การแสดงเดินแบบของภูษาผ้าลายอย่าง ในงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์ครั้งที่ 11

01-การเดินแบบผ้าลายอย่าง-01.jpg
01-การเดินแบบผ้าลายอย่าง-02.jpg
01-การเดินแบบผ้าลายอย่าง-03.jpg
01-การเดินแบบผ้าลายอย่าง-04.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-01.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-02.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-16.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-17.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-18.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-19.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-03.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-04.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-05.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-06.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-10.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-11.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-12.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-13.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-14.jpg
01-การแสแดงประกอบการเดินแบบผ้าลายอย่าง-15.jpg

Title

การแสดงเดินแบบของภูษาผ้าลายอย่าง ในงานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์ครั้งที่ 11

Creator

ธนิต พุ่มไสว

Description

การแสดงเดินแบบของภูษาผ้าลายอย่าง ในงาน มหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์ครั้งที่ 11
          ภูษาผ้าลายอย่าง ตั้งใจนำเสนอลายผ้าเกาะแก้วสุธารมณ์ และลายเกาะแก้วสุมามาลย์ ผลงานวิจัย ในโครงการวิจัย “การขับเคลื่อนศิลปะและวัฒนธรรมในย่านเมืองเก่าเพชรบุรี” โดย ภูษาผ้าลายอย่าง ร่วมกับสถาบันอาศรมศิลป์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี ภายใต้การสนับสนุนของ หน่วยบริหารและจัดการทุนด้านการพัฒนาระดับพื้นที่ (บพท.) สำนักงานสภานโยบายการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์วิจัยและนวัตกรรมแห่งชาติ(สอวช.)
          ลายเกาะแก้วสุทธารมย์ และลายเกาะแก้วสุมามาลย์นี้ จึงนับว่าเป็นผลงานอันเป็นที่ประจักษ์ ในเชิงการศึกษาค้นคว้า และผลงานด้านศิลปะอันทรงคุณค่า โดยนำแรงบันดาลใจลวดลาย มาจากภาพจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ วัดเกาะ จังหวัดเพชรบุรี ที่เขียนโดยจิตรกรเมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เมื่อ​ พ.ศ.2277 (อายุราว 279 ปี)​ จึงเกิดเป็นผ้าผืนงามที่อนุรักษ์ลวดลายในจิตรกรรมไทยและสร้างสรรค์โดยจิตวิญญาณของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน
          การจัดแสดงแฟชั่นโชว์ครั้งนี้จะเน้นไปที่ Theme สมัยอยุธยาตอนปลายสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศตามอายุของภาพจิตรกรรมที่วัดเกาะโดยจะแสดงแบบจำลองตัวอย่างการ เสด็จพระราชดำเนินมายังเมืองเพชรบุรีของพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศพร้อมทั้งพระมเหสีฝ่ายขวาฝ่ายซ้ายคือสมเด็จพระพันวษาใหญ่และสมเด็จพระพันวษาน้อยซึ่งเป็นเชื้อสายพราหมณ์เมืองเพชรบุรีพร้อมทั้งขบวนข้าราชบริพารที่ตามเสด็จ เล่าย้อนไปให้เห็นความงดงามและต้นกำเนิดของลวดลายลาย และส่งท้ายเข้าสู่ยุคปัจจุบันที่นำผ้าไทยมาตัดให้เป็นชึดร่วมสมัย สามารถใส่ได้ในโอกาสต่างๆ แสดงให้เห็นถึงความงามของผ้าลายอย่างที่พัฒนาไปตามยุคสมัยได้อย่างงดงาม


บทประพันธ์ในการแสดง โดย ผศ.แสนประเสริฐ ปานเนียมและ ท่านคณบดี คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์
ขับทำนอง และดนตรี โดย อ.ฐานิสร์ พรรณรายณ์
นางแบบ นายแบบ อาจารย์ นักศึกษา ศิษย์เก่า คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ คณะวิทยาการจัดการ และนายแบบ นางแบบรับเชิญ ทุกท่าน

ผู้แสดงแบบการแต่งกายสมัยอยุธยา
พระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ : ณภทัรชนม์ สัญญา
พระพันวษาใหญ่ : อ. จินจุฑา สุวรรณ์คัมภีระ
พระพันวษาน้อย : อ. วิไลวรรณ ไชยลังการ
พระสนม : อ.เบญญาภาลักษณ์ ขอมชัยภูมิ
เจ้าจอม : อ.ต้นฉัตร ชะอุ่มฤทธิ์
เจ้าเมืองเพชรบุรี : ผศ.แสนประเสริฐ ปานเนียม
ข้าราชการเมืองเพชร : อ.บุญชาติ คติวัฒน์ อ.ศุภวัฒน์ คนมั่น
เทพยุดา : อ.ธราธัส จำเริญวัตติ์ อ.สุพัตรา รอดภัย
นางกำนัลแลเชิญพระกลด : นักศึกษาเอกภาษาไทย คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี

ผู้แสดงแบบชุดแฟชั่นโชว์
ภูมินทร์ มีแสงเพชร นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ศิวกร นาคสุก นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
สิทธินนท์ บุญภิมุข นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
นวภรณ์ รินแก้ว นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ญาดา บัวเจริญ นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ปณิษฐา หอมทน นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี
ภัทรกันย์ ปลื้มใจ (แสดงแบบรับเชิญ)
Finale : นันทิภรณ์ โชคประสิทธิ์ (แสดงแบบรับเชิญ)
ภาพถ่ายโดย : เพชรภูมินิวส์, ชมรมช่างถ่ายภาพเมืองเพชร, อ.จินจุฑา

Subject

ผ้าลายอย่าง
การเดินแบบผ้า
งานมหกรรมศิลปวัฒนธรรมอาเซียนสัมพันธ์

Coverage

เพชรบุรี

Source

ธนิต พุ่มไสว. (2565). ผ้าลายอย่าง. สืบค้น 16 ม.ค. 2566 จาก https://www.facebook.com/profile.php?id=100077758510371

Date

8 ธันวาคม 2565 (เผยแพร่บนเฟสบุ๊ค)
5 ธันวาคม 2565 (วันที่แสดง)

Type

ภาพถ่าย

Format

image/jpg

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น