ผ้าไทยทรงดำ

DSC_9494.jpg
DSC_9643.jpg
DSC_9741.jpg
DSC_9737.jpg
DSC_9719.jpg
DSC_9715.jpg

Title

ผ้าไทยทรงดำ

Creator

ทวี นวมนิ่ม

Description

          ชาวไทยทรงดำเดิมนิยมทอผ้าเอง และนำมาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม ที่นอน หมอน มุ้ง และสัญลักษณ์ทางวัฒนธรรมความเชื่อ โดยเฉพาะเครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรีที่สำคัญ คือ ผ้าซิ่นลายแตงโม เสื้อก้อม เสื้อไท เสื้อห่งเห่ง เสื้อฮี และผ้าเปียว สีของผ้าซิ่นที่เป็นสีดำหรือสีพื้นเข้มเป็นหลัก มีข้อสันนิษฐานว่า ด้วยเครื่องแต่งกายนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้เรียกความแตกต่างของกลุ่มไทดำให้แตกต่างจากกลุ่มไทอื่น ๆ คือ ความยาวของซิ่นระหว่างไทดำในลาวและเวียดนามกับไทยทรงดำในเพชรบุรีนั้นมีความแตกต่างอย่างชัดเจน ภูมิประเทศน่าจะส่งอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

          อย่างไรก็ดี สำหรับในกลุ่มไทยทรงดำแล้ว เครื่องแต่งกายตามประเพณีจะพบเห็นในพิธีกรรมสำคัญ เช่น การขึ้นบ้านใหม่ การแต่งงาน พิธีศพ และในอีกวาระหนึ่ง คือการเฉลิมฉลองในวันไทยทรงดำ ที่เป็นการสังสรรค์และพบปะของลูกหลานไทยทรงดำ (โซ่ง) ในชุมชนต่าง ๆ ในเพชรบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น นครปฐม สุพรรณบุรี พิษณุโลก นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มไทยทรงดำในจังหวัดเลยที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทดำในประเทศเพื่อนบ้าน และในจังหวัดเพชรบุรีจะพบชาวไทยทรงดำได้ที่ ต.เขาย้อย ต.ทับคาง ต.หนองปรง อำเภอเขาย้อย บ้านหนองพลับ อำเภอเมืองเพชรบุรี และบ้านท่าโล้ บ้านเขากระจิว บ้านแม่ประจันต์ อำเภอท่ายาง

ผ้าไทยทรงดำ

          เครื่องแต่งกายที่เป็นเอกลักษณ์ของชาติพันธุ์ไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรีที่สำคัญคือ ผ้าซิ่นลายแตงโม เสื้อก้อม  เสื้อฮี และผ้าเปียว สีของผ้าซิ่นที่เป็นสีดำหรือสีพื้นเข้มเป็นหลัก มีข้อสันนิษฐานว่า ด้วยเครื่องแต่งกายนี้น่าจะเป็นส่วนหนึ่งที่ใช้เรียกความแตกต่างของกลุ่มไทดำให้แตกต่างจากกลุ่มไทอื่น ๆ ความยาวของซิ่นระหว่างไทดำในลาวและเวียดนามกับไทยทรงดำในเพชรบุรีนั้นมีความแตกต่างอย่างชัดเจน ภูมิประเทศน่าจะส่งอิทธิพลต่อการปรับเปลี่ยนดังกล่าว

          อย่างไรก็ดี สำหรับในกลุ่มไทยทรงดำแล้ว เครื่องแต่งกายตามประเพณีจะพบเห็นในพิธีกรรมสำคัญ เช่น การแต่งงาน พิธีศพ และในอีกวาระหนึ่ง คือการเฉลิมฉลองในวันไทยทรงดำ ที่เป็นการสังสรรค์และพบปะของลูกหลานไทยทรงดำ (โซ่ง) ในชุมชนต่าง ๆ ในเพชรบุรี และจังหวัดอื่น ๆ ในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา เช่น นครปฐม สุพรรณบุรี พิษณุโลก นอกจากนี้ ยังมีกลุ่มไทยทรงดำในจังหวัดเลยที่มีวัฒนธรรมใกล้เคียงกับไทดำในประเทศเพื่อนบ้าน

เอกลักษณ์การแต่งกายของไทยทรงดำ

การแต่งกายไทยทรงดำ เน้นด้วยผ้าสีดำหรือสีกรมท่า โดยแบ่งออกเป็นของผู้ชายและผู้หญิงการแต่งกายผู้ชาย คือ ใส่เสื้อไทติดกระดุมเงินตั้งแต่ ๑๑ เม็ดขึ้นไป สวมซ่วงก้อม หรือ (กางเกงขาสั้น)  คาดด้วยสายคาดเอว หรือ  (ฝักเอว)  ใส่เสื้อฮีชายในชุดพิธีกรรม การแต่งกายผู้หญิง คือ ใส่เสื้อก้อมติดกระดุมเงินไม่เกิน ๑๑ เม็ด ฮ้างผ้าซิ่นลายแตงโม ทรงหน้าวัว หรือหน้าสั้นหลังยาว ผาดบ่าด้วยผ้าเปียว สะพายกะเหล็บ ใส่เสื้อฮีหญิงในชุดพิธีกรรม

          คุณถนอม คงยิ้มละมัย ตัวแทนกลุ่มชาติพันธุ์ไทยทรงดำ ตำบลหนองปรง อำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี  กล่าวว่า เอกลักษณ์ของชาวไทยทรงดำเรา หากเป็นคำทักทาย คือ “ลุกกะเฮือนมาก็ว่าซัมบายดีล่ะบ่อ” นี่เป็นคำสวัสดีของไทยทรงดำ และคำตอบคือ “อ๋ออยู่ดีซั่งแมงว่าง อยู่กว่างซั่งเบือนม๊น” ไอ้ด้วงกว่างอ่ะเราอยู่งุ๊งงิ๊ง ๆ ลาวโซ่งอ่ะ  และอัตลักษณ์การแต่งกาย คือ ผ้าซิ่นลายแตงโมที่คุณถนอม คงยิ้มละมัย สวมใส่มาในวันนี้ แต่จริง ๆ ของเราก็มีหลายอย่าง ซิ่นตาหมีจะนึ่งกินงาย ซิ่นตาลายจะนุ่งกินเหล้า ซิ่นตาเป่าตีนจ๊กลายสนก็มี ตาหมี คือ สวย, นึ่งกินงาย คือ อาหารเช้า ตาลายนี่นุ่งกินเหล้า นุ่งทับนุ่งเถือ คนดอนทรายเขาถวายสมเด็จพระราชินี ในรัชกาลที่ 9 แต่จริง ๆ แล้วมันเป็นผ้าซิ่นสำหรับไปไร่ไปนา ไม่สมพระเกียรติ กำนันเขาจะให้ถวายใหม่ ให้สมเด็จพระเทพฯ แต่งอย่างนี้แล้วก็เสื้อแบบนี้ ถึงจะเป็นอัตลักษณ์  ซิ่นแตงโมที่เก่าแก่ มีอายุมาก ลายจะเล็ก ถ้าตัวเองใส่จะออกลายฟ้า ๆ มันจะมีลายติ่งกระเด็นออกมานิ๊ดหนึ่ง ถ้าอย่างนี้เป็นผ้าซิ่นแล้วเอาไปทำอื่นไม่ได้ขอโทษ ตามความเชื่อของชาวไทยทรงดำเขาว่า จะอับปรีจัญไร เขาไม่ให้้เอาไปทำ แล้วก็ไม่เลาะตีนซิ่น ถ้าเลาะตีนซิ่น หมายความว่า สามีเสีย ขาดความเป็นสามีภรรยาตรงตีนซิ่น บางคนนั่งสง่างาม แต่ซิ่นจะเลาะตินซิ่นไม่ได้ ใช้เฉพาะที่เฉพาะกิจ อีกอย่าง ถ้านุ่งเอาตีนซิ่นขึ้นมาด้านบน เขาเชื่อกันว่าเป็นการแช่งแม่สามี นุ่งแบบนี้ต้องสำรวมไว้ให้ดีว่าล่วงเกินอะไรแม่สามี เมื่อเร็วนี้เราภาคภูมิใจมาก อพท. เชิญไปพูด พอเราจะไปก็ขยาด เสื้อแบบนี้คือ คอก้อม ที่ไปคนที่มาคือลาวโซ่งทั้ง 3 จังหวัด ไม่มีถูกเลย อาจารย์ละมัย แกอายุ 89 ปีแล้ว ยังไม่เสีย คอแหกเราก็ไม่ให้ไปด้วย เพราะคอเสื้อเธอก็ไม่ถูก เราไม่ให้ไป อยากให้ดำรงอัตลักษณ์ของไทยทรงดำดั้งเดิมเอาไว้ ซึ่งตอนนี้ยุคนวัฒน์วิถีมานี่เตลิดตะเล่อไปเลย

              กล่าวโดยสรุปว่า อัตลักษณ์ที่ชัดเจนของไทยทรงดำเพชรบุรีคือ ซิ่นลายแตงโม ต้องเป็นสีดำ หรือสีกรมท่า หรือสีคราม และเสื้อ คือ เสื้อก้อม ที่เป็นเสื้อคอปิด สีดำ หรือสีกรมท่า หรือสีครามเช่นเดียวกัน และสามารถใส่ได้ทั้งสองด้าน ซึ่งการเย็บจะไม่มีใครเหมือน ตะเข็บจะกลมกลืนทั้งหมด การนุ่งซิ่นถ้าพันเอวจะเป็นการแต่งกายไปไร่ไปนา การติดดอกลั่นทมจะติดไว้หลังก้อนผม และก็มีเสื้อฮี ที่เก็บความงามไว้ข้างใน 

          ลักษณะโครงสร้างทางกายภาพของสาวไทยทรงดำ คือ คำปูมเอเละ คอป่อง หางตาแดง


เครื่องแต่งกายของไทยทรงดำ

การแต่งกายของไทยทรงดำเป็นเผ่าพันธุ์ที่สุดประหยัดเพราะไม่ว่างานมงคลหรืออวมงคลใช้เสื้อแบบเดียวกันที่ใช้มีอย่างละ 2 แบบ สีหลัก 2 สี คือ ขาวและดำ  สีอื่นเพียงเพื่อให้สวยงาม มีอีก 3 สี  คือ เขียว เหลือง แดง

1. เสื้อก้อม

          เสื้อก้อม หมายถึง เสื้อที่มีรูปทรง สั้นๆ มีความยาวตั้งแต่คอเสื้อถึงสะโพก เสื้อก้อมใช้สำหรับสวมใส่ไปทำงาน เดินทาง ไปต่างหมู่บ้านหรือใช้คู่กับเสื้อเชิ้ตสีขาว โดยสวมเสื้อเชิ้ตสีขาวไว้ข้างในแล้วจึง สวมเสื้อก้อมทับอีกชั้นหนึ่งโดยพับปก เสื้อเชิ้ตออกมาด้านนอกเรียกว่า ”คอแก่น” ซึ่งหมายถึง ”คอ 2 ชั้น” สวมใส่ในการฟ้อน ไทยดำ           

          เสื้อก้อม มีลักษณะเป็นเสื้อคอกลมผ่าหน้า มีลักษณะที่แนบลำตัว ในเวียดนาม สีของเสื้อแสดงให้เห็นสถานภาพการแต่งงาน ดังเช่น เสื้อสีขาวสำหรับเด็กสาวที่ยังไม่แต่งงาน

          เสื้อก้อมผู้ชาย เป็นเสื้อแบบคอตั้งไม่มีปก ที่แขนเสื้อไม่ต่อตรงไปถึงปลายแขนโดยใช้ ผ้าทบสองชั้นให้เป็นรูปทรงกระบอกยาวถึงข้อมือ การต่อแขนเสื้อไม่ตัดผ้าให้โค้ง แต่มีวิธีทำแขนให้กว้าง โดยแทรกผ้ารูปสามเหลี่ยมไว้ใต้รักแร้ทำให้โคนแขนใหญ่ขึ้น สะดวกในการสวมใส่และการเคลื่อนไหวบริเวณ ชายเสื้อด้านข้างลำตัวทั้งสองข้างแทรกด้วยผ้ารูปสามเหลี่ยมตั้งแต่เอวลงมาถึงสะโพกเพื่อให้ชายเสื้อบานออกบริเวณสาบเสื้อซึ่งเป็นผ้าทาบที่อกเสื้อสำหรับติดกระดุม และเจาะรังดุมใช้ผ้าแถบยาวถึงไม่ติดชายเสื้อเย็บติดกับแผ่นเสื้อด้านหน้าข้างขวาแล้ว จึงเจาะรังดุมใช้เป็นรูปผ้าแถบยาวถึงเอวไม่ติดชายเสื้อเย็บติดกับแผ่นเสื้อด้านหน้าด้านข้างขวาแล้ว จึงเจาะรังดุม 9-13 ช่องกระดุมทำด้วยเงินเป็นรูปยอดแหลมลายกลีบบัวติดห่วงที่ปลายยอดแล้วจึงนำมาเย็บติดกับขอบผ้าด้านซ้ายให้ตรงกับรังดุม การเย็บตะเข็บเสื้อใช้มือเย็บ ตลอดแนวโดยเย็บแบบพันตะเข็บให้เป็นเส้นกลม ส่วนการเย็บปลายแขนเสื้อเก็บ ริม ผ้าโดยไม่ต้องพับแล้วเย็บ สีของเสื้อก้อม เสื้อก้อมตัดเย็บด้วยผาฝ้ายสีครามเข้ม เหมาะแก่การสวมใส่ในฤดูหนาว เพราะเสื้อก้อมเป็นเสื้อที่ผลิตจากฝ้ายซึ่งมีคุณสมบัติรักษาความอบอุ่นให้แก่ร่างกายได้ดีด้านความเชื่อสีครามเข้มเป็นสีที่อยู่ในวรรณะเย็นซึ่งแสดงถึงความเศร้าโศกความอ้างว้างและเดียวดายของชาวไทยทรงดำที่ต้อง พลัดพราก จากบ้านเกิดเมืองนอนลวดลายเสื้อก้อม   เสื้อก้อมเป็นเสื้อที่มีสีคราเข้ม ทั้งตัวโดยไม่มีลวดลาย

          เสื้อก้อมผู้หญิง เสื้อก้อมผู้หญิงมีความหมาย และ การใช้เช่นเดียวกับเสื้อก้อมผู้ชาย แต่มีลักษณะบางส่วนที่แตกต่างและเหมือนกัน เสื้อก้อมเป็นเสื้อคอตั้งเข้ารูป ไม่มีปก แขนยาวทรงกระบอกรัดข้อมือเพื่อ ให้แนบลำตัวจะได้รับความอบอุ่นและป้องกันความร้อนได้ดีต่อการต่อแขนติดกับลำตัวต่อชนตะเข็บตรงๆ ไม่เว้าผ้าและมีผ้าแทรกใต้รักแร้ตัวเสื้อมีความยาวเหนือสะโพกและผ่าหน้าตลอดติดกระดุมเงิน เหมือนเสื้อก้อมผู้ชาย

2. เสื้อฮี

เสื้อฮีชาย คอกลมแขนยาวใช้ในพิธีการ ความงามอยู่ด้านข้าง โชว์ลายซึ่งเรียกว่า “ขอกุด” ชายใส่ด้านเดียวเสื้อฮีใส่ในพิธีสำคัญ เช่น งานตาย การแต่งงาน ขึ้นบ้านใหม่

เสื้อฮีหญิง ใช้เย็บสวมได้ 2 ด้าน งานมงคลมีลวดลายน้อย งานอวมงคล  ลวดลายมาก และใช้คลุมโลงศพเวลาตาย ปกติใช้เสื้อก้อมเป็นเสื้อแขนยาวคอตั้งติดกระดุม 9 เม็ด หรือ 11 เม็ด ตรงสายเหนือสะดือ จะเว้านิ้วครึ่ง ตรงเอวจะคอดและผายออก เพื่อโชว์หน้าท้องและเข็ดขัดเงินเป็นจุดเซ็กซี่


3. เสื้อห่งเห่ง

เสื้อห่งเห่งชาย คอเสื้อติดกระดุม 5 เม็ด ด้านข้างแหวกประมาณ 1 คืบ ใช้ใส่ทำงาน เสื้อห่งเห่งหญิง เป็นเสื้อคอตั้งติดกระดุม 5 เม็ดใส่ทำงาน


4. ผ้าซิ่นหรือผ้าถุง

การแต่งกายหญิง หญิงมักจะมีผ้าซิ่นลายแตงโมประกอบด้วย ผ้า 3 ชิ้น คือตีนซิ่น ตัวซิ่น หัวซิ่น หญิงแต่ละวัยนุ่งไม่เหมือนกัน ดังคำว่า “สาวน้อยขอดซอยเอื้อมไหล่ สาวใหญ่ๆ นุ่งซิ่นต่อตัว สาวมีผัวนุ่งซิ่น 2 ซ้อม” นอกจากผ้าถุงผ้าฝ้ายก็ยังมีผ้าถุงผ้าไหม เรียก ซิ่นตาหมี่สวยงาม ใช้ในพิธีเสน ปัจจุบันไม่นิยมนำมาใช้ในชีวิตประจำวันเพราะทอยาก คนยุคใหม่แทบไม่รู้จักซิ่นตาหมี่

          ซิ่น ของผู้หญิงไทยทรงดำจะสั้นกว่าและลักษณะการนุ่งจะมีชายหน้าสูง ส่วนชายหลังต่ำ ส่วนบนของตัวซิ่นหรือที่เรียกว่าเชิงบนหรือหัวซิ่น จะโอบเข้ากับเอวด้านซ้ายและขวาให้กระชับ จากนั้นคาดด้วยเข็มขัดหรือเชือกขวั้นเกลียว

          ผ้าซิ่นหรือผ้าถุง คือผ้าที่ใช้นุ่ง ในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆ โดยมีการใช้แตกต่างกัน คือ ผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะนุ่งซิ่นต่อหัวแต่ผู้หญิงที่แต่งงานแล้วผ้าซิ่นหรือผ้าถุง คือ ผ้าที่นุ่งในชีวิตประจำวันและในพิธีกรรมต่างๆ โดยมีการใช้แตกต่างกัน คือผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะนุ่งซิ่นต่อหัว แต่ถ้าผู้หญิงที่แต่งงานแล้วต้องนุ่งซิ่น 2 ผืน เพื่อ ป้องกันประจำเดือนที่อาจมาไม่ปกติ ถ้านุ่งซิ่นผืนเดียวอาจทำให้เปื้อนผ้าซิ่นได้ชาวไทยทรงดำ จึงมีคำกล่าวไว้ว่าดซอย ”สาวน้อย  ขอดซอย เอื้อม ไหล่ สาวใหญๆ นุ่งซิ่นต่อหัว สาวมีผัว นุ่งซิ่นสองซ้อน” ผ้าซิ่น มีเส้นไหมสีแดงสอดไว้ตามแนว ตั้งของผ้าเรียกว่า “เส้นยืน” แล้วสอด ด้วยฝ้ายสีครามเข้ม ตามแนวนอนเรียกว่า”เส้นพุ่ง” สลับกับฝ้ายสีขาวทอแนวตั้งจนกลายเป็นผ้าพื้นที่มีลายทางเล็กๆตามความยาวของลำตัวคล้ายลายบน ผลของลูกแตงโม ทำให้ผ้าซิ่นมีชื่อรียกว่า “ผ้าซิ่ลายแตงโม” ซึ่งประกอบด้วยผ้า 3 ส่วน คือ หัวซิ่น อยู่ท่อนบนสุดเป็นผ้าฝ้าย พื้นสีครามเข้ม ความกว้างของแถบผ้า เท่ากับความกว้างของแถบผ้า เท่ากับความกว้างของตัวซิ่น รูปแบบ ผ้าซิ่นส่วนนี้ค่อนข้างบาง เมื่อนุ่งแล้ว กระชับแนบลำตัว ตั้งแต่เอวและสะโพก ช่วงบน ทำให้เห็นรูปร่างของผู้สวมใส่ตัวซิ่น อยู่ส่วนกลางของผ้าติดกับหัวซิ่นพื้นที่ส่วนใหญ่มีสีครามเข้มผ้าใน ส่วนนี้หนากว่าหัวซิ่น เมื่อนุ่งแล้วนำมาทบกันตรงกลาง ทำให้ดูมั่นคงหนักแน่น เวลาเคลื่อนไหวส่วนกลางและชายผ้าจะอ่อนพลิ้วคล้ายกับคลื่นน้ำ ตีนซิ่น อยู่ด้านล่างสุดต่อจากตัวซิ่น เป็นผ้าทอ ด้วยผ้าฝ้ายมีคุณประโยชน์ เพื่อช่วยถ่วงน้ำหนักของตัวซิ่นให้อยู่ตามรูปทรง

          สีของผ้าซิ่นลายแตงโม ผ้าซิ่นมีพื้นเป็นสีครามเข้มโดยมีเส้นไหม สีขาวตามแนวตั้งจนกลายเป็นลายทางเล็กๆ คล้ายลายผลของลูกแตงโม ทำให้ผ้าซิ่นทีชื่อเรียกว่า “ผ้าลายแตงโม” ชาวไทยทรงดำมีความเชื่อตาม หลักการวางสีของผ้าซิ่นโดยเชื่อว่า สีแดง หมายถึง เลือด เนื้อหรือสิ่งมีชีวิต การหลุดพ้น และการสิ้นสุด ซึ่ง เป็นการสื่อให้เห็นถึงความ เป็นพวกพ้อง เผ่าพันธุ์ เดียวกันแม้ว่าจะมีชีวิตหรือเสียชีวิตแล้ว ก็ตามส่วนสีครามเข้ม สลับกับสีขาว เป็นการบ่งบอกถึงความเดียวดาย ที่ต้องพลัดพรากจากญาติพี่น้องและบ้านเกิดเมืองนอนที่อยู่อาศัยในประเทศลาว และเวียดนาม

          ผ้าซิ่นมีลวดลาย 3 คือ ลายตากิ๊บหรือลายตาคีบ เป็นลาย สีขาวสองเสนจับหรือคีบผ้าฝ้ายสีครามเข้ม ให้อยู่ในแนวยาวตามลำตัว หมายถึง ความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มไทดำในลาวและเวียดนาม ลายต่อมา คือ ลายตาย่อยหรือตาเดี่ยวเป็น ลายสีขาวเพียงเส้นเดียวยาวตามลำตัว หมายถึงความสัมพันธ์ระหว่างกลุ่มไทยทรงดำในลาวและเวียดนาม ลายต่อมา คือ ลายตาย่อยหรือาเดี่ยวเป็น ลายสีขาวเพียงเส้นเดียวยาวตามลำตัว หมายถึงความโดดเดี่ยวเดียวดายจากการ ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ในประเทศไทย ชนกลุ่มน้อยลายสุดท้ายคือ ลายตาหมู่ หรือตาคู่ ลายสีขาวสองเส้นคั่น ด้วย ฝ้าย สีครามเข้ม หมายถึงความพลัดพราก จากบ้านเกิดเมืองนอนและญาติพี่น้อง

5. ผ้าเปียวหรือผ้าพันศีรษะ

          ผ้าเปียว เป็นแถบผ้าฝ้ายทอมือสีดำและมีการปักลวดลายที่ชายผ้า ในภาพถ่ายของกลุ่มไทดำ แสดงให้เห็นการใช้สำหรับโพกศีรษะ

          ผ้าเปียว หมายถึง ผ้าที่ใส่ศีรษะแทนหมวกเป็นผ้าที่ทอจากฝ้าย หรือผ้าไหมสีครามเข้ม ผ้าเปียวเป็นสัญลักษณ์ของการมีเจ้าของและคนชรา ผู้หญิงสาวจึงเตรียมจัดทำผ้าเปียวไว้เพื่อนำไปเป็นผ้าไหว้แม่สามี คนสูงอายุมักห่มผ้าเปียวอยู่กับบ้าน หรือห่มไปวัด โดยห่มเฉียงบ่าเหมือนกับห่มผ้าสไบ แม้แต่ตอนเสียชีวิตก็ต้องมีผ้าเปียวห่ม โดยมีความเชื่อว่าลวดลายผ้าเปียวเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูล เมื่อเสียชีวิตก็ิที่ต้องมีผ้าเปียวห่ม โดยมีความเชื่อว่าลวดลายผ้าเปียวเป็นสัญลักษณ์ประจำตระกูล เมื่อเสียชีวิตลงญาติที่ล่วงลับไปก่อนแล้วจะเดินทางมารับเพื่อไปอยู่ในดินแดนเดียวกันได้ถูกต้องลักษณะของผ้าเปียวมีดังนี้ 

          รูปแบบผ้าเปียว เป็นผ้าที่ทอจากฟืม ขนาดเล็กเรียกว่า “ฟืมเจ็ด” มีลักษณะเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ความยาวของผ้าเปียวขึ้นอยู่กับสัดส่วนของแต่ละบุคคล ผ้าเปียวมีวิธีมัด 3 แบบ คือ แบบแรกนำกลางเปียว มาใส่หน้าผากแล้วมัดไว้ที่ข้างหลัง แบบที่สองพันไว้หลายรอบบนศีรษะโดยเอาปลายด้านหนึ่งเหน็บไว้ที่ฝั่งขวาปลายด้านหนึ่งพาดลงไปปกด้านหลังเพื่อให้เห็นลาย แบบที่สามพันไว้ข้างบนแล้วให้ลายปกลงมาข้างหน้า

          สีของผ้าเปียว ผ้าเปียวมีสีและความหมายเช่นเดียวกับเสื้อฮีผู้ชาย ลวดลายของผ้าเปียว การทำลวดลาย ผ้าเปียว หญิงสาวไทยทรงดำทุกคนต้องหัดทำ ลายพื้นฐานของผ้าเปียว ซึ่งเริ่มจากการปักบริเวณชายผ้าเรียกว่า “สอยฝักแค” ให้เกิดความชำนาญเสียก่อน จึงจะเริ่มทำ ลวดลายต่างๆได้ ผ้าเปียวลวดลายดั้งเดิม มีอยู่ 4 แบบคือ

  1. ผ้าเปียวลายขอกูดหวาย เป็นการปักบริเวณมุมผ้าทั้งสี่ด้านให้เป็นรูปสี่เหลี่ยม แล้วใช้ไหมสีขาว หรือสีแดงปักทแยงเพื่อแบ่งรูปสี่เหลี่ยม ออกเป็นรูปสามเหลี่ยมสองรูปภายในและภายนอกปักลายผ้าเป็นรูปขอกูดหวายให้แตกกิ่งก้านออกไป ด้วยการใช้ไหมสลับสีให้แตกต่างกัน แล้วเย็บพู่ไหมหลากสีห้อย บริเวณริมผ้าตลอดผืน มีความเชื่อถึงการระลึกถึงบุญคุณ
  2. ผ้าเปียวลายดอกเต้า (เบาะเต้า) ลายดอดเต้าใช้วิธีปักเป็นแนวเส้นตั้งให้เกิดเป็นรูปสี่เหลี่ยมคางหมู แล้วใช้ไหมสีขาว และสีแดงปักตามแนวตั้งและแนวนอน เพื่อกำหนดขอบเขตของลายดอกเต้าให้ยาวติดต่อกัน ตลอดผืน แล้วเย็บพู่ไหม สีแดงห้อยบริเวณริมผ้าตลอดผืน มีความเชื่อถึงการให้กำเนิดเพื่อขยายเผ่าพันธุ์
  3. ผ้าเปียวลายขาบัวหรือขาปัว คำว่า “ปัว” หมายถึง พยุงหรือรับใช้วิธีปัก บริเวณชายผ้า โดยเริ่มที่มุมผ้าให้เป็นส่วนๆ แล้วจึงทำเป็น ดอกเลื่อนชั้นขึ้นไปเป็นรูปสามเหลี่ยมจนเกิดรูปลวดลายต่างๆ โดยใช้ไหมสีแดง สีเขียว สีเหลือง และสีขาว มีความเชื่อถึงความสำนึก ในความผิด 
  4. ผ้าเปียวลายสายรุ้ง ใช้วิธีปักชี้ขึ้น ด้านบนชายผ้าให้เป็นสายตรงๆ หลายๆ เส้นโดยปักแบบจัดคู่ตรงข้าม ให้มีขนาดเท่ากัน แล้วจึงนำเม็ดผ้าซึ่งเกิดจากการปักคล้ายลวดลายดอกแปด เย็บติดหัวท้าย ด้านละ 8 ลูก ด้านข้างด้านละ 4 ลูก การใส่เม็ดผ้าไว้ เพื่อถ่วงน้ำหนัก ไม่ให้ชายผ้าปลิว เมื่อลมพัดพัดผ่าน โดยมีความเชื่อว่าเป็นสะพานที่แถนทั้ง 8 องค์ ส่งมนุษย์มาเกิดบนโลก และรับคนที่เสียชีวิตกลับไปอยู่เมืองแถน ผู้หญิงที่สวมใส่ผ้าเปียวที่มีลวดลายปัก เป็นหญิงสาว หากเป็นหญิงสูงอายุ นิยมใช้ ผ้าเปียวสีดำ เนื่องจากเชื่อว่าสีดำเป็นสีที่แสดงถึงความสงบ และเก็บกดอารมณ์ แบบของลวดลายผ้าเปียว เป็นแนวยาว ประมาณ 5 แนว ลายส่วนมากมักใช้ไหม สีแดง 2 เสันปักตามแนวขวาง หรืออาจปักบริเวณมุมทั้ง 4 มุม ดังนั้นจึงทำให้ ผ้าเปียวมีลวดลายสวยๆถูกเผาไปกับคนตาย จนเหลืออยู่ในปัจจุบันไม่กี่ผืน ด้วยเหตุนี้ การแต่งกายและใช้ของดีๆ จึงไม่ได้ใช้ในชีวิตประจำวัน

การคงอยู่และการสร้างสรรค์ผ้าไทยทรงดำ

  1. ลูกช่วง สำหรับการเสี่ยงทายหาสามีหรือภรรยา ลูกช่วงตัวผู้ส่วนใหญ่มักจะแฉลบ ซึ่งเป็นคติที่สอนไว้ในตัวลูกช่วงตัวผู้ที่โยนออกไปมักจะแฉลบ ก็เปรียบเหมือนสามีที่บางครั้งอจไม่ตรงลู่ตรงทาง มีแฉลบเหมือนลูกช่วงบ้าง ก้ให้ภรรยาทำเฉยไว้ เดี๋ยวเขาจะกลับมาเอง และนี่คือความเชื่อหนึ่งของชาวไทยทรงดำที่มีต่อการโยนลูกช่วง
  2. ธง เดิมมีการปักลายผ้าเป็นลวดลายที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้ชาย หรือ หญิง แต่ในยุคปัจจุบันมีการปักลายทั้งที่เป้นสญลักษณ์ของผู้ชาย และลายที่เป็นสัญลักษณ์ของผู้หญิง อยู่ในผืนดียวกัน ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลงของผ้าไทยทรงดำในยุคปัจจุบัน
  3. เสื้อฮี ของผู้ชายจะมีลักษณะลวดลายเป็นขด ๆ โหนขึ้นสวรรค์ มีอายุยืนยาว ๅจจกว่าปี สีก็ยังเหมือนเดิม
  4. ผ้าเปียว ผู้หญิงชาวไทยทรงดำหากสามารถทำผ้าเปียวได้แล้ว ก็สามารถมีสามีได้ ซึ่งผ้าเปียวจะมีลวดลายด้านหน้ากับด้านหลังเหมือนกัน คุณหญิงดุษฎี มาลากุล ท่านกล่าวไว้ ตัวอย่างที่นำมาโชว์มี เปียวเบสิค เปียวขาปั๊วะ
  5. กระเหล็บ ผู้ชายที่สามารถทำกระเหล็บได้ ถึงจะมีสามีได้
  6. เขี้ยวหมูตันกับหมวกฮูด เป็นอีกหนึ่งความเชื่อเกี่ยวกับเรื่องผี ถ้าผู้ชายมีเขียวหมูตันและหมวกฮูด จะเป็นสิริมงคลทำให้ไม่ตาย
  7. การทำหมอน ลวดลายต่าง ๆ เช่น ลายดอกแปด  และการให้สีของไทดำ มี 5 สีหลัก ได้แก่ เขียว ขาว ดำ แดง ส้ม เป็นสีที่ทำให้เกิดพลังเพศ ดร.สุรพล วิรุฬรัตน์ ท่านกล่าว ในลายดอกแปดสีเขียวต้องตรงข้ามกับสีขาว ถ้าเอาสีขาวกับสีขาวมาชนกัน เปลี่ยนชื่อเรียกเป็นลายดอกเต้า แต่มาในยุคนวัฒวิถี มีสีฟ้าเพิ่มขึ้นมา และลายดอกแปดส่วนใหญ่จะให้สีหลัก ๆ ของไทยทรงดำ คือ แดงเขียว แดงส้ม แดงขาว แดงส้ม
  8. หมอนม้า เป็นหมอนใบเล็ก ๆ เอาไว้ให้ผี สำหรับคนตาย ส่วนมากจะทำลวดลายที่มีสีส้มกับสีเขียวติดกัน
  9. ซิ่นลายแตงโม หากเป็นญิงสูงอายุ ไม่ควรจะนุ่งตาขาว มักใช้ซิ่นที่มีลายออกสีอ่ำ ๆ ออกสีฟ้าคราม ๆ

          สรุปการทอ การทำผ้าของชาวไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรียังคงมีอยู่เหมือนเดิม แต่คติที่จะต้องเรียนรู้มีการเปลี่ยนแปลงไป บางทีเด็กรุ่นใหม่ที่ทำขึ้นมาเนี่ย ไม่เข้าใจคติเดิมที่สอนเอาไว้ ทำให้เกิดความเข้าใจที่เปลี่ยนแปลงไป ภูมิปัญญาที่อยู่ในผ้าก็จะเปลี่ยนแปลงไป ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมาก และอีกส่วนหนึ่งที่เป็นประโยชน์ต่อนักศึกษาที่อยู่ในสาขาศิลปะและการออกแบบ หรือออกแบบตกแต่งภายใน ที่คุณถนอม คงยิ้มละมัย บอกเอาไว้ สีไทยทรงดำนั้นเป็นสีที่เร้าอารมณ์ทางเพศ ถ้าใครออกแบบห้องพัก โรงแรมอะไร ก็ต้องใช้โทนสีแบบนี้

Subject

ผ้า -- ไทยทรงดำ
ชาติพันธุ์ -- ไทยทรงดำ
ไทยทรงดำ -- เครื่องแต่งกาย
เครื่องแต่งกาย

Coverage

เพชรบุรี

Date

20/04/2563

Type

text

Language

tha

Relation

  • ถนอม คงยิ้มละมัย, (ผู้บรรยบาย). (2563). การเสวนาเรื่อง ผ้าทองและการพัฒนาอัตลักษณ์ผ้าชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี: [วีดีโอไฟล์] สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.
  • จังหวัดเพชรบุรี. (2525). สมุดเพชรบุรี 2525. กรุงเทพฯ. โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์.
  • ทวีโรจน์ กล่ำกล่อมจิตต์. (2549). ฃุนนางโซ่ง:ตำนานแห่งความซื่อสัตย์ จงรักภักดี จนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ เบื้องหลังความสำเร็จ พระราชวังบนเขา พระนครคีรี ผู้ที่โปรดปรานของ รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 .เพชรบุรี. เพชรภูมิการพิมพ์.
  • บุญยงค์ เกตุเทศ. (2554). "ไทดำ" เมืองแถง "ทรงดำ" ถิ่นสยาม จากหนองแฮดถึ’หนองปรง. กรุงเทพฯ: อินทนิน.
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2558). พื้นภูมิเพชรบุรี. เพชรบุรี. เพชรภูมิการพิมพ์. 
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. สถาบันวิจัยส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม. (ม.ป.ป.). ที่ระลึก งานไททรงดำรวมใจเทิดไท้พระจอมเกล้า. เพชรบุรี. เพชรภูมิการพิมพ์.
  • วิทยาลัยครูเพชรบุรี. ศูนย์ศิลปวัฒนธรรม. (2535). เทศกาลงานประเพณีและวัฒนธรรมพื้นบ้าน. เพชรบุรี. วิทยาลัยครูเพชรบุรี.
  • ศรุติ โพธิ์ไทร. (2555). การแปรเปลี่ยนภมิทัศน์วัฒนธรรมลาวโซ่งหนองปรง:ที่ว่างอันเกี่ยวเนื่องกับประเพณี. กรุงเทพฯ. บี.บี. การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์.
  • สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเพื่อพัฒนาชนบท. (2540). สารานุกรมกลุ่มชาติพันธุ์:ไทยโซ่ง. นครปฐม.  มหาวิทยาลัยมหิดล.
  • สารานุกรมไทดำล้ำค่า. (2547). เพชรบุรี. เพชรภูมิการพิมพ์.
  • องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี. (2551). เพชรบุรีเมืองงาม:งามวัฒนธรรมประเพณีการละเล่นพื้นบ้าน. เพชรบุรี. องค์การบริหารส่วนจังหวัดเพชรบุรี.
  • อดิศร ศรีเสาวนันท์. (2555). ลาวโซ่ง เครื่องใช้ งานจักสาน. กับการเปลี่ยนแปลง. กรุงเทพฯ. อุษาคเนย์.
  • เพ็ชรดา  เพ็ชรรัตน์. (2561). ไทยทรงดำในจังหวัดเพชรบุรี. สืบค้น 20 เม.ย. 2563. จาก http://web2.stou.ac.th/oce/edupark 
  • ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (ม.ป.ป.). เครื่องแต่งกายไทดำและไทยทรงดำ. สืบค้น 5 เม.ย. 2563. จาก https://thehumans.sac.or.th
  • ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน). (2555). พิพิธภัณฑ์ในประเทศไทย. สืบค้น 5 เม.ย. 2563. จาก https://db.sac.or.th/museum 
  • ศูนย์วัฒนธรรมไทยทรงดำเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. (2555). ลักษณะการแต่งกายและทรงผม. สืบค้น 20 เม.ย. 2563. จาก https://khaoyoi-thaisongdam.com 
  • อุทยานวิทยาศาสตร์ประเทศไทย. (ม.ป.ป.). คลังทรัพยากรการศึกษาแบบเปิด. สืบค้น 20 เม.ย. 2563. จาก https://oer.learn.in.th 
  • สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2563). 630318 เสวนา เรื่อง “ผ้าทองและการพัฒนาอัตลักษณ์ผ้าชาติพันธุ์ในจังหวัดเพชรบุรี”. สืบค้น 21 เม.ย. 2564. จาก https://photos.app.goo.gl/UUaTEmvcKEoqZJUSA

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัย

Geolocation