ตำนานเมืองเพชรบุรี ฉบับ สมุดราชบุรี ๒๔๖๘

PhetTamnan-Map.jpg
spd_2012120205656_b.jpg
PhetTamnan-01.jpg

Title

ตำนานเมืองเพชรบุรี ฉบับ สมุดราชบุรี ๒๔๖๘

Creator

ทวี นวมนิ่ม

Description

          จังหวัดเพชรบุรี ตั้งขึ้นแต่ครั้งใดไม่ทราบแน่นอน การตั้งนครเพชรบุรียุคนี้กล่าวกันว่า แรกเริ่มเดิมที่ตั้งอยู่ที่ระหว่างเขามใหสวรรค์ ซึ่งชาวเราเรียกว่า เขามหาสว่รรค์ (เขาวังเดี๋ยวนี้) และเขาบรรใดอิฐภายหลังย้ายเมืองมาตั้งฝั่งตะวันออกของแม่น้ำ นครเมืองยุคนี้อยู่ด้านตะวันออกเฉียงใต้ ห่างเมืองน็ออกไปมาก มีหลักฐานยังคงอยู่เดี๋ยวนี้คือ บ้านนาหัววังแห่งหนึ่ง แต่ท้ายวังจะจรดเพียงไหนสึบไม่ทราบ และยังมีบ้านสะพานช้างอีกแห่งหนึ่ง ซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงใด้ของที่ว่าราชการจังหวัด เดี๋ยวนี้ เป็นที่แสดงว่า สะพานนั้นข้ามลำแม่น้ำอีกแห่งหนึ่งซึ่งเป็นทางเข้าเมือง และยังมีวัดอีกวัดหนึ่งเรียกว่าวัดแรกตั้งอยู่ฝั่งคลองแม่น้ำ วัดเกาะน่าจะเป็นวัดกลางเมืองก็เป็นได้ จะเป็นแรกสร้างเมืองแรก และมีวัดในเมืองหรือเป็นวัดสำหรับตั้งพระราชพิธีแรกนาก็แล้วแต่จะมีพยานเมืองครั้งที่ ๒ นี้ต้องถือเอาวัด เป็นหลัก คือธรรมดาบ้านเมืองเมืองเจริญรุ่งเรืองแล้วมักสร้างวัดขึ้นเพื่อบำเพ็ญบุญกุศล เพราะฉนั้น จึงมีวัดตั้งแต่ วัดเกาะ วัดจันทร์ วัดเกษ วัดกก วัดเลา ฯลฯ เป็นลำดับตั้งเรียงตามถนนไปหลายวัดทำนองอย่างเดียวกับวัดผึ้งตะวันตกนั้น

          การตั้งเมืองยุกที่ ๓ จะกล่าวว่าถ้ำน้ำทางสะพานช้างแห้งไป หรือลำน้ำในเมืองแห้งขาดคราวฤดูก็ตาม หรือไขยภูมิต้องจำเป็นต้องเปลี่ยนแปลงไปก็ตาม ครั้งที่ ๓ นี้คือ มีกำแพงตั้งแต่ประตูเมืองด้านใต้ที่เรียกว่าศาลเจ้า ประตูเมืองเดี๋ยวนี้ยันไปทางวัดบ้อม ซึ่งมีป้อมอยู่ตรงกัน จะเป็นวัดภายหลังหรือเก่าก็ไม่ทราบ แล้ววกลงทางด้านตะวันออกยืนออกไปแถบวัดไตรโลกย์ ย่านกำแพงมีประตูเรียกว่าประตูบางจาน ซึ่งเป็นหนทางไปบ้านบางจาน แล้วโอบมาด้านเหนือ ตกคลองกระแชง มีประตูเรียกว่าประตูกลองกระแชง หอคอยทอรบทั้งสอง ในพระราชพงศาวดารครั้งเขมรยกทัพข้ามทะเลมาติดเมือง เมื่อ พ.ศ. ๒๑๐๕ (ทำนองเมื่อครั้งนั้นที่จะข้ามแม่น้ำๆ แล่นกลางจึงชื่อคลองกระแชง) ตามจริงตัวเมืองกว้างยาวอยู่มาก แต่จะมีประตูบ้อมมากน้อยเท่าใดไม่ทราบแน่นอน

          จังหวัดเพชรบุรี ยุคท้ายนี้ ยังมีเค้ามีกำแพงเมืองเป็นพยานอยู่คะเนได้ว่าเมืองเป็นรูป ๔ เหลี่ยม ซึ่งปรากฎกำแพงด้านตะวันออกยาวไปจรดกำแพงทิศใด้ ซึ่งเรียกว่าประตูเมืองในทุกวันนี้ขึ้นไปจรดด้านตะวันออกทางวัดป้อม คลองวัดเกาะอย่ทิศใต้ของกำแพงต้องเป็นคูเมือง กำแพงด้านใต้ไปต่อกับคูเมืองทางกำแพงด้านตะวันออก "แล้วเลียบทางกำแพงมาทางน่าวัดใหญ่ไปจรดคลองกระแชงตรงนี้ถ้าจะคะเนให้เท่ากันกับตะวันออกระยะ ๕๐ เส้น ก็ต้องข้ามฟากถึงวัดชีสอินทร์ไปวัดแก่นเหล็ก วัดยางแล้วจึงวกลงที่ช่อง เมืองก็ต้องล้อมแม่น้ำ แม่น้ำนี้จะนับว่าเป็นดูเมืองต้านตะวันตกยังไม่ได้ คูเมืองจะต้องยาวออกไปวัดแก่นเหล็ก เรื่องคูเมืองนี้ผู้เฒ่าได้กล่าวถึงคูป้อมและหอรบ ประตูเมืองจะเป็นยุคแรกหรือยุดท้ายอาจจะเคลือบไปก็ได้ ตัวเมืองถ้าเป็นรูปสี่เหลี่ยมจะต้องมีประตูใหญ่ ๔ ประตูตามแบบโบราณประตูบางจานด้านกำแพงตะวันออกอยู่ย่านกลาง ซึ่งยังมีเค้าปรากฎอยู่เดี๋ยวนี้ ประตูคลองกระแชงก็จะต้องกั้นอยู่กลางกำแพง (ปรากฎตามพงศาวดารว่าเขมรยกเข้าตีตามรูปกำแพงเมืองไม่ได้ เพราะอยู่ย่านกลางกำแพง เรียกว่าประตูคลองกระแชง ตั้งอยู่ฝั่งฟากแม่น้ำตะวันตก) ซึ่งเรียกว่าคลอกระแชงทุกวันนี้ ประตูด้านเหนือนั้นไม่ได้เค้าว่าตั้งอยู่ที่ไหนระยะเท่าใด แต่ประตูด้านใต้นั้นตั้งอยู่ศาลเจ้าหลักเมืองด้านท่าช่อง ซึ่งเรียกว่าประตูเมืองทุกวันนี้ ก็ห่างระยะตามยาวกำแพงไปจรดด้านตะวันออกลักษณะประตูเมืองจะไม่ใช่มีแต่ ๔ ประตู คงจะเป็น ๘ ประตู จึงจะสมกับรูปประตูทุกวันนี้

          แต่ตามทางสันนิษฐาน กำแพงเมืองเพชรบุรีคงไม่ข้ามแม่น้ำเป็นแน่นอน ถ้าข้ามแม่น้ำต้นโพธิ์ประตูเมืองเดี๋ยวนี้คงจะอยู่ที่นั่นไม่ได้ ตามความเข้าใจ กำแพงเมืองที่ยื่นมาตามทางทิศตะวันออกคงจะจรดแม่น้ำ ทิศตะวันตกเคียงบ้านพระยาสุรพันธ์ (เทียน บุนนาค) เดียวนี้ แล้วหักตรงไปทางศาลเจ้า ประตูเมืองที่มีต้นโพธิ์อยู่เดียวนี้ ตรงไปทิศใต้จนถึงศาลเจ้าหน้าวัดเกาะ แล้วหักตรงไปทางทิศตะวันออกถึงวัดป้อม ซึ่งมีมูลดินเค้าป้อมอยู่จนทุกวันนี้ วัดเกาะเดิมน่จะเป็นเกาะอยู่ที่นั่น ที่ตรงด้านเหนือของวัดที่มีฐานอยู่เดี๋ยวนี้ก็มีรางปรากฎคล้ายคลองเก่า ถ้าจะสันนิษฐานก็คงจะออกที่วัดป้อมทะลุออกคลองวัดเกาะที่ปรากกูอยู่เดี๋ยวนี้ ตามพงศาวดารที่กล่าวว่า เขมรตีเมืองเพชรบุรีตีหักเข้าทางกำแพงด้านคลองกระแชงนั้น คงตีที่ตรงบ้านพระยาสุรพันธ์ (เทียน บุนนาค) ยังเรียกว่าบ้านกำแพงหักอยู่จนทุกวันนึ้

Subject

ตำนาน
ประวัติศาสตร์ -- เพชรบุรี
เพชรบุรี
เพชรบุรี -- ประวัติศาสตร์
เพชรบุรี -- ตำนาน

Coverage

เพชรบุรี

Date

07/05/2564

Format

Text/html

Language

tha

Relation

  • สมบูรณ์ แก่นตะเคียน, บรรณาธิการ. (2525). สมุดเพชรบุรี 2525. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์. เลขหมู่ 915.9304พบ พ875ส. http://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=25657 
  • ฉลอง สุนทราวาณิชย์, บรรณาธิการ. (2550). สมุดราชบุรี พ.ศ. 2468. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ : สมาคมมิตรภาพญี่ปุ่น-ไทย. เลขหมู่ 915.93 ส314. http://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=52391

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย