พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐

รูปภาพ
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐ ประกอบด้วย
          พระราชพิธีเบื้องต้น คือ พิธีทำน้ำอภิเษก มีการแบ่งทิศในการหาแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ จากนั้นเป็นพิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ในทุก ๆ แหล่งน้ำ ในส่วนของจังหวัดเพชรบุรี มีพิธีพลีกรรมตักน้ำที่วัดท่าไชยศิริ  ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๒ และนำน้ำไปเข้าพิธีทำน้ำอภิเษกที่วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี
          พระราชพิธีเบื้องกลาง ประกอบด้วย การจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร การถวายราชสักการะสมเด็จพระบรมราชบุพการี การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก บรมราชาภิเษก และเฉลิมพระราชมณเฑียร พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ พระบรมวงศ์ เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒ และเสด็จออกทรงรับการถวายพระพรชัยมงคล
          พระราชพิธีเบื้องปลายนั้น เป้นการเสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
พระราชพิธีบรมราชาภิเษก รัชกาลที่ ๑๐
๑. ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒
          ตราสัญลักษณ์พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒ ประกอบด้วย
          - อักษรพระปรมาภิไธย วปร อยู่ตรงกลางฟื้นอักษรสีขาวขอบเดินทอง อันเป็นสีของวันจันทร์ซึ่งเป็นวันพระบรมราชสมภพ ภายในอักษรประดับเพชรตามความหมายแห่งพระนามมหาวซิราลงกรณอักษร วปร อยู่บนพื้นสีขาบ (น้ำเงินเข้ม) อันเป็นสีของขัตติยกษัตริย์ภายในกรอบพุ่มข้าวบิณฑ์สีทองสอดสีเขียว อันเป็นสีซึ่งเป็นเดชแห่งวันพระบรมราชสมภพ
           - กรอบทรงพุ่มข้าวบิณฑ์อัญเชิญมาจากกรอบที่ประดิษฐานพระมหาอุณาโลมอันเป็นพระราชลัญจกรประจำพระองค์พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แวดล้อมด้วยเครื่องเบญจราชกกุรภัณฑ์ อันเป็นเครื่องประกอบพระบรมราชอิสริยยศของพระมหากษัตริย์และเป็นเครื่องหมายแห่งความเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราช ได้แก่ พระมหาพิชัยมงกุฎพร้อมอุณาโลมประกอบเลขมหามงคลประจำรัชกาล อยู่เบื้องบนพระแสงขรรค์ชัยศรีกับพระแสจามรี ทอดไขว้อยู่เบื้องขวาธารพระกรกับพัดวาลวิชนี ทอดไขว้อยู่เบื้องซ้าย และฉลองพระบาทเชิงงอน อยู่เบื้องล่าง
          - พระมหาพิชัยมงกฎ หมายถึง ทรงรับพระราชภาระอันหนักยิ่งของแผ่นดินเพื่อประโยชน์สุขของประชาทน
          - พระแสงชรรค์ชัยศรี หมายถึง ทรงรับพระราชภาระปกป้องแผ่นดินให้พ้นจากภยันตราย
          - ธารพระกร หมายถึง ทรงดำรงราชธรรมเพื่อค้ำจุนบ้านเมืองให้ผาสุกมั่นคง
          - พระแส้จามรีกับพัดวาลวิชนี หมายถึง ทรงขจัดปัดเป่าความทุกข์ยากเดือดร้อนของอาณาประชาราษฎร์
          - ฉลองพระบาทเชิงงอน หมายถึง ทรงทำนุบำรุงปวงประชาทั่วรัฐสีมาอาณาจักร
          - เบื้องหลังพระมหาพิชัยมงกุฎประดิษฐานพระมหาเศวตฉัตรอันมีระบายขลิบทอง จงกลยอดฉัตรประกอบรูปพรหมพักตร์อันวิเศษสุด
          - ระบายชั้นล่างสุดห้อยอุบะจำปาทอง แสดงถึงพระบารมีและพระบรมเดชานุภาพที่ปกแผ่ไปทั่วทิศานุทิศ
          - เบื้องล่างกรอบอักษรพระปรมาภิไธยมีแถบแพรพื้นสีเขียว ถนิมทอง ขอบขลิบทอง มีอักษรสีทองความว่า "พระราชพิธีบรมราชาภิเษก พุทธศักราช ๒๕๖๒"
          - ปลายแถบแพรเบื้องขวามีรูปคซสีห์กายม่วงอ่อนประคองฉัตร ๗ ชั้น หมายถึงข้าราชคารฝ่ายทหาร
          - เบื้องซ้ายมีรูปราชสีห์กายขาวประคองฉัตร ๗ ชั้นหมายถึงข้าราชคารฝายพลเรือน ผู้ปฏิบัติราชการสนองงานแผ่นดินอยู่ด้วยกัน
          - ข้างคันฉัตรด้านในทั้งสองข้างมีดอกลอยกนกนาค แสดงถึงปีมะโรงนักษัตรอันเป็นปีพระบรมราชสมภพ
          - สีทอง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งของประเทศชาติและประชาชน
 
๒. พระราชพิธีเบื้องต้น 
          ๒.๑ พิธีทำน้ำอภิเษก
                  - การแบ่งทิศในการหาแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์
                  - พิธีพลีกรรมตักน้ำจากแหล่งน้ำศักดิ์สิทธิ์ ที่วัดท่าไชยศิริ  ตำบลสมอพลือ อำเภอบ้านลาด จังหวัดเพชรบุรี วันที่ ๖ เมษายน ๒๕๖๒
                  - พิธีทำน้ำอภิเษกที่จังหวัดเพชรบุรี
 
๓. พระราชพิธีเบื้องกลาง
    - การจารึกพระสุพรรณบัฏ ดวงพระบรมราชสมภพ และพระราชลัญจกร
    - ถวายราชสักการะสมเด็จพระบรมราชบุพการี
    - การพระราชพิธีบรมราชาภิเษก
    - บรมราชาภิเษก และเฉลิมพระราชมณเฑียร
    - พระราชพิธีเฉลิมพระปรมาภิไธย พระนามาภิไธย สถาปนาพระฐานันดรศักดิ์ พระบรมวงศ์
    - เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางสถลมารค วันที่ ๕ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๕๖๒
    - เสด็จออกทรงรับการถวายพระพรชัยมงคล
 
๔. พระราชพิธีเบื้องปลาย
    - เสด็จพระราชดำเนินเลียบพระนครโดยขบวนพยุหยาตราทางชลมารค วันที่ ๒๔ ตุลาคม พ.ศ. ๒๕๖๒

2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี