหนองปลาไหล อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี หน้าบัน 4 ด้าน พร้อมคูหาแท่นพระ ซุ้มประตูหน้าต่าง
  2. ขึ้นซุ้มประตูทางเข้าวัดคงคาราม จ.เพชรบุรี
  3. หน้าบันโบสถ วัดเขาพระ พร้อมซุ้มประตูหน้าต่าง อ.เขาข้อย จ.เพชรบุรี
  4. ปั้นลายหน้ำบันโบสถ วัคกุฎีดาว พร้อมซุ้มหน้าต่าง จ.เพชรบุรี
  5. ปั้นหน้าบันโบสถ วัดท่ากระเทียม อ.ท่ายาง จ.เพชรบุรี
  6. ขึ้นหน้าบันโบสถ วัดนิคมวชิราราม อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
  7. ปั้นหน้าบันโบสถ วัดชะอำ พร้อมแท่นพระประธาน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
  8. ปั้นหน้าบันโบสถ วัดดอนทราย อ.เขาช้อย จ.เพชรบุรี
  9. ปั้นหน้าบันโบสถ วัดหัวยหลวง อ.เขาช้อย จ.เพชรบุรี
  10. ขึ้นหน้าบันศาลาการเปรียญ วัคชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
  11. ปั้นซุ้มประตูจตุรมุข ทางขึ้นกุฏิวัดหนองปรง อ.ขาช้อย จ.เพชรบุรี
  12. ขึ้นลาหน้ำบัน ศาลาการเปรียญ วัดพลับพลาชัย อ.เมือง จ.เพชรบุรี
  13. ปั้นลายหน้าบันโบสถ วัดใหม่ บางจาก จ.เพชรบุรี
  14. ปั้นลายหน้าบัน วิหารจตุรมุข วัดปากคลอง พร้อมประตู กับแท่นพระภายในวิหาร จ.พชรบุรี
  15. ปั้นหน้าบัน มณฑปวัดปากคลอง พร้อมแท่นพระ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
  16. ปั้นดูหาวัดวังยาว กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
  17. ปั้นหน้าบันโบสถ วัดลาดโพธิ์ จ.เพชรบุรี
  18. ปั้นหน้าบัน มณฑป ตรีมุข หลวงพ่อมี วัดพระทรง จ.เพชรบุรี
  19. ขึ้นหน้าบันโบสถ วัดสนามพราหมณ์ จ.เพชรบุรี
  20. ปั้นแท่นพระประธาน กับเสมา วัคสนามพราหมณ์ จ.เพชรบุรี
  21. ปั้นหน้าบัน ศาลาการเปรียญ ซุ้มประตูทางเข้า วัดสนามพราหมณ์ จ.เพชรบุรี
  22. ปั้นหน้าบัน ตรีมุข กุฏิวัดพระทรง จ.เพชรบุรี
  23. ขึ้นหน้าบันโบสถ วัดชีว์ประเสริฐ จ.เพชรบูรี
  24. ปั้นหน้าบัน 2 หน้าบันของกุฏิวัดท่าผา จ.ราชบุรี
  25. ขึ้นหน้าบันโบสถ วัดคงคาราม กับพระนาคปรก จ.เพชรบุรี
  26. ปั้นหน้ำบันโบสถ วัคหนองเผาถ่าน อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
  27. ปั้นหน้าบันศาลานางสาวอัมพร บุญประคอง ด้านทิศตะวันออก พร้อมใบระกา มีคณะเทพฯ ประกอบใบระกา
  28. ซ่อมบูรณะวัดอรุณราชวราราม ร่วมกับกองหัตถศิลป กรมศิลปากร
  29. ซ่อมหน้าบัน วัดมหรรณพฯ กทม.
  30. ขึ้นแท่นพระประธานในโบสถ วัดพระทรงใหม่ พร้อมแท่นพระภายใน รวม 10 แท่น
  31. ปั้นหน้าบันโบสถ วัดเขาบ้านกลาง ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์
  32. หน้าบันอุโบสถ ใบเสมา และเทวดาประจำทิศ ที่วัดป่าจิตภาวนา  พ.ศ. 2535  (7 ปี แล้วเสร็จ)
  33. วัดสาระเห็ด ต. กลัดหลวง อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี (โดยมีนายพิพัฒน์ พึ่งแตง สืบสานงานปั้นต่อ)

ผลงานโดดเด่น

  1. มณฑปหลวงพ่อมี วัดพลับพลาชัย
  2. มณฑปวัดพระทรง (ศาลาทางขึ้น)
  3. ภาพผจญมารหน้าบรรณโบสถ์วัดป่าจิตตภาวนา (พ.ศ. 2535-2541)
  1. ผลงานด้านการออกแบบ
  1. ออกแบบหอระฆัง วัดหนองปรง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
  2. ออกแบบมณฑป จตุรมุข วัดเขาสมอระบัง อ.เขาย้อย จ.เพชรบุรี
  3. ออกแบบอาคาร ศาลาเอนกประสงค์ วัดพระทรง จ.เพชรบุรี
  1. ผลงานด้านการเขียนลายประตูหน้าต่างสำหรับแกะสลักไม้
  1. ลายบานหน้าต่างโบสถ วัคลาดโพธิ์ จ.เพชรบุรี
  2. ลายบานประตู หน้าต่าง วัดสนามพราหมณ์ จ.เพชรบุรี
  3. ลายบานประตู หน้าต่าง วัดเพชรสุวรรณ อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
  4. ลายบานประตู หน้าต่าง วัดจันทราวาส อ.เมือง จ.เพชรบุรี
  5. ลายบานประตู หน้าต่าง วัดเกาะแก้ว อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
  6. ลายบานประตู หน้าต่าง วัดโตนคหลวง จ.เพชรบุรี
  7. ลายบานหน้าต่าง วัดเวียงคอย 3 ลาย จ.เพชรบุรี
  8. ลายบานหน้าต่าง วัดลักษณาราม 4 ลาย จ.เพชรบุรี
  9. ลายประตู วัดปากคลอง อ.บ้านแหลม จ.เพชรบุรี
  10. ลายหน้าบันศาลา วัดปากลัด บางตะบูน จ.เพชรบุรี
  11. ลายหน้ำาบันศาลาฌาปนกิจ (วัคถ้ำแกลบ วัดบุญทวี เขาหลวง) จ.เพชรบุรี
  12. ลายหน้าบันจตุรมุข ลายดูหา ลายหย่องใต้บานหน้าต่างของอาคารเบญจานุวัตร วัดมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี
  13. ลายบานประตู หน้าต่าง วัดแสมคำ บางขุนเทียน
  14. ลายหน้าบัน ศาลาการเปรียญ วัดแก่นเหล็ก อ.เมือง จ.เพชรบุรี
  15. ลายหน้าต่างโบสถ วัดหนองจอก อ.บ้านลาด จ.เพชรบุรี
  16. ลายบานหน้าต่าง วัครัชดาทิพย์สถาน (วัดเงิน) ตลิ่งชัน กทม.
  17. ลายบานประตู หน้าต่าง มณฑป วัดเขาสมอระบัง จ.เพชรบุรี
  1. ผลงานด้านจิตรกรรม
  1. เทพชุมนุม ภาพพุทธประวัติ ผนังโบสถ วัดชะอำ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี
  2. ผนังโบสถ วัดหนองหิน ทับสะแก จ.ประจวบคีรีขันธ์
  3. ผนังโบสถ วัดวังขาว กุยบุรี จ.ประจวบคีรีขันธ์
  4. ร่างภาพผนังค้านหลังพระประธาน ศาลาบุญประคอง วัคมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี
  5. เขียนลายคูหา ศาลามาปนกิจ วัคบ่อบุญ จ.เพชรบุรี
  6. เขียนลายคูหา เมรุวัดวังบัว จ.เพชรบุรี
  7. เขียนภาพบนแผ่นไม้ บนผ้าใบ ตามบ้านที่มีผู้จ้างเขียนอีกหลายภาพ
  8. เขียนลายประกอบเมรุ กับภาพล่องถุนเมรุวัดพระทรง
  1. ผลงานค้านการเขียนหนังสือ

นายเฉลิม พึ่งแตง ได้รับเชิญจากหนังสือพิมพ์ "เพชรภูมิ" ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ท้องถิ่นเพชรบุรี เขียนบทความให้ความรู้เรื่องราวของศิลปะไทย ตลอดจนผลงานศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดเพชรบุรีในคอลัมน์ชื่อ "ช่างเปิดอก" ตั้งแต่เดือนเมษายน 2538 รวมถึงขณะนี้ 72 บทความ ซึ่งนับเป็นประโยชน์ต่อวงการศึกษาเป็นอย่างสูงยิ่ง ปัจจุบันนี้ก็ยังผลิตผลงานอยู่เดือนละ 2 ฉบับ เป็นประจำทุกเดือน

บทความทางวิชาการ

เฉลิม พึ่งแตง. "ปูนที่จะถูกลืม," เพชรภูมิ. 1 เมษายน 2538, หน้า 3.

"ช่างเปีดอก : การแข่งขันปั่นปูนสด," เพชรภูมิ. 16 เมษายน 2538, หน้า 6.

"ช่างเปีดอก : มองกำแพง," เพชรภูมิ. 2 พฤยภาคม 2538, หน้า 8.

"ช่างเปีดอก : นานาทัศนะ 1," เพชรภูมิ. 16 พฤษภาคม 2538, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : นานาทัศนะ 2," เพชรภูมิ. 1 มิถุนายน 2538, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : น่าเสียดาข," เพชรภูมิ. "6 มิถุนายน 2538, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : เมรุเมืองเพชรเกิดเมื่อใด?," เพชรภูมิ. 1 กรกฎาคม 2538, หน้า 4.

"ช่างเปิดอก : เพราะอะไร?," เพชรภูมิ. 16 กรกฎาคม 2538, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ดูลายวัดเกาะ," เพชรภูมิ. 1 สิงหาคม 2538, หน้า 5.

"ช่างเปีดอก : เจดีย์ ," เพชรภูมิ. 16 สิงหาคม 2538, หน้า 5.

"ช่างเปีดอก : เจดีย์ 2," เพชรภูมิ. 1 กันยายน 2538, หน้า 5.

"ช่างเปีดอก : ดูลายวัดมหาธาตุ 1'" เพชรภูมิ. 16 กันยายน 2538, หน้า 5.

"ช่างเปีดอก : ดูลายวัคมหาธาตุ 2," เพชรภูมิ. 1 ตุลาคม 2538, หน้า 5.

"ช่างเปีดอก : ดูลายวัคมหาธาตุ 3," เพชรภูมิ. 16 ตุลาคม 2538, หน้า 6.

"ช่างเปีดอก : ดูลายวัดมหาธาตุ 4," เพชรภูมิ, 1 พฤศจิกายน 2538, หน้า 6.

"ช่างเปีดอก : ลายวิหารวัคมหาธาตุ "," เพชรภูมิ. 16 พฤศจิกายน 2538, หน้า 6.

"ช่างเปีดอก : ลายวิหารวัดมหาธาตุ 2," เพชรภูมิ. 1 ธันวาคม 2538, หน้า 6.

"ช่างเปีดอก : วิหารคด ," เพชรภูมิ. 16 ธันวาคม 2538, หน้า 7.

"ช่างเปีดอก : พระปรางค์ 1" เพชรภูมิ. 30 ธันวากม 2538, หน้า 7.

"ช่างเปีดอก : พระปรางค์ 2," เพชรภูมิ. 16 มกราคม 25 36 , หน้า 5.

"ช่างเปีดอก : พระปรางค์ 3," เพชรภูมิ. 1 กุมภาพันธ์ 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : พระปรางค์ 4." เพชรภูมิ. "6 กุมภาพันธ์ 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : พระปรางค์ 5 ," เพชรภูมิ. 1 มีนาคม 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : มุขหน้าวิหาร," เพชรภูมิ. 16 มีนาคม 2539, หน้า 6.

"ช่างเปีดอก : คลายความสงสัย," เพชรภูมิ. 1 เมษายน 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ตัวแบก," เพชรภูมิ. 16 เมบายน 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : เจดีย์วัดมหาธาตุ " เพชรภูมิ. 2 พฤษภาคม 2538, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ประกวดปูนปั้น ครั้งที่ 2," เพชรภูมิ. 16 พฤษภาคม 2536, หน้า 4.

"ช่างเปิดอก : ศาสานางสาวอัมพร บุญประคอง ," เพชรภูมิ. 1 มิถุนายน 2536, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ศาสานางสาวอัมพร บุญประกอง 2," เพชรภูมิ. 16 มิถุนายน 2535, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ลายบัวยอดนิยมเพชรบุรี," เพชรภูมิ. 1 กรกฎาคม 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ยอดพรหมพักตร์เจดีย์วัดมหาธาตุ," เพชรภูมิ. 16 กรกฎาคม 2534, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : สิงห์บนกำแพง," เพชรภูมิ, 1 สิงหาคม 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : นกทัณฑิมา," เพชรภูมิ. 16 สิงหาคม 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : อรหัน ," เพชรภูมิ. 1 กันยายน 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ลายกระทง," เพชรภูมิ. 16 กันยายน 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : รูปทรงซุ้มประตูวัด," เพชรภูมิ. 1 ตุลาคม 2539, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : น่าเป็นห่วง," เพชรภูมิ. 16 ตุลาคม 2538, หน้า 6.

"ช่างเปีดอก : สี " เพชรภูมิ. 1 พฤศจิกายน 2539, หน้า 6.

"ช่างเปีดอก : ช้างน้ำ มักกะลีผล ," เพชรภูมิ. 16 พฤศจิกายน 2539, หน้า 6.

"ช่างเปีดอก," เพชรภูมิ. 1 ธันวาคม 2538, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : เบื้องหลังภาพมารผจญ," เพชรภูมิ. 16 ธันวาคม 2535, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ช่างเขียนพระวิหารคต วัดพระแก้วฯ " เพชรภูมิ. 30 ธันวาคม 2535, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ช่างเขียนพระวิหารคต วัคพระแก้วฯ (2)," เพชรภูมิ. 16 มกราคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปิดอก : ช่างเขียนพระวิหารคต วัดพระแก้วฯ (3)," เพชรภูมิ. 1 กุมภาพันธ์ 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ช่างเขียนพระวิหารคต วัดพระแก้วฯ (4)," เพชรภูมิ. 16 กุมภาพันธ์ 254O, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : อุปกรณ์การสอนของพระ" เพชรภูมิ. 1 มีนาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : สินเทา," เพชรภูมิ. 16 มีนาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ทัศนียวิทยา," เพชรภูมิ. 1 เมษายน 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : เฟรสโก," เพชรภูมิ. 16 เมบายน 254o, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ทำไมโบสถ์หันหน้าสู่ทิศตะวันออก," เพชรภูมิ. 2 พฤษภาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : สูญหาย," เพชรภูมิ. 16 พฤษภาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ลายผังไม้," เพชรภูมิ. 1 มิถุนายน 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ลายผังไม้ 2," เพชรภูมิ. 16 มิถุนายน 2640, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : เทคนิคแต่ละสมัย," เพชรภูมิ. 1 กรกฎาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ธรรมาสน์ 1," เพชรภูมิ. 16 กรกฎาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ธรรมาสน์ 2,'" เพชรภูมิ. 1 สิงหาคม 254o, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ธรรมาสน์ 3," เพชรภูมิ. 16 สิงหาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ธรรมาสน์ 4 ," เพชรภูมิ. 1 กันยายน 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ธรรมาสน์ 5," เพชรภูมิ. 16 กันยายน 254O, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ธรรมาสน์ 6," เพชรภูมิ. 1 ตุลาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ธรรมาสน์ 3," เพชรภูมิ. 16 ตุลาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ธรรมาสน์ 8 " เพชรภูมิ. 1 พฤศจิกายน 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : หอระฆัง," เพชรภูมิ. 16 พฤศจิกายน 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : หอระฆัง 2," เพชรภูมิ. 6 ธันวาคม 2540, หน้า 4.

"ช่างเปีดอก : ลายยอดนิยมสมัยอยุธยา," เพชรภูมิ. 16 ธันวาคม 2541, หน้า 4.


งานบริการสังคมและเกียรติคุณที่ได้รับ

- ช่างเฉลิม พึ่งแตง ได้รับเชิญจากกรมศิลปากร ตามโครงการบูรณะงานศิลปกรรมเกี่ยวกับ

โบราณสถานในบริเวณกรุงรัตนโกสินทร์ เพื่องานสมโภชน์กรุงรัตนโกสินทร์ :00 ปี

- ได้รับเชิญ เป็นอาจารย์สอนพิเศษให้แก่นักเรียนในวิทยาลัยในวังชาย

- พ.ศ. 2524-2525 เป็นผู้เชี่ยวชาญการซ่อมบูรณะวัดอรุณราชวราราม 

- เป็นวิทยากรสอนพิเศษวิชาศิลปกรรมไทยให้กับนักศึกษา วิทยาลัยครูเพชรบุรี

- แสดงผลงานและสาธิตการปั้นปูน บรรยายให้นักศึกษาวิชาเอกศิลปะ วิทยาลัยครูเพชรบุรี ทุกภาคเรียน

- แสคงผลงานและสาธิตการปั้นปูน ในการจัดนิทรรศการที่ศูนย์การค้าริเวอร์ซีตี้ กรุงเทพฯ ร่วมกับ

ศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบุรี วิทยาลัยครูเพชรบุรี

- แสดงผลงานและสาธิตการปั้นปูนและเขียนภาพไทยพร้อมคณะ เนื่องในนิทรรศการช่างเมืองเพชร

ใน "งานพระนครคีรีเมืองเพชร" ตั้งแต้ปี 2500 ถึง 2535 ทุกปีต่อเนื่องกัน

- แสดงผลงานและสาธิตปูนปั้นในงานศิลปหัตถกรรมไทย กรุงเทพฯ ร่วมกับศูนย์วัฒนธรรมจังหวัด

เพชรบุรี วิทยาลัยครูเพชรบุรี ระหว่างวันที่ 12-15 สิงหาคม 2531

. เป็นอาจารย์พิเศยสอนงานจิตรกรรมและการแกะสลัก ให้แก่นักศึกษาวิทยาลัยเทคนิคเพชรบุรีและ

ศูนย์การศึกษานอกโรงเรียน

- ออกรายการสืบสานศิลปไทย ช่อง 3 หลังข่าวภาคกลางวัน เกี่ยวกับจิตรกรรมช่อง 3

- รายการบ้านเลขที่ 5 เกี่ยวกับจิตรกรรม ทางช่อง 5

- รายการไทยรักไทย เกี่ยวกับศิลปปูนปั้น ทางช่อง 7

- รายการแดนสยาม ทางช่อง 3

- รายการบันทึกความดี ทางช่อง 11

- ร่วมกิจกรรมของชุมชน และโรงเรียน เช่นวันเข้าพรรษาจะแกะต้นเทียนอยู่เป็นประจำ

- วันสงกรานต์จะร่วมกับชุมชน ตบแต่งรถเป็นรูปเรือหงษ์ เรือกรุฯ กับภาพประจำปีสงกรานต์

อยู่เสมอทุกปี


ได้รับรางวัลและเชิดชูเกียรติ

  • เป็นศิลปินดีเด่นสาขาศิลปะ ประจำจังหวัดเพชรบุรี จากสถาบันราชภัฏเพชรบุรี 2532
  • เป็นบุคคลดีเด่นสาขาช่างฝีมือ จากหนังสือพิมพ์เพชรภูมิ และได้รับรางวัลมือเพชรบัวไทย แจ่มจันทร์

2537

  • เป็นบุคคลดีเด่น ประเภทผู้ส่งเสริมวัฒนธรรมดีเด่น 2538 จากเทศบาลเมืองเพชรบุรี
  • เป็นผู้ทำคุณงามความดีต่อส่วนรวม จากรายการบันทึกความดี สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 2540
  • ครูศิลป์ของแผ่นดินประจำปี 2564 อายุ 77 ปี ประเภทเครื่องปั้นปูนสดจังหวัดเพชรบุรี ผู้ที่ถือเป็นสุดยอดช่างฝีมือผู้อนุรักษ์สืบสานงานปูนปั้นสด หนึ่งในสกุลช่างเพชรบุรี ที่มีความสามารถครบบริบูรณ์ด้วยทักษะฝีมือสร้างผลงานปูนปั้นปูนสดแบบโบราณฝากไว้บนผืนแผ่นดินไทยผ่านวัดวาอารามหลายแห่งจนเป็นที่ยอมรับในฝีมืองานปูนปั้นสดขั้นบรมครูของเมืองเพชรบุรี ด้วยผลงานที่มีลวดลายวิจิตรงดงามนั้นยังคงรักษาภูมิปัญญาอัตลักษณ์ลวดลายปูนปั้นสดแบบดั้งเดิมที่มีมานับตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยาให้คงอยู่

ครูเฉลิมเริ่มทำงานด้วยใจรักในศิลปะทั้งงานจิตรกรรมไทยและงานปั้นปูนสด สนใจและขวนขวาย ฝึกฝนตั้งแต่วัยหนุ่ม เนื่องจากเป็นคนจังหวัดเพชรบุรี เมื่อได้มีโอกาสมาทำงานในเมืองได้อาศัยอยู่ที่วัด จึงได้เห็นศิลปะความงดงามหลากหลายรูปแบบที่เป็นฝีมือของช่างในยุคสมัยอยุธยาตอนปลาย โดยเฉพาะศิลปะปูนปั้นสดที่ถือว่างดงามที่สุดในประเทศ ไม่ว่าจะเป็น วัดสระบัว ในมัยพระนารายณ์มหาราช วัดไผ่ล้อมสมัยพระเพทราชา วัดใหญ่สุวรรณารามสมัยพระเจ้าเสือ วัดเขาบันไดอีฐในสมัยอยุธยาตอนปลาย วัดมหาธาตุวรวิหารสมัยพระเจ้าเสือเป็นต้น จนเกิดเป็นแรงบันดาลใจที่จะฝึกฝนงานด้านนี้อย่างจริงจังเริ่มตั้งแต่หัดเขียนลายกนก ลายไทยต่างๆ ฝึกฝนเรียนรู้กับกลุ่มช่างวัดพระทรง ได้แก่ครูหวน ตาลวันนา ครูเลิศ ห่วงพระเดช  ครูพิน อินฟ้าแสง และด้วยความมุมานะเพียรพยายาม หมั่นฝึกฝนจนเชี่ยวชาญ ซึมซับประสบการณ์ต่างๆเรื่อยมาทั้งงานเขียนลายไทยและงานปูนปั้นสดงานไว้ในโบสถ์ วิหาร ศาลา ต่าง ๆ ในจังหวัดเพชรบุรีมากมาย ผลงานเป็นที่ประจักษ์ว่ามีลวดลายปูนปั้นที่อ่อนช้อย งดงามวิจิตร บรรจง ถอดแบบมาจากศิลปะสมัยอยุธยาไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบ นับเป็นระยะเวลาอย่างยาวนาน จนเกือบ 60 ปีแล้ว


ผลงานดีเด่นที่สมควรได้รับการยกย่อง

  1. ด้านเป็นบุคคลที่มีคุณธรรม มีความซื่อสัตย์

นายเฉลิม พึ่งแตง  เป็นผู้กอปรด้วยคุณธรรม และการประพฤติปฏิบัติที่สมควรได้รับการยกย่อง ให้เป็นแบบอย่างแก่บุคคลทั่วไปได้เป็นอย่างดี เพราะประพฤติตนอยู่ในกรอบแห่งศีลธรรม ประเพณี วัฒนธรรมอันดีงาม อบรมสั่งสอนบุตรทุกคนให้ขยันหมั่นเพียร ตั้งอยู่ในความเป็นคนดี บุตรทุกคนจึงประสบความสำเร็จในการศึกษา และมีน้ำใจช่วยเหลือกิจการของสังคมเช่นกัน บุตรชายของนายเฉลิม พึ่งแตง คนหนึ่งเป็นนักกีฬาบาสเก็ตบอลของสถาบันราชภัฏ ตั้งแต่เริ่มรับการศึกษา จนจบการศึกษา นายเฉลิม พึ่งแตง ได้รับความไว้วางใจจากบรรดาช่าง และสำนักศิลปวัฒนธรรม สถาบันราชภัฏในการจัดงานเชิงช่าง ด้านวัฒนธรรม ให้เป็นตัวแทนของช่างเสมอมา

  1. ด้านเป็นบุคคลที่บำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม เป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป

นายเฉลิม พึ่งแตง เป็นผู้มีน้ำใจ ให้ความช่วยเหลือกิจกรรมต่าง 1 ของสังคมส่วนรวมมาโดยตลอด โดยมิเห็นแก่ความเหน็ดเหนื่อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกิจกรรมของสถาบันราชภัฏเพชรบุรี ซึ่งจะต้องเสียสละทั้งแรงกาย แรงใจ ความคิด เพื่อช่วยสร้างสรรคังานด้านศิลปวัฒนธรรมร่วมกัน และรับเป็นกรรมการของศูนย์วัฒนธรรมจังหวัดเพชรบรี สถาบันราชภัฎเพชรบุรีด้วย

  1. ด้านเป็นบุคคลผู้มีผลงานทางวิชาการดีเด่น และเป็นที่ประจักษ์ชัดแจ้งแก่บุคคลในวงการศึกษา

นายเฉลิม พึ่งแตง เป็นผู้มีความรู้ความสามารถดีเด่น ในด้านวิชาการอย่างชัดเจน กล่าวคือ ได้รับเชิญ

เป็นอาจารย์สอนพิศษให้แก่สถาบันการศึกษาต่าง ๆ เป็นวิทยากรพิเศษด้านการเขียนลายไทย ภาพจิตรกรรมฝาผนัง งานปูนปั้น งานแกะสลักไม้ ตลอดจนเป็นนักเขียนด้านศิลปวัฒนธรรมประจำหนังสือพิมพ์ท้องถิ่น เขียนบทความให้ความรู้ต่าง ๆ และเขียนตำราเพื่อใช้สอนนักเรียน หรือผู้เข้าอบรม เป็นจำนวนหลายเรื่องด้วยกัน ซึ่งทุกเรื่องมีคุณค่า และมีความสำคัญต่อวงการศึกษาเป็นอย่างยิ่ง ทั้งการออกแบบลวดลายไทย ให้แก่ช่างแกะสลักไม้ ช่างอื่น ๆ ก็ได้ทั้งความอนุเคราะห์จากช่างเฉลิม พึ่งแตง แทบทั้งสิ้น


การสืบสาน อนุรักษ์ภูมิปัญญางานปูนปั้น

  นายเฉลิม พึ่งแตง ไม่เน้นการพัฒนาลวดลายใหม่ ๆ อยากอนุรักษ์ลวดลายแบบโบราณดั้งเดิมในสมัยอยุธยาเป็นสำคัญ เพราะเห็นว่าเป็นลวดลายที่มีความงดงามอ่อนช้อยอยู่แล้ว ซึ่งเปรียบเสมือนเข็มที่แหลมอยู่แล้ว ฝนมากไปก็จะทำให้ทู่ลง

การดำรงอยู่ของงานปูนปั้นสกุลช่างเมืองเพชรบุรี ส่วนใหญ่เป็นตัวของตัวเอง มีความพยายามจะรวมกลุ่มกันก็ทำกันไม่ได้ ส่วนใหญ่ดำรงอยู่ในลักษณะของใครของมัน สืบสานโดยสายเลือดหรือครอบครัว จากพ่อสู่ลูก จากน้าสู่หลาน ประมาณนี้

บทบาทของเมืองเพชรบุรีที่มีการเปลี่ยนแปลงในปัจจุบัน มองว่าเป็นส่วนที่ดี ทำให้ช่างปูนปั้นเมืองเพชรบุรีได้มีงานทำ โดยแต่เดิมความเชื่อของคนไทยคิดว่าศิลปะนี้เป็นของสูง อยู่ที่วัดหรือวัง ไม่สามารถนำมาไว้ที่บ้านได้ ปัจจุบันก็ได้มีผลงานปรากฎอยู่ตามที่ต่าง ๆ ในเมืองเพชรบุรี เช่นที่ คลองบัว และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ปัจจุบันได้มีการปั้นหัวโขน หัวเทวดา หัวพระราม หัวพระลักษณ์ หัวยักษ์ หัวลิง เป็นต้น โดยจัดทำเป็นที่ระลึกบ้าง ทำเป็นสิ่งประดับตกแต่งบ้าง ซึ่งจะทำให้ช่างดำรงอยู่ และมีรายได้อยู่ตลอด


ผลงานปูนปั้นที่มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

งานปูนปั้นที่ศูนย์เรียนรู้เพื่อเทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวิชราลงกรณ์ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เนื่อในพระราชพิธีบรมราชาภิเษก ด้วยฝีมือช่างชั้นเอกเมืองเพชรบุรี (สวนทศพิธราชธรรม) เป็นเรื่องของขันติญจ คือ ความอดทน โดยนึกถึงพระตันฑกุมาร ที่โดนพระราชาพยายามทดสอบทุกอย่าง ขันติ คืออดทนได้ทุกอย่าง เห็นว่าตัวละครมันเยอะไปก็เลยต่อยอดความคิดที่ว่า พระราชา คือ สมมุติเทพ หรือ เทวดาอวตารมาเกิด ซึ่งต้องมีบริวาร คือ ครุฑอยู่ทางขวา และหนุมานอยู่ทางซ้าย


สถาบันช่างเมืองเพชรบุรีและศิลปะร่วมสมัย

งานสถาบันฯ คนทั่วไปมักคิดว่ามันเป็นงานภายใน คนข้างนอกไม่ค่อยเข้าไป เห็นว่าเป็นส่วนที่ดี ควรมีกิจกรรมการสาธิตงานปูนปั้น โดยเชิญช่างปูนปั้นเมืองเพชรไปสาธิต การแสดงผลงานของช่างเมืองเพชรบุรี

Subject

ช่างปูนปั้น
สกุลช่างเมืองเพชรบุรี
ช่างเมืองเพชร
เฉลิม พึ่งแตง

Publisher

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Date

4 สิงหาคม 2566

Type

วีดีโอ

Format

vedio/web
7.12 นาที

Language

tha

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น