ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปะการแทงหยวก จังหวัดเพชรบุรี

Duangchan_Susutti_Page_001.jpg
Duangchan_Susutti_Page_011.jpg
Duangchan_Susutti_Page_012.jpg
Duangchan_Susutti_Page_124.jpg

Title

ภูมิปัญญาท้องถิ่น ด้านศิลปะการแทงหยวก จังหวัดเพชรบุรี

Creator

ดวงจันทร์ สุสุทธิ

Contributor

บุญเชิด ภิญโญอนันตพงษ์, ที่ปรึกษา

Description

สารนิพนธ์ กศ.ม. (ธุรกิจศึกษา). กรุงเทพฯ:บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรินครินทรวิโรฒ
          การศึกษาค้นคว้าในครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อศึกษาความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะการแทงหยวก จังหวัดเพชรบุรี การส่งเสริมอนุรักษ์และสืบทอด คุณค่าของประเพณีวัฒนธรรมเดิมของสังคม จังหวัดเพชรบุรี การนำความรู้ด้านศิลปะการแทงหยวกไปประกอบอาชีพเสริม และการนำศิลปะการ แทงหยวกมาจัดทำเป็นกิจกรรมเสริมหลักสูตร หัตถศึกษา ทำการศึกษาโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ โดยใช้การสัมภาษณ์และสอบถามช่างแทงหยวก 5 คน ผลของการศึกษาสรุปได้ดังนี้
          1. ความเป็นเอกลักษณ์ของศิลปะการแทงหยวก จังหวัดเพชรบุรี เป็นองค์ความรู้ที่ เกิดจากการถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่น มีความเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างจากที่อื่น คือ การแทงหยวกแบบ ฟรีแฮนด์ ลามารถแทงหยวกได้โดยไม่ต้องวาดลวดลายลงบนกาบกล้วย การนำลักษณะของธรรมชาติ มาดัดแปลงเป็นลวดลายในการแทงหยวก การประยุกต์ใช้สีเคมีทำการแรลาย และการแกะสลักเครื่อง สดมาประดับตกแต่งให้เกิดความสวยงาม
         2. การส่งเสริมอนุรักษ์ และสืบทอด ช่างแทงหยวกทุกคนมีความยินดี และเต็ม ร่วมส่งเสริมการสืบทอดศิลปะการแทงหยวก โดยการเป็นวิทยากรและไม่คิดค่าใช้จ่าย และสืบทอด ให้กับญาติ วงศ์ตระกูล และผู้ที่สนใจจะศึกษาเพื่อนำไปประกอบอาชีพ
          3. คุณค่าของประเพณีวัฒนธรรมเดิมของสังคม จังหวัดเพชรบุรี การแทงหยวกเป็น การรวมกลุ่มช่างหลายแขนง มาร่วมกันสร้างสรรค์งานแทงหยวกให้มีความวิจิตรศิลป์ ทำให้เกิด คุณค่าทางศิลปะ และเกิดความสามัคคีร่วมมือกันในการทำงานเป็นหมู่คณะ อันเป็นวิถีการดำเนิน ชีวิตของคนในสังคม จังหวัดเพชรบุรี

Subject

แทงหยวก
ทัศนศิลป์
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

Coverage

เพชรบุรี

Publisher

มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ

Identifier

เอกสารฉบับเต็ม (E-book)
http://thesis.swu.ac.th/swuthesis/Bus_Ed/Daungchan_S.pdf

Date

2551

Type

Text

Format

application/pdf
124 หน้า

Language

tha

Relation

  • กันยา อื้อประเสริฐ และเกษร แสนสุวรรณ์. (2549). ศิลปะการแทงหยวกของเพชรบุรีนครปฐม : หอสมุดพระราชวังสนามจันทร์ สำนักหอสมุดกลาง มหาวิทยาลัยศิลปากร.
  • พูลสวัสดิ์ มุมบ้านเซ่า. (2543). ศิลปะการแทงหยวก. กรุงเทพฯ : คณะศิลปกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
  • สุนันท์ นีลพงษ์ (2549). กระบวนการปรับใช้งานจำหลักหยวกประกอบเครื่องสดในงานมงคล. เพชรบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
  • วิทยาลัยครูเพชรบุรี สหวิทยาลัยทวารวดี. (2537). เอกสารประกอบการพิจารณาเพื่อเสนอให้ปริญญากิตติมศักดิ์สาขาวิชาศิลปะศาสตร์ สายศิลปกรรมศาสตร์และศิลปะประยุกต์ โปรมแกรมวิชาศิลปกรรม. เพชรบุรี : วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
  • พระราชทานเพลิงศพ ผศ.บัวไทย แจ่มจันทร์ (2542). ช่างเมืองเพชร. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์.
  • สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบุรี (2539). สถาปัตยกรรมเรือนยอดจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : สำนักงานศึกษาธิการจังหวัดเพชรบุรี.

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น