โครงการจัดการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ หนองพลับ-กลัดหลวง

Nhongplub-Kladlhuang-01.jpg
Nhongplub-Kladlhuang-02.jpg
Nhongplub-Kladlhuang-03.jpg
Nhongplub-Kladlhuang-04.jpg
Nhongplub-Kladlhuang-05.jpg
Nhongplub-Kladlhuang-06.jpg

Title

โครงการจัดการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ หนองพลับ-กลัดหลวง

Creator

ทวี นวมนิ่ม

Description

          โครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ ตามพระราชประสงค์ “ หนองพลับ-กลัดหลวง ” มีพื้นที่โครงการอยู่ใน ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ และ ตำบลกลัดหลวง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี เป็นแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงเล็งเห็นว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มักทำการเพาะปลูกพืชในช่วงฤดูฝนเท่านั้น ส่วนฤดูแล้งขาดแคลนน้ำปลูกพืชไม่ได้ ทรงมีพระราชประสงค์ทำให้เห็นเป็นตัวอย่างว่า หากมีการกักเก็บน้ำไว้แล้ว สามารถเพาะปลูกพืชได้

          และอีกสาเหตุหนึ่งที่ทรงตั้งโครงการนี้เพราะพบว่า มีราษฎรเป็นจำนวนมากที่ขาดที่ทำกินเป็นหลักแหล่ง ได้บุกรุกทำลายป่าและเข้าครอบครองที่ดินในพื้นที่ของรัฐมากขึ้น ยังไม่สามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรมได้อย่างถาวร ดังนั้นทรงมีพระราชประสงค์ที่จะทดลองดำเนินการโครงการพัฒนาที่ดิน แผนใหม่ ซึ่งรัฐบาลได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายพื้นที่เพื่อจัดตั้งโครงการฯ “หนองพลับ-กลัดหลวง” ให้เป็นแหล่งประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยมีสิทธิ์ครอบครองต่อเนื่องตลอดชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ การซื้อขายที่ดินนั้น

ความเป็นมา          

          โครงการจัดการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ หนองพลับ-กลัดหลวง เกิดจากแนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ที่ทรงพบว่ายังมีราษฎรอีกจำนวนมากที่ขาดที่ดินทำมาหากินเป็นหลักแหล่ง และได้บุกรุกเข้าไปครอบครองที่ดินของรัฐโดยพลการเพิ่มมากขึ้น ซึ่งการกระทำเช่นนี้นอกจากจะเป็นการบุกรุกทำลายป่าไม้ของชาติแล้ว ราษฎรยังไม่สามารถที่จะดำรงชีพโดยการประกอบอาชีพเกษตรกรรมอย่างเป็นการถาวรได้อีกด้วย

          ดังนั้น จึงมีพระราชประสงค์ที่จะทดลองดำเนินโครงการพัฒนาที่ดินแผนใหม่  ซึ่งรัฐบาลได้น้อมเกล้าน้อมกระหม่อมถวายที่ดินของรัฐบริเวณหุบเขา ซึ่งมีอาณาบริเวณติดต่อกันระหว่างจังหวัดประจวบคีรีขันธ์และจังหวัดเพชรบุรี ให้เป็นแหล่งที่เกษตรกรสามารถประกอบอาชีพเกษตรกรรม โดยให้สิทธิครอบครองคงอยู่ชั่วลูกชั่วหลาน แต่ไม่มีกรรมสิทธิ์ในที่ดินนั้นๆ ทรงมีรับสั่งให้ หม่อมเจ้าภีคเดชรัชนี ติดต่อกรมพัฒนาที่ดินให้เข้าดำเนินการสำรวจดิน จำแนกสมรรถนะที่ดิน รวมทั้งสำรวจภาวะเศรษฐกิจและสังคมของราษฎรในท้องที่ดังกล่าว เมื่อปี 2513 โดยมีพระราชกระแสให้ดำเนินการแบ่งพื้นที่ออกเป็น  2  ส่วน 

          ส่วนแรก  พื้นที่มีความอุดมสมบูรณ์ดี เหมาะในการเพาะปลูกให้จัดการพัฒนาที่ดินให้ราษฎร

          ส่วนที่สอง  ดินไม่เหมาะสมในการเพาะปลูก ให้พัฒนาเป็นที่เลี้ยงสัตว์ ที่ดินที่พัฒนาแล้วและจัดสรรให้ราษฎรเข้าอาศัยอยู่ และประกอบอาชีพนั้นมีพระราชประสงค์ จะยังไม่ให้กรรมสิทธิ์ที่ดินแต่ให้สหกรณ์ดูแล เมื่อกิจการสหกรณ์เจริญขึ้นให้จัดตั้งเป็นสหกรณ์เอนกประสงค์ ให้ราษฎรในโครงการฯ เลือกคณะกรรมการขึ้น ทำหน้าที่ปกครองดูแลการประกอบอาชีพให้บังเกิดผล โดยรับคำแนะนำทางวิชาการจากเจ้าหน้าที่ของส่วนราชการที่เกี่ยวข้องในงานแต่ละด้านให้กันบริเวณโครงการฯ เนื้อที่ประมาณ 500 ไร่ เพื่อตั้งเป็นศูนย์โครงการจัดการพัฒนาที่ดินฯ ทำหน้าที่เป็นสื่อกลางประสานงานระหว่างราษฎรในโครงการฯ กับส่วนราชการต่างๆ ช่วยเหลือราษฎรในโครงการฯ ค้นคว้าทางวิชาการ รวมทั้งผลิตพันธุ์พืชเพื่อสนับสนุนโครงการฯ และราษฏรในจังหวัดใกล้เคียง

          วันที่ 19 กันยายน 2515 กรมพัฒนาที่ดินจึงได้ทำเรื่องเสนอต่อคณะกรรมการจำแนกที่ดินแห่งชาติ เพื่อพิจารณาถอนสภาพที่ดินป่าสงวน โดยกระทรวงมหาดไทยได้ออกประกาศ มอบหมายให้ กรมพัฒนาที่ดินจัดหาผลประโยชน์ในที่ดินของรัฐให้เป็นไปตามพระราชประสงค์ ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 89 ตอนที่ 149 ลงวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2521

          วันที่ 17 มีนาคม 2529 ณ พระตำหนักจิตรดารโหฐาน ทรงมีพระราชดำรัสในการพระราชทานสัมภาษณ์แก่ เลขาธิการ กปร. และผู้บริหาร กปร. เกี่ยวกับโครงการฯ หนองพลับ สรุปได้ว่า โครงการตามพระราชประสงค์หนองพลับ จัดทำขึ้นเมื่อเห็นว่ามีพื้นที่ที่จะเพาะปลูกได้แม้จะเป็นพื้นที่ดินแห้งแล้งก็ตามและในท่ามกลางความเชื่อที่ว่า ฤดูแล้งไม่ใช่ระยะการเพาะปลูกก็ตาม ทรงได้พระราชทานคำแนะนำให้สร้างอ่างเก็บน้ำไว้ใช้เพื่อการเกษตรยามเมื่อฝนทิ้งช่วง ซึ่งเป็นผลให้ทรงพอพระราชหฤทัยที่ทรงพบว่า “...หน้าแล้งก็ยังทำได้ ยังทำกินได้ ”

          ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งคณะกรรมการบริหารโครงการฯ โดยมีหม่อมหลวงเดช สนิทวงศ์ องคมนตรีเป็นประธานและต่อมาในระหว่างปีพุทธศักราช 2522-2537 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ศาสตราจารย์ ดร.ประกอบ หุตะสิงห์ องคมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการบริหาร โครงการฯ ปัจจุบัน ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ฯพณฯ พลอากาศเอกกำธน สินธวานนท์ องคมนตรี เป็นประธานคณะกรรมการบริหารโครงการฯ

วัตถุประสงค์           

  1. เพื่อนำทรัพยากรธรรมชาติมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในด้านการผลิตสูงสุด
  2. เพื่อส่งเสริมให้ราษฏรมีที่ดินทำกิน และอยู่อาศัยตลอดไป
  3. เพื่อส่งเสริมให้ราษฏรรู้จักช่วยตนเองและได้ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน ในทางที่เกิดประโยชน์แก่ตนเองและส่วนรวม ทั้งทางเศรษฐกิจและสังคม

พื้นที่ดำเนินการ

          โครงการฯ นี้ตั้งอยู่ในท้องที่ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์, ตำบลห้วยทรายเหนือ อำเภอชะอำ และตำบลกลัดหลง อำเภอท่ายาง จังหวัดเพชรบุรี ค่าพิกัด X = 572953-579240 Y = 1391662-1410741 ในระบบ WGS 84 บนแผนที่ประเทศไทย มาตราส่วน 1 : 50,000 ลำดับชุด L7018 ระวาง 4934 I, II, III, IV พื้นที่ประมาณ 65,000 ไร่ ได้แบ่งพื้นที่ดำเนินการออกเป็น 2 ส่วน บริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จะนำมาจัดให้แก่ราษฎรเพื่อการเลี้ยงปศุสัตว์ต่อไป

หน่วยงานรับผิดชอบ     

          ศูนย์ปฏิบัติการโครงการจัดการพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับ-กลัดหลวง ตำบลหนองพลับ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โทร 0-3257-1138 โทรสาร. 0-3252-8015

ผลการดำเนินงาน 

          งานโครงการฯ (งานจัดที่ดิน) จัดที่ดินแก้ไขข้อพิพาทป้องกันการบุกรุกที่ดินของสมาชิกโครงการฯ สนับสนุนและแก้ไขปัญหา ตรวจสอบเขตและรังวัดที่ดิน

          งานพัฒนาที่ดิน กิจกรรมสนับสนุนโครงการพัฒนาที่ดินอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ได้แก่  จัดทำระบบอนุรักษ์ดินและน้ำ, สาธิตการใช้ปุ๋ยพืชสด, ส่งเสริมการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพ , ปรับปรุงพื้นที่ดินกรด ก่อสร้างและซ่อมแซมเส้นทางลำเลียง , ขุดลอกบ่อตักตะกอน , สาธิตการทำการใช้ปุ๋ยหมัก (วังไกลกังวล, วังฤดีวนาลัย) , รณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อปลูก  และรณรงค์และส่งเสริมการปลูกหญ้าแฝกเพื่อแจกจ่าย

การประกอบอาชีพของสมาชิก 

          อาชีพหลัก คือ เกษตรกรรม ไดแกการทําพืชไร เชน สับปะรด ออย ขาวโพดเลี้ยงสัตว ฝาย ฯลฯ การเพาะปลูกอาศัยน้ําฝนธรรมชาติ 

สหกรณที่อยูในความดูแลสงเสริม จํานวน 2 สหกรณ คือ 

  1. สหกรณการเกษตรหนองพลับรุงเรือง จํากัด อ. หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ 
  2. สหกรณการเกษตรกลัดหลวง จํากัด อ.ทายาง จ.เพชรบุรี

Subject

โครงการพระราชดำริ
หนองพลับ
การเกษตร
การจัดสรรที่ดิน
กลัดหลวง

Coverage

เพชรบุรี

Publisher

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี

Date

7 มี.ค. 2565

Type

text

Format

application/web

Language

tha

Relation

รายการอ้างอิง

  • กรมพัฒนาที่ดิน. (ม.ป.ป.). โครงการพระราชดำริของพระบาทสมด็จพระเจ้าอยู่หัว: โครงการพัฒนาที่ดิน หนองพลับ-กลัดหลวง. สืบค้น 12 มกราคม 2565 จาก http://www1.ldd.go.th/web_kingproject/Project_025.htm
  • จังหวัดเพชรบุรี.  (ม.ป.ป.).  โครงการอ่างเก็บน้ำห้วยผาก อันเนื่องมาจากพระราชดำริ.  สืบค้น 12 มกราคม 2565, จาก http://www.phetchaburi.go.th/data/kingproject/project_3.html 
  • สำนักงาน กปร.. (2562). องค์ความรู้เรื่อง "โครงการหนองพลับ-กลัดหลวง". สืบค้น 12 ม.ค. 2565. จาก http://km.rdpb.go.th/Knowledge/View/110 
  • ศูนย์วิจัยและข้อมูลท้องถิ่นทางธุรกิจ. (2549). การศึกษาสภาพเศรษฐกิจ สังคม และภาวะหนี้สินครัวเรือน ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรหนองพลับรุ่งเรือง จำกัด ในพื้นที่โครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์หนองพลับกลัดหลวง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : ศูนย์วิจัยและข้อมูลท้องถิ่นทางธุรกิจ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. http://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=52137 

วีดีโอที่เกี่ยวข้อง

  • True Inside HD. (2560). โครงการพระราชดำริ ตอนที่ 39 : โครงการจัดพัฒนาที่ดินฯ หนองพลับ-กลัดหลวง. สืบค้น 12 ม.ค. 2565. จาก https://www.youtube.com/watch?v=hdI_9FshXhU 
  • กรมพัฒนาที่ดิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์. (2558). กรมพัฒนาที่ดิน-ศูนย์-โครงการพัฒนาที่ดิน ตามพระราชประสงค์ หนองพลับกลัดหลวง. สืบค้น 12 ม.ค. 2565. จาก https://www.youtube.com/watch?v=ee2enp4W0Eo 
  •  อนุธิดา นกงาม. (2560).  โครงการจัดพัฒนาที่ดิน ตามพระราชประสงค์ หนองพลับ-กลัดหลวง. สืบค้น 12 ม.ค. 2565. จาก https://www.youtube.com/watch?v=v8cG-qlfMzs 
  • อนุธิดา นกงาม. (2560).  โครงการพัฒนาที่ดินฯตามพระราชประสงค์หนองพลับ กลัดหลวง. สืบค้น 12 ม.ค. 2565. จาก https://www.youtube.com/watch?v=aiE5VmGFNk0
  • กรมพัฒนาที่ดิน แชนแนล LDD Channel. (2563). 1 หนองพลับ–กลัดหลวง. สืบค้น 12 ม.ค. 2565. จาก https://www.youtube.com/watch?v=JdY8ir74LXM   

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย

Geolocation