พระราชประวัติรัชกาลที่ ๑๐ 
พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว

รูปภาพ

           พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว เป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ปัจจุบันของประเทศไทย นับเป็นพระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนราชศาสดาราม มีพระสมณนาม ว่า “วชิราลงกรโณ”และประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนเวศราชวรวิหาร ทรงเป็น “เจ้าฟ้านักบินขับไล่ไอพ่น” พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ทรงตอบรับคำกราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร” เมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ และมีพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ หลังเข้าพิธีสรงพระมรุธาภิเษก ทรงรับน้ำอภิเษก และทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ ทรงเฉลิมปรมาภิไธยว่า “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” และพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะสืบสาน  รักษา  และต่อยอดและครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” เมื่อวันที่ ๔-๖ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ จากนั้นได้เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค เมื่อวันที่ ๑๒ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

พระราชประวัติรัชกาลที่ ๑๐

“พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว”

 

พระราชสมภพ

           พ.ศ. ๒๔๙๕     ทรงพระราชสมภพ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต เมื่อวันจันทร์ที่ ๒๘ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๙๕ ทรงพระนามว่า “สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าวชิราลงกรณ บรมจักรยาดิศรสันตติวงศ์ เทเวศรธำรงสุบริบาลอภิคุณูประการมหิตลาดุลเดช ภูมิพลนเรศวรางกูรกิตติสิริสมบูรณสวางควัฒน์บรมขัตติยราชกุมาร”
           พระราชพิธีสมโภชพระราชพิธีสมโภชเดือนและขึ้นพระอู่ ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต ระหว่างวันที่ ๑๔-๑๕ กันยายน ทั้งพิธีพราหมณ์ พิธีสงฆ์ และถวายเห่กล่อม เมื่อทรงเจริญพระชนมายุได้ ๑ เดือน กับ ๑๘ วัน     
 

การศึกษา    

พ.ศ. ๒๔๙๙     ทรงเข้าศึกษาชั้นอนุบาลปีที่ ๑ เมื่อเดือนกันยายน พ.ศ. ๒๔๙๙ เมื่อพระชนมายุ ๔ พรรษา ณ     โรงเรียนจิตรลดา
พ.ศ. ๒๕๐๙      การศึกษาในต่างประเทศ    ทรงเข้ารับการศึกษาที่โรงเรียนคิงสมีด เมืองซีฟอร์ด แคว้นซัสเซกส์ ประเทศอังกฤษ
พ.ศ. ๒๕๑๓      ทรงศึกษาระดับมัธยมศึกษาที่โรงเรียนมิลล์ฟีลด์ เมืองสตรีท แคว้นซอมเมอร์เซทประเทศอังกฤษ
พ.ศ. ๒๕๑๕      ทรงเศึกษาต่อที่วิทยาลัยการชั้นสูง ณ กรุงแคนเบอร์รา ประเทศออสเตรเลีย
 

สมเด็จพระยุพราช

           พ.ศ. ๒๕๑๕     ทรงได้รับการสถาปนาขึ้นเป็น “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร” พระองค์ที่ ๓ ของไทย โดยมีพระนามาภิไธย ตามจารึกพระสุพรรณบัฏว่า “สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณบดินทรเทพยวรางกูร สิริกิตยสมบูรณสวางควัฒน์ วรขัตติยราชสันตติวงศ์ มหิตลพงศอดุลยเดช จักรีนเรศยุพราชวิสุทธ สยามมกุฎราชกุมาร” เมื่อวันที่ ๒๘ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๑๕
 

ทรงผนวช

            พ.ศ. ๒๕๒๑     ๖ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๒๑ ทรงผนวช ณ วัดพระศรีรัตนราชศาสดาราม มีพระสมณนาม ว่า “วชิราลงกรโณ”และประทับ ณ พระตำหนักปั้นหยา วัดบวรนเวศราชวรวิหาร
 

ทรงมีพระปรีชาญาณ

           พ.ศ. ๒๕๓๗     ทรงเป็น “เจ้าฟ้านักบินขับไล่ไอพ่น” พระองค์แรกแห่งราชวงศ์จักรี ทรงผ่านหลักสูตรการบินเฮลิคอปเตอร์ เครื่องบินขับไล่สมรรถนะสูง (F-5E) จากสหรัฐอเมริกา และทรงพระกรุณาปฏิบัติหน้าที่ครูการบินเครื่องบินขับไล่แบบ บ.ข. ๑๘ ข (F-๕E) และ บ.ข. ๑๘ ค (F-๕F) ของกองทัพอากาศ ตั้งแต่วันที่ ๔ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๓๗
           พ.ศ. ๒๕๕๓     จัดตั้งมูลนิธิทุนการศึกษาพระราชทานสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร (ม.ท.ศ.)
           พ.ศ. ๒๕๕๘     ทรงจักรยานพระที่นั่งนำขบวนในกิจกรรม ปั่นเพื่อแม่ Bile For Mon ๑๖ สิงหาคม    ทรงจักรยานพระที่นั่งนำขบวนในกิจกรรม ปั่นเพื่อแม่ Bile For Dad ๑๑ ธันวาคม
 

เสด็จขึ้นทรงราชย์

           พ.ศ. ๒๕๕๙     ๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๙ สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร ทรงตอบรับคำกราบบังคมทูลอัญเชิญเสด็จฯ ขึ้นทรงราชย์สืบราชสันตติวงศ์เป็นสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์รัชกาลที่ ๑๐ ทรงมีพระราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้เฉลิมพระปรมาภิไธยว่า “สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมหาวชิราลงกรณ บดินทรเทพยวรางกูร”
 

พระราชพิธีราชาภิเษกสมรส

           พ.ศ. ๒๕๖๒      ๑ พฤษภาคม พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงประกอบพระราชพิธีราชราชาภิเษกสมรสกับพลเอกหญิงสุทิดา  วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา ณ พระที่นั่งอัมพรสถาน พระราชวังดุสิต และพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาพลเอกหญิงสุทิดา วชิราลงกรณ์ ณ อยุธยา พระอัครมเหสี เป็น สมเด็จพระราชินีสุทิดา ต่อมาในการพระบรมราชาภิเษก มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา สมเด็จพระราชินีสุทธิดา เป็น “สมเด็จพระนางเจ้าสุทิดา พัชรสุธาพิมลลักษณ พระบรมราชินี”  
 

พระราชพิธีบรมราชาภิเษก    

           พ.ศ. ๒๕๖๒      ๔-๖ พฤษภาคม เป็นพระราชพิธีบรมราชาภิเษกตามโบราณราชประเพณีที่พระมหากษัตริย์จะเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นพระพระมหากษัตริย์อย่างสมบูรณ์ หลังเข้าพิธีสรงพระมรุธาภิเษก ทรงรับน้ำอภิเษก และทรงสวมพระมหาพิชัยมงกุฎ ทรงเฉลิมปรมาภิไธยว่า   “พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรรามาธิบดีศรีสินทรมหาวชิราลงกรณ พระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว” และพระราชทานพระปฐมบรมราชโองการว่า “เราจะสืบสาน  รักษา  และต่อยอดและครองแผ่นดินโดยธรรมเพื่อประโยชน์สุขแห่งอาณาราษฎรตลอดไป” ๑๒ ธันวาคม  เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค
 

พระราชโอรสและพระราชธิดา

          •    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าพัชรกิติยาภา นเรนทิราเทพยวดี
          •    สมเด็จพระเจ้าลูกเธอ เจ้าฟ้าสิริวัณณวรี นารีรัตนราชกัญญา
          •    สมเด็จพระเจ้าลูกยาเธอ เจ้าฟ้าทีปังกรรัศมีโชติ มหาวชิโรตตมางกูร สิริวิบูลยราชกุมาร
 

2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี