โครงการพัฒนาพื้นที่วิทยาเขตโป่งสลอด
เพื่อการเรียนรู้อย่างยั่งยืน

          มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีเป็นมหาวิทยาลัยเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น  นอกจากจะพัฒนาในเรื่องของศักยภาพของผู้เรียน และระบบการศึกษาแล้ว สิ่งหนึ่งที่มุ่งเน้นโดยเป็นนโยบายของอธิการบดี ก็คือ การพัฒนาท้องถิ่น โดยมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้รับอนุญาตจากกรมป่าไม้ ให้ใช้พื้นที่บริเวณโป่งสลอด ตำบลหนองกระปุ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี พื้นที่ประมาณ 1,300 ไร่ ซึ่งเป็นป่าเสื่อมโทรม ให้เข้าไปใช้ประโยชน์ จากการสำรวจพบว่า ในพื้นที่ดังกล่าวมีการตัดไม้ทำลายป่าของชุมชน และเมื่อไปนำดินไปตรวจสภาพ พบว่า ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดังนั้น เมื่อจะเข้าไปใช้ประโยชน์ สิ่งที่เราจะต้องไปทำ ก็คือ จะต้องแก้ไขปัญหาเพื่อสร้างเป็นต้นแบบให้กับชุมชน ให้ได้กระบวนการในการแก้ปัญหาพื้นที่ที่เราได้รับมอบหมาย 1,300 ไร่นั้น โดยเราใช้กระบวนการ ก็คือ การน้อมนำหลักแนวคิดของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาใช้ในการเรื่องการพัฒนา เราใช้องค์ความรู้จากชุมชน เราใช้องค์ความรู้จากวิทยาการสมัยใหม่ของมหาวิทยาลัย โดยใช้กระบวนการที่เรียกว่าการบูรณาการแบบมีส่วนร่วม ใช้เพื่อการพัฒนาพื้นดิน ณ ปัจจุบันบริเวณพื้นที่โป่งสลอดเราใช้พื้นที่ประมาณ 50 ไร่ในการเป็นจุดของการพัฒนา และเชื่อว่าการพัฒนาในจุดนี้นั้นถ้าสำเร็จก็จะเป็นต้นแบบของการพัฒนา เพราะเราสามารถที่จะใช้ดินในพื้นที่ที่ได้รับการปรับปรุงให้มีความอุดมสมบูรณ์ สามารถที่จะปลูกพืชได้อย่างดีงาม

          พื้นที่วิทยาเขตโป่งสลอด แต่เดิมมีปัญหาในเรื่องความขัดแย้งกับประชาชนในพื้นที่ โดยประชาชนมีการเข้าไปใช้พื้นที่ดังกล่าวก่อนที่จะมีการประกาศเขต จึงทำให้มีปัญหาในการที่จะเข้าไปพัฒนา มหาลัยราชภัฏเพชรบุรีจึงใช้กระบวนการเข้าไปสร้างความเข้าใจ ให้เขาเห็นประโยชน์ที่ประชาชนโดยส่วนใหญ่จะได้รับ และเขาก็จะได้รับผลประโยชน์จากตรงนี้ ซึ่งเรามีระบบการบริหารจัดการน้ำโดยนำน้ำที่มีอยู่ในอ่าง ทั้งสองอ่างใหญ่ ที่ประชาชนประชาชนที่อยู่บริเวณรอบๆ วิทยาเขตโป่งสลอดได้ใช้ประโยชน์ ซึ่งขณะนี้นั้นความขัดแย้งจะหมดไป

          ในปี 2564 ท่านพลอากาศเอกชลิต พุกผาสุก นายกสภามหาวิทยาลัยราชภัฏบุรี ได้มอบนโยบายให้กับท่านอธิการบดี ท่านผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. เสนาะ กลิ่นงาม ให้ตั้งคณะทำงานลงไปพัฒนาพื้นที่โป่งสลอด เพื่อให้เป็นต้นแบบของพี่น้องประชาชน ผมและทีมงานได้รับมอบหมายให้เข้าไปทำงานในพื้นที่ ซึ่งการเข้าไปทำงานในพื้นที่นั้น แรก ๆ ก็จะมีปัญหาเรื่องความเข้าใจของพี่น้องประชาชนแต่เราใช้ความพยายามเราใช้ความจริงใจและเราใช้สิ่งที่เรียกว่าการสร้างแนวร่วมเกิดขึ้น ก็คือ เราใช้โรงเรียนบ้านโป่งสลอด ซึ่งเป็นโรงเรียนซึ่งลูกหลานของประชาชนเข้ามาเรียนที่นี่ เราสร้างความเข้าใจให้กับเด็กเพื่อที่เด็กนักเรียนได้เข้าไปบอกคุณพ่อคุณแม่ว่ามหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีได้เข้ามา ความเจริญจะตามมา และประการสำคัญ คือ คุณภาพชีวิตของประชาชนโป่งสลอดจะดีขึ้น

          แนวคิดในการพัฒนาพื้นที่โป่งสลอดนั้น ใช้แนวพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 มาใช้ คือ ใช้พื้นที่น้อยแต่เกิดประโยชน์สูงสุด เน้นการบริหารจัดการพื้นดิน และน้ำให้ประชาชนได้รับประโยชน์ นอกจากนั้นประโยชน์ที่ได้รับจะเป็นประโยชน์ที่สร้างความสุขให้กับประชาชน เน้นการบูรณาการทำงานกับหน่วยงานต่างๆ ถือว่ามหาลัยราชภัฏเพชรบุรีไม่ใช่เจ้าของพื้นที่ แต่เราเป็นผู้ประสานงานที่จะให้หน่วยงานต่างๆ เช่น กรมปศุสัตว์ของกระทรวงเกษตรฯ ในส่วนของพาณิชย์จังหวัด ในส่วนของเกษตรจังหวัดในส่วนของพัฒนาชุมชน เราบูรณาการทำงานโดยมีส่วนร่วม เป้าหมายในการพัฒนา คือ ยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนเป็นหลัก

รายการจัดแสดง


ลำดับ QR-Code รูปภาพ หัวข้อ รายละเอียด

2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี