พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ.๒๔๘๙-๒๕๕๘)

รูปภาพ

พระราชประวัติ

พระบาทสมเด็จพระมหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (พ.ศ.๒๔๙๓-๒๕๕๙) 
๒๔๗๐            เสด็จพระราชสมภพเมื่อวันที่ ๕ ธันวาคม ณ โรงพยาบาลเมานท์ ออเบิร์น เมืองเคมบริดจ์ รัฐแมสสาชูเซสท์ ประเทศสหรัฐอเมริกา เมื่อเวลา ๐๘.๔๕ น. (เวลาท้องถิ่นสหรัฐฯ) ต่อมาพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ ได้พระราชพระทานนามว่าภูมิพลอดุลยเดช โดยภูมิพล หมายถึง พลังแห่งแผ่นดิน และอดุลยเดช หมายถึงอํานาจทีไม่อาจเทียบได้
 
 
๒๔๗๑            เสด็จนิวัตประเทศไทย (สยาม) เป็นครั้งแรก
 
๒๔๗๔            ทรงศึกษาระดับชั้นอนุบาลที่บ้านของมิสซิสเดวีส (Mrs. Davies) ณ กรุงเทพฯ
 
๒๔๗๕            เสด็จเข้ารับการศึกษาชั้นต้น ณ โรงเรียนมาแตร์ เดอี วิทยาลัย กรุงเทพฯ เป็นระยะเวลา ๑ ปี
 
๒๔๗๖            เสด็จย้ายไปประทับ ณ สวิตเซอร์แลนด์ ทรงเริ่มเรียนภาษาฝรั่งเศสที่สถานรับเลี้ยงเด็กชองป์-โซเลย์ (Champ-Soleil) ทรงศึกษาต่อในชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนเอกอล เมียร์มองต์ (Ecole Miremont)
 
๒๔๗๘            ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอ เจ้าฟ้าภูมิพลอดุลยเดช ทรงย้ายเข้าพํานักที่วิลล่าวัฒนา (Villa Vadhana) ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ศึกษาต่อที่โรงเรียนเอกอล นูแวล เดอ ลา ซืออิส โรมองด์ (Ecole Nouvell de la Suisse Romande) ศึกษาในสายศิลป์ ภาษาละติน และอังกฤษ โดยบังคับเรียนภาษาเยอรมัน
 
๒๔๘๘            ทรงสําเร็จการศึกษาระดับมัธยม แล้วทรงเข้าศึกษาต่อในมหาวิทยาลัยโลซานน์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์ ทรงพระราชนิพนธ์เพลงครั้งแรก ชื่อ “แสงเทียน”
 
๒๔๘๙            เสด็จขึ้นครองสิริราชสมบัติต่อจากพระเชษฐา เฉลิมพระปรมาภิไธย ว่า “พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช” แล้วเสด็จกลับสวิตเซอร์แลนด์เรียนวิชาด้านรัฐศาสตร์ นิติศาสตร์ เศรษฐศาสตร์ แทนวิชาวิทยาศาสตร์ที่เคยทรงศึกษาแต่เดิม ศึกษาด้านภาษาฝรั่งเศส อังกฤษ ละติน และเยอรมัน
 
๒๔๙๑            หลังจากทรงสําเร็จการศึกษาจากสวิตเซอร์แลนด์ ทรงได้พบกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์กิติยากร และทรงประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์อย่างรุนแรง
 
๒๔๙๒            ทรงหมั้นกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร โดยได้พระราชทานพระธํามรงค์วงที่สมเด็จพระบรมราชชนกหมั้นสมเด็จพระราชชนนี
 
๒๔๙๓            ทรงประกอบพิธีราชาภิเษกสมรสกับหม่อมราชวงศ์สิริกิติ์ กิติยากร และมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษก เฉลิมพระปรมาภิไธยเป็น “พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรามาธิบดี จักรีนฤบดินทร สยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร” ทรงมีพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชินีสิริกิติ์ ขึ้นเป็นสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินี แล้วเสด็จพระราชดําเนินกลับสวิตเซอร์แลนด์
 
๒๔๙๘            ทรงมีพระราชดําริให้เริ่มศึกษาทดลองทําฝนเทียม จนเกิดโครงการฝนหลวง
 
๒๔๙๙            ทรงผนวชเป็นเวลา ๑๕ วัน โดยมีสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีทรงเป็นผู้สําเร็จราชการแผ่นดินแทนพระองค์
 
๒๕๐๖            ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๓ รอบ ทรงพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ก่อตั้ง “โรงเรียนเจ้าหลวงอุปถัมภ์ ๑” ที่บ้านแม้วดอยปุย ต.หางดง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นโรงเรียนพระราชทานแห่งแรก
 
๒๕๑๒            ฝนหลวงตกเป็นครั้งแรก จนถึงปัจจุบันนี้สามารถช่วยพื้นที่การเกษตรได้มากกว่า ๑๖๐ ล้านไร่ต่อปี และได้รับพระฉายาว่า “คนทําฝน” จากโครงการฝนหลวงนี้ ทรงมีพระราชดําริพัฒนาให้ชาวเขาปลูกกาแฟแทนการปลูกฝิ่น
 
๒๕๑๔            เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๒๕ ปี
 
๒๕๑๘            ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๔ รอบ ทรงจัดตั้งโรงเรียนเจ้าพ่อหลวงอุปถัมภ์ สําหรับเด็กชาวเขา ทรงจัดตั้งมูลนิธิพระดาบส สําหรับนักเรียนที่จําเป็นต้องออกจากระบบโรงเรียนปกติ เนื่องจากความยากจน โดยให้เข้ารับการฝึกด้านวิชาชีพแทน กําเนิดสหกรณ์การเกษตรอันเนื่องมาจากพระราชดําริแห่งแรกคือ “สหกรณ์การเกษตรหุบกะพง จํากัด” จ.เพชรบุรี
 
๒๕๒๒            ทรงมีพระราชดําริจัดตั้ง “ศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อน” ซึ่งเป็นพิพิธภัณฑ์ ธรรมชาติที่มีชีวิตแห่งแรก เพื่อเป็นตัวอย่างความสําเร็จในด้านการเกษตรกรรม และการพัฒนาอาชีพ เป็นต้นแบบและแนวทางให้แก่เกษตรกร รวมถึงผู้สนใจนํา ไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติ
 
๒๕๓๐            ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๕ รอบ
 
๒๕๓๑            ทรงดํารงค์สิริราชสมบัติยาวนานกว่าพระมหากษัตริย์ทุกพระองค์ (๒ กรกฎาคม ๒๕๓๑)
 
๒๕๓๔            ทรงมีพระราชดําริเรื่องการนําหญ้าแฝกมาใช้ประโยชน์ สามารถปรับปรุงหน้าดินจํานวนมากกว่า ๑๐ ล้านไร่ทั่วประเทศ
 
๒๕๓๘            เกิดโครงการการศึกษาทางไกล เพื่อถ่ายทอดบทเรียนจากสถานีวิทยุโทรทัศน์การศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียม วังไกลกังวล ๑๕ ช่องรายการ ทรงแก้ปัญหาน้ําท่วมร่วมกับทางคณะองคมนตรี เกิดโครงการแก้มลิง
 
๒๕๓๙            เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๕๐ ปี
 
๒๕๔๐            ทรงเสนอทฤษฎีใหม่ในช่วงวิกฤติเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นแนวปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงที่ทั่วโลก
 
๒๕๔๒            ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖ รอบ
 
๒๕๔๙            เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติครบ ๖๐ ปี
 
๒๕๕๔            ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๗ รอบ
 
๒๕๕๒            ทรงเปิดป้ายโครงการชั่งหัวมัน ตามพระรามดำริ
 
๒๕๕๕            พระบาทสมเด็จพระปรมิทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงเจริญพระชนมพรรษา ๘๕ พรรษา
 
๒๕๕๙            เสด็จสวรรคตในวันที่ ๑๓ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ ทรงครองราชสมบัติสิริรวม ๗๐ ปี ๑๒๘ วัน ทรงเป็นพระเจ้าแผ่นดินที่ครองราชย์ยาวนานที่สุดในประวัติศาสตร์ของไทยและของโลก

2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี