ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

huaytray-01.jpg

Title

ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ

Creator

ทวี นวมนิ่ม

Contributor

ปิยวรรณ คุสินธุ์, สัญญา ธีรเดชอุปถัมภ์

Description

โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน  ตำบลสามพระยา  อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี เนื้อที่ทั้งหมด 11,215.5 ไร่ เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาป่าไม้เอนกประสงค์ มุ่งหมายศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการปลูกป่า  เพื่อฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  พัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรและปลูกป่า จัดสรรที่ทำกินให้ราษฎรที่ได้เข้ามาบุกรุกทำกินอยู่เดิมให้ได้เข้าอยู่อาศัยและให้ความรู้แก่ราษฎร ให้ทำการเกษตรอย่างถูกวิธี  รวมทั้งให้มีส่วนร่วมในการปลูกป่าดูแลรักษาป่า ตลอดจนให้ได้รับประโยชน์จากผลผลิตจากป่า เพื่อที่ราษฎรจะได้ไม่บุกรุกทำลายป่าอีกต่อไป ซึ่งมีหน่วยงานรับผิดชอบ ดังนี้ 1) ศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนาตามแนวพระราชดำริ 2) กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายแดน 3) สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

ความเป็นมา              

          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ  ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่พระราชนิเวศน์มฤคทายวัน  ตำบลสามพระยา  อำเภอชะอำ  จังหวัดเพชรบุรี  แต่เดิมพื้นที่แห่งนี้มีผืนป่าขนาดใหญ่อุดมสมบูรณ์ไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ  มีพืชพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด  ต่อมาเมื่อมีการพัฒนาประเทศทั้งด้านเศรษฐกิจและสังคม  ราษฎรได้เข้ามาบุกรุกแผ้วถางป่า เพื่อประกอบอาชีพในห้วงเวลาไม่ถึง  40  ปี  พื้นที่ป่าไม้ได้ถูกทำลายลงอย่างสิ้นเชิง ดินขาดการบำรุงรักษาทำให้ธรรมชาติขาดความสมดุล เกิดความแห้งแล้ง วันที่  5  เมษายน  2526  พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงเยี่ยมราษฎรในพื้นที่  และทรงมีพระราชดำริให้พัฒนาพื้นที่ส่วนหนึ่งในเขตพระราชนิเวศน์มฤคทายวันเป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาป่าไม้เอนกประสงค์  มุ่งหมายศึกษารูปแบบการพัฒนาเกษตรกรรมควบคู่ไปกับการปลูกป่า  เพื่อฟื้นฟูสภาพธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม  พัฒนาแหล่งน้ำ เพื่อใช้ในการเกษตรและปลูกป่า จัดสรรที่ทำกินให้ราษฎรที่ได้เข้ามาบุกรุกทำกินอยู่เดิมให้ได้เข้าอยู่อาศัยและให้ความรู้แก่ราษฎร ให้ทำการเกษตรอย่างถูกวิธี  รวมทั้งให้มีส่วนร่วมในการปลูกป่าดูแลรักษาป่า ตลอดจนให้ได้รับประโยชน์จากผลผลิตจากป่า เพื่อที่ราษฎรจะได้ไม่บุกรุกทำลายป่าอีกต่อไป

วัตถุประสงค์              

  1. เพื่อจัดระเบียบการใช้ประโยชน์ที่ดินและฟื้นฟูสภาพความเสื่อมโทรมของพื้นที่พระราชนิเวศน์
  2. เพื่อให้เป็นศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริในภาคตะวันตกของประเทศไทยดำเนินการศึกษา ค้นคว้า วิจัย หาวิธีการพัฒนาภายใต้สภาพพื้นฐานปัญหาและภูมิสังคมของพื้นที่ใน  5  ด้าน ที่สำคัญ ได้แก่ การอนุรักษ์ดินและปรับปรุงบำรุงดิน  การอนุรักษ์และพัฒนาแหล่งน้ำการอนุรักษ์และฟื้นฟูสภาพป่า การสร้างอาชีพและผลิตอาหาร และพลังงานทดแทน

พื้นที่ดำเนินการ         

          ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตั้งอยู่ในเขตตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี ด้านตะวันตกของประเทศไทย อยู่ห่างจากกรุงเทพฯตามเส้นทางถนนสายเพชรเกษม ประมาณ 220 กิโลเมตร มีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ 6,356.92 ตารางกิโลเมตร หรือ 3,973,075 ไร่

          ทิศเหนือ มีอาณาเขตบ้านบางไทรย้อยจดเขาเสวยกะปิ
          ทิศตะวันออก บ้านบางไทรย้อยจดบ้านบ่อเดี๊ยะ
          ทิศตะวันตก เขาสามพระยาจดเขาเสวยกะปิ
          ทิศใต้ เขาสามพระยาจดบ้านบ่อเดี๊ยะ

หน่วยงานรับผิดชอบ  

          ศูนย์อำนวยการโครงการพัฒนา กองบังคับการฝึกพิเศษ กองบัญชาการตำรวจตระเวนชายเดน/กองอำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี 76120 โทร. 0-3259-3252-3 โทรสาร 0-3259-3252

Subject

โครงการพระราชดำริ -- เพชรบุรี
ห้วยทราย
แกล้งดิน
อ่างเก็บน้ำ
จัดสรรที่ดิน
การเกษตร
อนุรักษ์ป่า
การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม
หญ้าแฝก

Coverage

เพชรบุรี
ชะอำ
ละติจูด 12.6978232 ลองติจูด 99.9003127

Date

16/10/2563

Type

text

Language

tha

Relation

  1. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2539). ประมวลพระราชดำริ เกี่ยวกับการดำเนินงานโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ อ.ชะอำ จ.เพชรบุรี และโครงการศึกษาวิธีการฟื้นฟูดินเสื่อมโทรมเขาชะงุ้ม (ศูนย์สาขา) อ.โพธาราม จ.ราชบุรี. เพชรบุรี : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

  2. ศูนย์สิ่งแวดล้อมศึกษาจังหวัดเพชรบุรี. (2535). พระผู้คืน ชีวิตใหม่ ให้ห้วยทราย. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

  3. องค์กรบริหารโครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2531). ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : กรุงสยามการพิมพ์.

  4. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2533) . กรุงเทพฯ : กรุงสยาม พริ้นติ้ง กรุ๊ฟ.

  5. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย. (ม.ป.ป.). 72 พรรษา เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชฯ. ประจวบคีรีขันธ์ : หนังสือพิมพ์หัวหินสาร.

  6. พรรนิภา ชุมศรี. (2544). สวนนานาพฤกษสมุนไพร ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ศูนย์พัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : โครงการวิจัยปลูกและรวบรวมพันธุ์พืชสมุนไพร คณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล

  7. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2542). ประวัติศาสตร์ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ.

  8. วัดห้วยทรายใต้. (2544). ที่ระลึกในวโรกาส สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีตัดหวายลูกนิมิต 19 กรกฏาคม 2544. ม.ป.ท. : ม.ป.พ.

  9. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (25..). รายงานประจำปี. เพชรบุรี : ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย.

  10. อารี สุวรรณจินดา. (2546). การวิจัยและพัฒนาเทคนิควิธีการปลูกหญ้าแฝกในการปรับปรุงดินที่แข็งเป็นดาน เพื่อการปลูกพืชในพื้นที่ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ตำบลสามพระยา อำเภอชะอำ จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

  11. มหิศร ประภาสะโนบล. (2548). สภาวะการเลี้ยง และการตรวจทดสอบโรคบรูเซลโลซิสในแพะพื้นที่ศูนย์การศึกษาและพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

  12. เมธินี ตาฬุมาศสวัสดิ์. (2549). พรรณไม้ห้วยทราย จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : สำนักหอพรรณไม้ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช.

  13. สมสุข แขมคำ และคณะ. (2549). รายงานศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ, ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. เพชรบุรี : คณะเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

  14. สมสุข แขมคำ. (2552). รูปแบบการถ่ายทอดเทคโนโลยีผ่านพิพิธภัณฑ์เสมือนจริงของศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. เพชรบุรี : สาขาวิชาการจัดการเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี.

  15. ฝ่ายวิชาการ สถาพรบุ๊คส์. (2561). ศูนย์ศึกษาการพัฒนาต้นแบบ เรียนรู้ศาสตร์พระราชาอย่างยั่งยืน. กรุงเทพฯ : สถาพรบุ๊คส์.

  16. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (2552). สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ค้นจาก http://km.rdpb.go.th. เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 63.

  17. สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (ม.ป.ป.). สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ค้นจาก http://www.rdpb.go.th/th. เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 63.
  18. ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทราย อันเนื่องมาจากพระราชดำริ. (ม.ป.ป.). ค้นจาก https://huaysaicenter.org เมื่อวันที่ 17 ก.ค. 63.

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น

Geolocation