ศาสตร์พระราชา : บันได 3 ขั้น ของคำว่าพอ

 อยู่รอด" "พอเพียง" และ "ยั่งยืน" บันได 3 ขั้นของคำว่า "พอ"3 ขั้นตอน การพัฒนาเพื่อความสุขที่ยั่งยืน ตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          เนื่องจากพื้นฐานประเทศไทยเป็นประเทศเกษตรกรรม ประชากรส่วนใหญ่จึงต้องพึ่งพิงการผลิตภาคเกษตรเพื่อการดำรงชีวิต เมื่อประเทศไทยเริ่มเข้าสู่ยุคพัฒนา พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร จึงทรงมีความห่วงใยเกษตรกรรายย่อยซึ่งเป็นคนส่วนใหญ่ของประเทศ ว่าจะถูกละเลยจากยุทธศาสตร์การพัฒนาและกลายเป็นเหยื่อของการพัฒนาในที่สุด

ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงได้ทรงทำการค้นคว้าทดลองโครงการด้านการเกษตรหลายโครงการในพื้นที่บริเวณรอบพระราชวังจิตรลดารโหฐาน โดยมีจุดเน้นอยู่ที่การค้นหาเทคโนโลยี ตลอดจนวิธีการที่เหมาะสมกับการนำไปประยุกต์ใช้สำหรับเกษตรกรรายย่อยในประเทศไทย ซึ่งต่อมาได้พัฒนาเป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริมากกว่า 4,000 โครงการทั่วประเทศ

          แม้ว่าโครงการพระราชดําริเหล่านี้จะมีความหลากหลายแตกต่างกันไป แต่จุดเน้นที่สําคัญคือการทำการเกษตรในระดับครอบครัวให้มีความเข้มแข็ง สามารถพึ่งตนเองได้ในขั้นต้น ซึ่งจะเป็นรากฐานทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็งในที่สุด กล่าวคือ ทำให้ครอบครัวเกษตรกรสามารถอยู่ได้อย่างพออยู่พอกินและลดความเสี่ยงจากการต้องพึ่งพาน้ำฝนที่มีความไม่แน่นอน และจากการปลูกพืชเพียงไม่กี่ชนิด รวมทั้งมีความเสี่ยงจากความผันผวนของตลาด ซึ่งต่อมาในปี 2537 แนวพระราชดำรินี้ได้พัฒนามาเป็น "ทฤษฎีใหม่ 3 ขั้นตอน" ที่พระองค์ได้ทรงแสดงให้เห็นถึงตัวอย่างของการพัฒนาจากระดับฐานรากให้มั่นคงอย่างเป็นขั้นตอนในภาคเกษตร 


2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี