อาหารเมืองเพชรบุรี

Title

อาหารเมืองเพชรบุรี

Description

อัตลักษณ์เพชรบุรี 4 เสน่ห์รสชาติวิถีอาหารเมืองเพชร (Spicy, Sour, Salty and Spicy Quarrels of Phetchaburi province)
          นับแต่อดีตถึงปัจจุบัน ความอุดมสมบูรณ์ของผืนแผ่นดินเมืองเพชร ผลิตความหลากหลายของพืชพรรณธัญญาหาร สะท้อนผ่านภาพผืนนาเกลือกว้างใหญ่ ท้องร่องสวนมะนาว และดงตาลสูงฉลูดไว้กายใต้ความงดงามของทิวทัศน์ที่ซ่อนมทรัพย์ล้ำค่า หล่อเลี้ยงเมืองเพชรอย่างไม่สิ้นสุดวัตถุดิบดีเยี่ยม ผนวกกับภูมิปัญญาท้องถิ่นของคนเมืองเพชรที่ถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น จึงเกิดเป็นเสน่ห์แห่งรสชาติจนเพชรบุรีใต้ชื่อว่าเป็น"เมือง 4 รส"คือ
     1. รสเปรี้ยว ของ มะนาว
          มะนาวแป้น จังหวัดเพชรบุรี ของขึ้นชื่อประจำอำเภอท่ายางอำเภอแก่งกระจาน และ:อำเภอบ้านลาด ด้วยสภาพภูมิอากาศไม่ร้อนจัดหรือหนาวจัด มีระบบชลประทานสมบูรณ์ โดยเฉพาะดินมีลักษณะเป็นดินปนทราย เหมาะแก่การปลูกมะนาวนอกจากนี้คุณลักษณะทางภูมิศาสตร์ของพื้นดินจังหวัดเพชรบุรีทำให้มะนาวมีกลิ่นหอมไม่เหมือนใคร ทำให้เป็นที่นิยมของลักษณะเด่นสำคัญ มีผลใหญ่ ค่อนข้างกลม เนื้อสีขาวใสให้น้ำมาก เมล็ดน้อย หากสังเกตดูที่ต้นจะเห็นเลยว่าออกดอกเป็นพวงและดก และเมื่อลองลิ้มชิมรสจะรับรู้ได้ถึงรสเปรี้ยวกลมกล่อมติดปลายลิ้น แต่ก็ไม่เปรี้ยวแหลมจนเกินไป มีกลิ่นหอมเป็นเอกลักษณ์ผู้บริโภค
     2. รสเค็ม ของ เกลือสมุทร
          เกลือทะเล หรือเกลือสมุทร เป็นเกลือธรรมชาติที่เกิดจากการนำน้ำทะเลมาตากแดดในนาเกลือให้น้ำระเหยออกจนเกิดเป็นผลึกเกลือ ในเมืองไทยตอนนี้มีการทำนาเกลือแค่ 7 วังหวัด เกลือทะเลเแทบทั้งหมด (ประมาณ 9896) ผลิตมาจาก 3 จังหวัดรอบอ่าวไทยตอนในคือ อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี สมุทรสาคร และสมุทรสงคราม รวมพื้นที่ผลิตเกลือประมาณ 62,000 ไร่ ปัจจัยสำคัญในการทำนาเกลือ คือน้ำทะเล กระแสลม และแสงแดด วิธีการผลิตเริ่มจากการรับน้ำทะเลเข้ามาขังให้ได้ที่ แล้วนำมาบ่มให้ได้ความเค็มซึ่งจะให้ดีควรอยู่ที่ 20-24 ดีกรี ใช้เวลาประมาณ 25 วันจนเกลือตกผลึก เมื่อเกลือได้ที่จึงใช้ไม้รุนผลึกเกลือให้แตกแล้วลากมารวมเป็นกอง ปล่อยทิ้งไว้ให้แห้งสนิท แล้วจึงมาช่วยกันเก็บเม็ดเกลือขาว ๆ อย่างที่เราเห็น นอกจากภูมิปัญญาในการทำนาเกลือแล้ว ผลิตภัณฑ์ที่ได้จากเกลืออย่าง "ดอกเกลือ" ถือเป็นของดีอีกหนึ่งอย่างที่ชาวบ้านในชุมชนอำเภอบ้านแหลม นำมาประยุกต์เป็นผลิตภัณฑ์เสริมความงาม ที่ผสมผสานกับสมุนไพรไทย สร้างรายได้ให้แก่ท้องถิ่น และพัฒนาคุณภาพในชีวิตด้วยวิถีแห่งภูมิปัญญา
     3. รสหวาน จาก น้ำตาลโตนด
          น้ำตาลโตนด ที่ได้ความหวานมาจากงวงของต้นตาลโตนดและเป็นที่รู้กันดีว่าน้ำตาลโตนดอร่อยต้องเมืองเพชรย เท่านั้น เรียกว่า "ต้นโหนด" แทนการเรียกว่า "ต้นตาล* เนื่องจากจังหวัดเพชรบุรีนีการปลูกต้นตาลมากที่สุดในประเกศโทยน้ำตาลโตนตั ตัวแทนรสหวานของเมืองเพชรบรกไคขแตันตาลนั้น มีรสหอมหงานเฉพาะตัว กินแล้วมีรสขมปลายในคอทิ้งไว้บาง ๆ อาจจะมีกลิ่นใหม้เล็กน้อย เกิดจากการเคียวน้ำตาลโตนดจนงวด เมื่อเแข็งตัวก็จะเรียกว่า "นำาตหลนักหรือน้ำตาลป็บ" น้ำตาลโตนดเป็นน้ำตาลธรรมชาติ มีคาด้ชนีน้ำตาลน้อยกว่าน้ำตาลทั่วไป เป็นสารที่ให้ความหวานที่ไม่ทำลายสุขภาพ ผู้ที่เป็นเบาหวานสามารถทานได้ในปริมาณที่เหมาะสม ปลูกมากในอำเกอน่านลาด อำาเกอเมือง คลฮดจนกระจายอยู่ทั่วไปในจังหวัดเพชรบุรี ความอดมสมบูรณ์ด้วยธรรมชาติ ทั้งภูเขา ม่าไม้ และแม่น้ำเหมาะแก่การเพาะปลูกโดยเฉพาะตันตาล เหล่านี้เป็นภาพสะท้อนความผูกพันระหว่างชาวบ้านและต้นตาล ทั้งการทำาอาชีพและอาหารการกินที่สืบทอดกันมาตั้งแต่ร่นปู่ย่าตายาย ต้นตาลหนึ่งต้นจึงไม่ได้มีสถานะเป็นแค่พืชพื้นถิ่นเท่านั้น หากเต็มไปด้วยเรื่องราวประวัติศาสตร์ของชีวิตชาวสวนตาลที่อยู่คู่กับชุมชนมาจนถึงปัจจุบัน
     4. รสเผ็ด จาก พริกกะเหรี่ยง
          แหล่งเพาะปลูกพริกกะเหรี่ยงในพื้นที่อำเภอหนองหญ้าปล้องจังหวัดเพชรบุรี พริกกะเหรี่ยงรูปร่างคล้ายพริกขี้หนู ลักษณะผิวไม่เรียบสม่ำเสมอ มีรสเผ็ดจัด ทั้งเม็ดเรียวยาว เม็ดสั้น และผิวขรุงระเล็กน้อย ฤดูเก็บเที่ยวในช่วงเดือนตุลาคม-มกราคม พริกกะเหรี่ยง หรือชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Capsicum frutescens Linn. เป็นพริกในวงค์เดียวกับพริกขี้หนูอย่าง Solanaceae พริกที่อาจเรียกได้ว่าเผ็ดที่สุดของไทย ความร้อนแรงของมันถูกจัดอันดับไว้ถึง 100,000 สโควิลล์มักปลูกอยู่บริเวณภูมิประเทศที่เป็นที่สูง หรือที่ราบชันด้านตะวันตกแถบเทือกเขาตะนาวศรี ตั้งแต่ เพชรบุรี ประจวบคีรีขันธ์ ขึ้นไปจนกระทั่งถึงอุทัยธานี สุพรรณบุรี จนกระทั่งถึงตาก จะโตเต็มที่หรือมีประสิทธิภาพอย่างเต็มตัวได้ จะต้องอยู่ในภูมิประเทศที่เหมาะสมกับมัน อย่างพริกกะเหรี่ยงก็เหมาะกับพื้นที่สูง อีกทั้งบริเวณแถบนั้นมีกะเหรี่ยงอาศัยอยู่จำนวนมากและมักปลูกพืชพันธุ์เหล่านี้เพื่อเลี้ยงชีพ จึงทำให้เรียกพริกว่า "พริกกะเหรี่ยง"

          โดยชาวจังหวัดเพชรบุรีได้นำวัตถุดิบทั้ง 4 รส มาประกอบอาหารต่าง ๆ ประกอบด้วยประเภทอาหาร ดังนี้

Collection Items

ตลาดนัด : ป้าติ๋ม เต้าหู้ทอดน้ำจิ้มโบราณตำนานเมืองเพชร
หากใครได้ผ่านไปผ่านมาแถวย่านสะพานดำ ที่เมืองเพชรของเราตรงริมทางรถไฟ จะเห็นเพิงขายของเล็ก ๆ ข้างเพิงเรียบง่ายนั้นมีกระทะใบบัวชนาดเขื่อง ตั้งอยู่บนเตาฟินที่เป็นเปลวไฟสีสัมจึงแรงอยู่ข้างทางนั่นละค่ะร้านแม่ติ๋มเต้าหู้ทอดน้ำจิ้มสูตรโบราณที่ไม่เหมือนใคร…

ข้าวแช่
ข้าวแช่ เป็นอาหารที่เหมาะกับฤดูร้อน แก้กระหายได้เป็นอย่างดี นียมทำเป็นอาหารว่างรับประทานในครอบครัว หรือทำบุญเลี้ยงพระในเทศกาลตรุษและสงกรานต์จังหวัดเพชรบุรีมีร้านจำหน่ายข้าวแช่อยู่หลายแห่งในตลาด ซึ่งจะจำหน่ายตลอดทั้งปี ในอดีตนิยมชายข้าวแช่ในวัดมหาธาตุ…

ขนมจีนทอดมันและขนมจีนห่อหมก
ขนมจีนทอดมันและขนมจีนห่อหมก ชาวเพชรบุรีมีวิธีรับประทาน ทอดมันและห่อหมกร่วมกับขนมจีน เรียกว่า ขนมจีนทอดมัน หรือขนมจีนห่อหมก การรับประทานอาหารทั้งสองอย่างนั้น อาจเพิ่มรสชาติโดยเติมอาจาดคือน้ำสัมที่ปรุงรสออกหวาน เค็ม และรสเผ็ดเล็กน้อย ผสมใบผักชี…

ขนมขี้หนู หรือขนมทราย
ขนมขี้หนู หรือขนมทราย เป็นขนมมีชื่อเสียงของจังหวัดเพชรบุรีมาตั้งแต่รัชกาลพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ครั้งนั้นทรงโปรดปรานขนมชี้หนูมากตรัสยกย่องว่าทำได้เก่งและอร่อยกว่าที่ไหนๆ          การทำขนมขี้หนู ต้องอาศัยทักษะและความชำนาญ…

ข้าวตอกน้ำกะทิ
ข้าวตอกนำกะทิ เป็นขนมไทยโบราณ ปัจจุบันหารับประทานได้ยาก นอกจากทำรับประทานเอง เพราะขนมจำพวกน้ำกะทิอย่างอื่นที่มีผู้ทำจำหน่ายมากกว่า เช่น แตงไทยน้ำกะทิลอดช่องน้ำกะทิข้าวโพดน้ำกะทิ เผือกน้ำกะทิ เป็นต้น          วิธีทำข้าวตอกน้ำกะทิ…

ขนมโค
ขนมโค เป็นขนมที่นิยมรับประทานจำหน่ายเท่านั้น ลักษณะคล้ายขนมต้มใส่ไส้อยู่ในน้ำกะทิ ซึ่งทำจาก          วิธีทำขนมโค ให้ใช้แป้งข้าวเหนียวนวดจนได้ด้ที่แล้วจึงห่อไส้ขนมมะพร้าวทึนทึกขูดเป็นเส้นตั้งไฟผัดกับน้ำตาลโตนด จนเนื้อมะพร้าวเหนียวเหมือนทำหน้ากระฉีก…

ข้าวแช่
เป็นซองกินใบฤดูร้อน เป็นชองโบราณคู่กันมากับขนมขี้หนู นิยมทำเลี้ยงพระ แจกลูกหลานและเพื่อนบ้าน ถือว่าเป็เซองกินแล้วนใจ ปีหนึ่งควรจะทำเสียหนหนึ่ง ตำรับข้าวแช่เมืองเพชร นั้น มีข้าวน้ำอบดอกไม้และของที่เป็นกับสำรับกินกับข้าวแช่อีก 3 อย่าง…

อาหารชาติพันธุ์มอญ บ้านบางลำพู อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
อาหารที่จัดแสดง         1) ฮะนางุ่ย (ผัดพริกกุ้ง)         2) เปิ้งมู่ (ข้าวตู)         อาหารที่โดดเด่นสะท้อนอัตลักษณ์ของชุมชนมอญบางลำพู เป็นอาหารประเภทรับประทานร่วมกับข้าว ได้แก่                1) แกงหัวจาก                2) ผัดพริกกุ้ง             …

อาหารชุมชนซอยตลาดริมน้ำ (ชุมชน 100 ปี) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี
1. ชื่อบูธ/หน่วยงาน : ชุมชนซอยตลาดริมน้ำ (ชุมชน 100 ปี) อำเภอเมือง จังหวัดเพชรบุรี2. ผู้ให้ข้อมูล/ผู้ให้สัมภาษณ์ : คุณฐิติมา ศิริเรือง3. อาหารที่จัดแสดง : 1. ขนมอิ่วก้วย 2. ข้าวอบเผือก (โอ่วปึ่ง)4. ลักษณะของอาหารและการปรุง     4.1 ขนมอิ่วก้วย…

อาหารชุมชนถ้ำรงค์ การท่องเที่ยวชุมชนถ้ำรงค์  ยลวิถีถ้ำรงค์
ชื่อบูธ/หน่วยงาน        ชุมชนถ้ำรงค์ การท่องเที่ยวชุมชนถ้ำรงค์  ยลวิถีถ้ำรงค์ ผู้ให้ข้อมูล/ผู้ให้สัมภาษณ์        นายชัชชัย นาคสุข (คุณน้อย) อาหารที่จัดแสดง          1) น้ำสามรส        2) ขันโตกอาหารชุมชน ลักษณะของสินค้า/ผลงาน     …

อาหารชุมชนบ้านไร่กร่าง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อบูธ/หน่วยงาน        ชุมชนบ้านไร่กร่าง อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี ผู้ให้ข้อมูล/ผู้ให้สัมภาษณ์        นายประสงค์ หอมรื่น ผู้ใหญ่บ้านชุมชนบ้านไร่กร่าง สินค้า/ผลงานที่จัดแสดง        1.แกงหลอก        2. บัวลอยโตนดสุก ลักษณะของสินค้า/ผลงาน     …

แฟงเชื่อม
แฟงเป็นพืชท้องถิ่นที่ชาวบ้านนำมาประกอบเป็นอาหารได้ทั้งหวานและคาว เพชรบุรีนิยมนำมาทำเป็นแฟงเชื่อมไว้รับประทานตลอดทั้งปี โดยส่วนผสมที่ใช้ในการทำแฟงเชื่อม มีแฟงแก่จัด ๆ น้ำตาลทราย น้ำ ปูนขาว

ขนมบ้าบิ่น
ชื่อของขนมบ้าบิ่นนี้ ช่างฟังดูน่ากลัวนัก ความจริงขนมนี้อาจจะมีประวัติความเป็นมาของชื่อจากป้าบิน หรือป้าบิ่นก็ได้กระมัง อาจจะเดาไปเรื่อยเปื่อยไปเองนะ เพราะขนมนี้ช่างเอร็ดอร่อยนุ่มปากเนียนฟัน ห่างไกลจากคำว่าบ้าบิ่นเหลือเกิน ส่วนผสมมีแค่ ๕ อย่างดังนี้…

ข้าวเกรียบงาเพชรบุรี
ข้าวเกรียบงาเมืองเพชรบุรีนั้น ทั้งหอม ทั้งอร่อย รับประทานได้ตลอดทั้งวันโดยไม่รู้เบื่อหน่าย ส่วนผสมมี ๕ อย่างดังนี้ ๑. ข้าวกล้องโม่ไม่ทับน้ำ ๑ ลิตร ๒. งาดำคั่วหอม ๑๐๐ กรัม ๓. มะพร้าวหั่นหยาบ ๆ ๑/๒ กิโลกรัม ๔. น้ำตาลโตนดหรือน้ำตาลปึก ๑ กิโลกรัม ๕.…

มะตูมเชื่อมแห้ง
มะตูมเป็นไม้ปลูกง่าย และมีมากมายในเมืองเพชร มะตูมที่เชื่อมที่ดูน่ารับประทาน จะฉ่ำชุ่ม เนื้อละเอียดเนียน เห็นเนื้อแดงใสของมะตูมชัดเจน ไม่มีน้ำตาลเกาะหนาเป็นปึก ส่วนผสมมี ๔ อย่างดังนี้ ๑. มะตูม ๒๐ ผล ๒. น้ำตาลทราย ๗.๕ กิโลกรัม ๓. น้ำ ๑ ลิตร ๔.…

วุ้นเส้นผัดแบบโป๊ยเซียน
เป็นผัดวุ้นเส้นที่ใช้เครื่องปรุงหลายอย่าง ร้านอาหารมักมีผู้สั่งรับประทาน เครื่องปรุงน่าจะมีถึง ๘ อย่าง (โป้ยเซียน) มากหรือน้อยกว่านี้ก็ได้      วิธีทำ ผัดวุ้นเส้นในกระทะตั้งไฟใส่น้ำมันเจียว กระเทียมพอหอม จึงใส่พวกของสดมีเนื้อหมู กุ้ง หมึก ผัดพอสุก…

น้ำปานะ หรือ น้ำอัฐบาล
ปานะ หมายถึง เครื่องดื่มสำหรับพระภิกษุควรแก่การนำมาฉันได้นอกกาล (หลังเวลาเที่ยงวันแล้ว) โดยไม่ผิด วินัยและปรับเป็นอาบัติ น้ำปานะที่จัดเป็นน้ำอัฐบาลตามที่พระพุทธองค์ ทรงมีพุทธานุญาตไว้ มี ๘ อย่าง ดังนี้ คือ      ๑. น้ำมะม่วง           ๒. น้ำชมพู่ หรือ…

แกงคั่วใบมะขามอ่อน
ยามเมื่อใบมะขามอ่อน ผลิแตกระบัดใบออกมาเป็นสีเขียวอ่อนสวยเต็มต้น ชาวบ้านก็จะเอาถุงผ้ามาเหน็บเอวปืนขึ้นไปบนต้นมะขามนั่งบนคาคบ ค่อยๆ ปลิดใบมะขามลงมา แกงส้ม แกงคั่ว รับประทานกัน รสชาติเปรี้ยวนิดๆ ของใบมะขามจะทำให้รสแกงอร่อย และแปลก น่ารับประทาน…

แกงคั่วดอกขี้เหล็ก
แกงคั่วขี้เหล็ก ใช้น้ำพริกแกงเผ็ด แต่ผสมกระชายลงไปด้วย พร้อมปลาย่างเป็นปลาตำน้ำแกง ตั้งไฟ รวนเครื่องแกงให้หอมกับหัวกะทิ เมื่อเข้ากันดีแล้ว จึงเติมดอกขี้เหล็กและใบอ่อนที่ลวกน้ำร้อนจนความชื่นขมน้อยลง พอสุกดีเติมรสเค็ม หวาน ตามชอบ…

ปลาแป๊ะซะ
ปลาแป้ะซะ เป็นชื่ออาหารของจีน ประเภทปลานิ่ง รับประทานกับน้ำจิ้มขณะยังร้อน จัดเป็นอาหารภัตตาคาร มักจะใช้ปลาขนาดโตเต็มจานที่เป็นปลาทะเสโดยมาก
อาหารประเภทนึ่งให้สุก ชาวไทยส่วนใหญ่คงมีทำอยู่ไม่กี่อย่าง และที่มีอยู่ประจำขณะนี้ที่เป็นของกินประเกทนี่ง…
View all 61 items

Collection Tree