แนวป้อมเมืองเก่า เพชรบุรี : สรุปผลเบื้องต้นการขุดตรวจสอบทางโบราณคดี

Chiranan-01.jpg
Chiranan-02.jpg
Chiranan-03.jpg
Chiranan-04.jpg
Chiranan-05.jpg
Chiranan-06.jpg
Chiranan-07.jpg
Chiranan-08.jpg
Chiranan-09.jpg
Chiranan-10.jpg
Chiranan-11.jpg
Chiranan-12.jpg
Chiranan-13.jpg
Chiranan-14.jpg
Chiranan-15.jpg
Chiranan-16.jpg
Chiranan-17.jpg

Title

แนวป้อมเมืองเก่า เพชรบุรี : สรุปผลเบื้องต้นการขุดตรวจสอบทางโบราณคดี

Creator

จิรนันท์ คอนเซพซิออน

Contributor

กลุ่มโบราณคดี สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี

Description

สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี โดยกลุ่มโบราณคดี ได้ดำเนินการขุดตรวจทางโบราณคดีเพื่อหาร่องรอยหลักฐานเกี่ยวกับกำแพงเมืองเพชรบุรี รวมระยะเวลา 27 วัน บริเวณที่ดำเนินการขุดตรวจอยู่ในพื้นที่ครอบครองของเอกขน คือ ครอบครัวบุญวานิข มี ดร.จันทิมา บุญวานิช เป็นผู้จัดการมรดก
          จากการตรวจสอบบริเวณพื้นผิวดินพบเศษอิฐ ศิลาแลง และเศษภาชนะดินเผากระจายตัวอยู่โดยทั่วไป การกำหนดพื้นที่ขุดตรวจได้เลือกบริเวณพื้นที่ติดถนนมีลักษณะเป็นเนินลาดเอียงไปทางทิศตะวันออกขนาดพื้นที่ขุดคันมีขนาด 10 x 10 เมตร ซึ่งต่อมาได้พบหลักฐานเพิ่มเติมจึงขยายพื้นที่ออกไปอีกรวมเป็น 20 x 20 เมตร

ร่องรอยเมืองเพชรบุรีในปัจจุบัน
          ร่องรอยเมืองเพชรบุรี บริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเพชรบุรีนี้ เป็นเมืองเก่า สันนิษฐานว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยวัฒนธรรมเขมรโบราณด้วยสักษณะของเมืองเป็นผังรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัสกว้างยาวด้านละประมาณ 1 กิโลเมตร โดยแนวกำแพงเมืองที่ปรากฎแนวอยู่ในปัจจุบันคือ ถนนพาณิชย์เจริญ (ด้านทิศตะวันตก) ถนนท่าหิน (ด้านทิศใต้) ถนนพงษ์สุริยา (ด้านทิศเหนือ) และถนนสูง คือกำแพงด้านทิศตะวันออกหลักฐานยืนยันที่สำคัมของเมืองเพชรบุริในสมัยวัฒนธรรมเขมรนี้คือปราสาทขอมวัดกำแพงแลงในปัจจุบัน โดยเมืองนี้มีนามว่า ศรีชัยวัชรบุรี ตามที่ปรากฎในจาริกปราสาทพระขรรค์ ซึ่งพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ทรงประดิษฐานพระชัยพุทธมหานาถไว้ที่หัวเมือง 23 แห่ง ดังนั้น เมืองเพชรบุรีโบราณนี้จึงมีผู้คนอยู่อาศัยมาไม่ต่ำกว่าพุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว
          ที่มาของชื่อ ถนนสูง มีที่มาจากลักษณะความสูงของถนน ที่เล่ากันว่าเวลาใช้เส้นทางนี้จะต้องเดินขึ้นเนินสูงราวครึ่งเสาไฟฟ้า สภาพแวดล้อมมีต้นสะแก้ขึ้นปกคลุม 2 ข้างทาง ตรงกลางช่องเปิดโล่งมองทะลุได้ตลอดแนวจึงเป็นที่มาของชื่อตำบลช่องสะแกต่อมาในปี พ.ศ.2473 เกิดเพลิงไหม้ครั้งใหญ่ในตลาดเพชรบุรึจึงมีการนำอิฐ และดินบริเวณถนนสูงนี้ไปปรับถมที่พื้นที่ในตลาดและบริเวณอื่นๆ จนระดับความสูงของถนนเหลือเท่าที่เห็นในปัจจุบัน

หลักฐานที่ค้นพบการขุดตรวจทางโบราณคดี
          บริเวณที่ทำการขุดตรวจเป็นพื้นที่ต่อเนื่องจากถนนสูงปัจจุบันอยู่ในความครอบครองของเอกชน มีลักษณะเป็นเนินดินที่ยังไม่ถูกรบกวนจากกิจกรรมในปัจจุบันและพบเศษอิฐ เศษก้อนศิลาแลง และเศษภาชนะดินเผากระจายตัวอยู่บนพื้นผิว ผลการขุดตราจตลอด ๒ส วันพบร่องรอยหลักฐานสิ่งก่อสร้างที่สันนิษฐานว่าเป็นส่วนหนึ่งของ "ป้อม"ที่ยื่นออกมาจากแนวกำแพงและวางตัวเอียง 4ํ องศา มีขนาดความยาวไม่ต่ำกว่า 2 เมตร หนาประมาณ 8 เมตร มี "เอ็น" (โครงสร้างส่วนเสริมความมั่นคงส่วนฐานราก) ขนาดความหนา 5 เซนติเมตร จำนวน 2 แนว
          การขุดตรวจครั้งนี้จำเป็นต้องหยุดดำเนินการก่อนเนื่องจากส่วนของป้อมยืนเข้าไปจนสุดริมรั้วซึ่งเป็นพื้นที่ของเอกชนรายอื่น สำหรับหลักฐานอื่นที่ได้จากการขุดตรวจ พบเศษภาชนะดินเผาจำนวนหนึ่งส่วนใหญ่เป็นภาชนะดินเผาเนื้อดิน และเศษภาชนะดินเผาเครื่องถ้วยจีนอีกเล็กน้อย ซึ่งขณะนี้สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรีกำลังดำเนินการวิเคราะห์รวมถึงการนำตัวอย่างอิฐที่ได้ไปหาค่าอายุทางวิทยาศาสตร์เพื่อจะได้ทราบช่วงอายุของการก่อสร้างป้อมแห่งนี้

พื้นที่ดำเนินการ
          บริเวณพื้นที่ริมถนนกำแพงเมืองเก่า ต.ช่องสะแก อ.เมือง จ.เพชรบุรี

ระยะเวลาดำเนินการ
          วันที่ 15 มิถุนายน - 11 กรกฎาคม พ.ศ.2562

ผู้ปฏิบัติงาน
  1. นางจิรนันท์ คอนเซพซิออน นักโบราณคดีชำนาญการ (หัวหน้าโครงการฯ)
  2. นางสาวกรรณิการ์ เปรมใจ นักโบราณคดีชำนาญการ
  3. นางสาวจารุวรรณ แย้มพราย ผู้ช่วยนักโบราณคดี
  4. นายจุลเกียรติ ไพบูลย์เกษม ผู้ช่วยนักโบราณคดี
  5. นางสาวชนัญชิตา กิจโฉ ผู้ช่วยนักโบราณคดี
  6. นางสาวพิมพ์นารา ปกรณ์ศิริกุล ผู้ช่วยนักโบราณคดี
  7. และลูกจ้างขุดค้นทางโบราณคดีชั่วคราวภายในท้องถิ่น

Subject

โบราณคดี
ประวัติศาสตร์ -- เพชรบุรี
กำแพงเมือง
ป้อม
เมืองเก่า

Coverage

เพชรบุรี

Source

กลุ่มเผยแพร่ฯ กรมศิลปากร. (2563). แนวป้อมเมืองเก่า เพชรบุรี : สรุปผลเบื้องต้นการขุดตรวจสอบทางโบราณคดี. สืบค้น 12 ม.ค. 2566 จาก http://www.facebook.com/prfinearts

Publisher

สำนักศิลปากรที่ 1 ราชบุรี

Date

26 ต.ค. 2563 (เผยแพร่)

Type

Still image

Format

Image/jpg

Language

tha

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น