เหนือฟ้า : ทำไมโกงกันเยอะจัง?

43-1002-25650502-01.jpg

Title

เหนือฟ้า : ทำไมโกงกันเยอะจัง?

Creator

มนู อุดมเวช

Description

สำหรับประเทศไทย เราได้ยินมาแต่ไหนแต่ไรว่านักการเมือง โกงกินกันมากมายจนประเทศแทบจะล่มจม การทุจริตเป็นพัน ๆ ล้านนั้นเราได้ยินได้ฟังอยู่บ่คย ๆ และอดคิดไม่ได้ว่า ทำไมถึงทำกันได้อย่างนั้น? โครงการใหญ่ ๆ เช่น ถนนหนทาง ระบบชลประทาน การจัดซื้ออาวุธ การจัดหาเครื่องบิน ฯลฯ เมื่อถูกคนโกงดึงเงินไปเป็นพันล้านแล้ว เนื้องานจะเหลืออะไร? ถ้าไม่ทุจริตไม่ได้หรือ? แน่นอนที่สุด ถ้าไม่ทุจริตคดโกงกันอย่างที่ผ่าน ๆ มา ประเทศนี้จะต้องรุ่งเรืองมากมายไปกว่านี้อีกเยอะ ม.ร.ว.คีกฤทธิ์ ปราโมช เคยกล่าวไว้ว่า ถ้าไม่มีการทุจริตคอร์รัปชัน ถนนในประเทศไทยก็จะปูด้วยทองคำไปแล้ว เพราะประเทศนี้ทุจริตกันมากเหลือเกินถ้าทุจริตกันมากมายอย่างนั้น ให้ชาวบ้านธรรมดา ไปบริทารงานไม่ดีกว่าหรือจะได้ไม่ต้องมีโกงกินกันอย่างนักการเมืองที่เราอุตส่าห์เลือกเข้าไป เมื่อคิดถึงขาวบ้านธรรมดา ๆ ก็ต้องหันมาดูกันหน่อยว่า ทุกวันนี้ ในวงการ "ชาวบ้านธรรมดา ๆ" มีแนวโน้มเรื่องทุจริตคอร์รัปชันอย่างไรบ้าง? แล้วหลายคนที่คาดไม่ถึง ก็ต้องตกใจ เมื่อแล้วหลายคนที่คาดไม่ถึง ก็ต้องตกใจ เมื่อเห็นว่า องค์กรชุมชนต่าง ๆ ที่ดำเนินงานโดย
ภาคประชาชน หรือชาวบ้านธรรมดา ๆ กำลังประสบปัญหาการทุจริตคดโกงกันมาก เรื่องการทุจริตหรือคดโกงมีเป็นที่ประจักษ์ไม่น้อยเลยในหลายแห่ง เช่น หกรณ์ออมทรัพย์ ร้านค้าชุมชน สหกรณ์เครคิต ตลอดจนโครงการอบรมต่าง ๆ ซึ่งดำเนินการ โดยภาคประชาชน วิธีการทุจริต หรือโกง มีหลายรูปแบบมากมีตั้งแต่ ยักยอกเงินไปจากบัญชี แต่แสวังทำเป็นว่าปัญชียังปกติดี จัดซื้อจัดหาจากพรรคพวกของตน หรือขอยืมชื่อคนที่ตนรู้จักมาจัดการทำเบิกในเรื่องต่าง แต่เงินกลับมาเข้ากระเป๋าผู้เป็นต้นเรื่องเอง โดยมักได้ของที่จัดซื้อในราคาเกินจริง เบิกเงินไปจัดซื้อจัดจ้าง โดยที่ไม่มีการซื้อจริง ไม่มีการจ้างจริง กู้หรือขอยืมเงินออกจากองค์ทรแล้วไม่คืน และทำเสมือนซื้อวัสดอุปกรณ์มาใช้ในงาน แต่เอาข้าวของเหล่านั้น (หรือเปลี่ยนจากของที่ควรใช้ในงานเป็นของอื่น) แล้วเอาไปใช้ในเรื่องส่วนตัว ฯลฯ เรื่องที่ประชาชนเป็นผู้ดำเนินงานองค์กร หรือโครงการ และเกิดทุจริตจนล้มคว่ำ เป็นที่ประจักษ์ชัด แล้วเกิดการฟ้องร้องหาผู้ผิด ตามเรียกค่าเสียหาย มีให้เห็นอยู่มากทีเดียว นั่นก็เป็นส่วนหนึ่ง อีกส่วนหนึ่งซึ่งน่าสนใจไม่น้อยกว่า คือการทูจริตที่ยังไม่ได้ทำให้งานล้มคว่ำ แต่ทำให้เกิดผลงานไม่ได้เต็มที่เท่าที่ควรจะเป็น
เช่น โครงการซึ่งมีงบประมาณ หรือมีเงินลงทุนมา 40,000 บาท ถ้าผู้ดำเนินโครงการ หรือ ผู้บริหารองค์กรทุจริตไปเสีย 1,000 บาท ย่อมจะไม่ทำให้งานล้ม แต่ทำให้งานไม่งอกงามเต็มที่ เกิดประโยชน์น้อยกว่าที่ควรจะเป็นลักษณะการทุจริตแบบไม่ทำให้องค์กร หรืองานล้มนี้ มีมากเสียจนกระทั่งหลายคนเทีนเป็นเรื่องธรรมดา และคิดว่า ดึงเงิน ออกมาเพียงแค่ 1,000 นั้นใคร ๆ เขาก็ทำกัน ไม่ใช่เรื่องเสียหาย ในเมื่อยังเหลืออีกตั้ง 34.000 ไว้ทำงานต่อไปอีกครับ เท่าที่เห็นกันมาหลายคนคิดอย่างนั้น แต่ถ้าเราคิดต่อไปว่าถ้างานภาดประชาชน มีเงิน 40,000 บาท ถูกตึงไปใช้ส่วนตัว เสีย 1.000 บาท ถือเป็นเรื่องไม่เสียหาย แล้วบัญญัติไตรยางศ์นี้ใช้กับงานภาครัฐบางเรื่อง ที่ใช้เงิน 40,000 ล้านบาท ถูกนักการเมืองตึงไปเป็นของส่วนตัวเสีย 1,000 ล้านบาท ก็ต้องไม่เสียหายนะ ทั้งหมดนี้ จะเห็นว่า เริ่มจากประชาชนคนไทยเราเห็นการทุจริตเป็นเรื่องธรรมดา ทำให้เอาเงินของชาติ เข้ากระเป๋าตัวเอง 1,000 ล้านบาท เป็นเรื่องธรรมดา!

Subject

ทุจริต
คอรัปชั่น
การเมืองการปกครอง

Source

เพชรภูมิ. ปีที่ 43, (ฉบับที่ 1002). 2 พฤษภาคม 2565. หน้า 11.

Publisher

เพชรบุรี: เพชรภูมิการพิมพ์.

Date

2 พฤษภาคม 2565

Type

บทความจากหนังสือพิมพ์

Format

images/text

Language

tha

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น