วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

MahatatTample-013.JPG
MahatatTample-008.JPG
MahatatTample-007.jpg
MahatatTample-009.JPG
MahatatTample-010.JPG
MahatatTample-011.JPG
MahatatTample-012.JPG
MahatatTample-014.JPG
MahatatTample-015.JPG

Title

วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

Creator

สวัสดิ์ อุราฤทธิ์

Description

     ภาพถ่ายวัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี ถ่ายโดย นายสวัสดิ์ อุราฤทธิ์ บรรณารักษ์ สังกัดสำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เมื่อวันที่ 13 กันยายน 2558
     วัดมหาธาตุวรวิหาร  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี  ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี เดิมมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ วัดพระธาตุ วัดหน้าพระธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ดังปรากฏในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ว่า “แล้วเลี้ยวลงตรงหน้าวัดพระธาตุ พอเดือนคลาดคล้อยจำรัสรัศมี…” เป็นต้น 

     วัดมหาธาตุวรวิหาร  ไม่มีหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยทวารวดี-สุโขทัย มีอายุราว 800-1000 ปี โดยพบหลักฐานสำคัญคือ ซากอิฐสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมาก 

     อนึ่งวัดมหาธาตุวรวิหาร น่าจะเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน ต่อมากับชำรุดทรุดโทรมลง 

     สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้เสด็จมาเยี่ยมเยือนเมื่อ พ.ศ. 2458 หลังจากไฟไหม้เมืองเพชรบุรีครั้งใหญ่ในปีขาล พ.ศ 2457  ไฟได้ไหม้กุฏิสงฆ์และอื่น ๆ ทางด้านสังฆาวาสทั้งหมด ทรงรับสั่งให้ไวยาวัจกร ถวายกัปปิยภัณฑ์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง  พร้อมมีพระวินิจฉัยเกี่ยวกับวัดมหาธาตุว่า น่าเสียดายที่เป็นวัดที่อยู่เบียดเสียดกับวัดอื่นๆหลายวัด มีโบราณวัตถุอันเป็นปูนปั้น เป็นลวดลายที่หน้าบัน ซุ้มประตู ซุ้มหน้าตา ฝีมือปั้นวิจิตรงดงามมาก ภาพกลางหน้าบันและกลางซุ้ม ไม่มีซ้ำกัน ดูไม่จืดตาจะเป็นวัดที่เจริญต่อไป 

     อนึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้ประทานนามวัดเสียใหม่ว่า วัดมหาธาตุ และได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2458 ความตอนหนึ่งว่า เมื่อฉันไปตรวจคณะสงฆ์เพชรบุรีครั้งนี้ ได้พบวัดมหาธาตุ วัดสุวรรณาราม เมืองเพชรบุรี เป็นวัดโบราณ มีฝีมือช่างที่ทำเป็นของประณีต ทั้งยังเป็นวัดใหญ่ สมควรที่จะรักษาไว้เป็นเกียรติของเมือง ไม่ได้เป็นวัดหลวง ฝีมือช่างอาจกลายไปได้ตามใจรักษา หรือตามความถนัดของผู้นำ และเมื่อทรุดโทรมจะหาคนปฏิสังขรณ์ได้ยาก เพราะฉะนั้น ฉันขอพระราชทานยศวัดมหาธาตุ วัดสุวรรณาราม ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีเมื่อพุทธศักราช 2459

     อาณาเขต วัดมหาธาตุแบ่งเป็น 2 เขต หน้าทิศเหนือเป็นเขตพุทธาวาส ด้านทิศใต้เป็นเขตสังฆาวาส มีถนนนอกเป็นแนวกั้นเขตทั้งสอง เนื้อที่ของวัดฝ่ายพุทธาวาส 8 ไร่ 1 งาน 9 ตารางวา ควายสังฆาวาส  2  ไร่ รวม เป็นเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา

     ผู้สร้างวัด วัดมหาธาตุน่าจะเป็นวัดที่ได้สร้างมาแต่สมัยทวารวดี มีใบเสมาคู่ ลวดลายแบบทวารวดี สงสารคือสุวรรณภูมิ สลักหินทราย เป็นหลักฐาน (จำนงค์ เอมรื่น, 2552)

พระมหากษัตริย์และพระบรมวศ์กับวัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี

  1. พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 (สมัยขอมเรืองอำนาจ) โปรดให้สร้างพระพุทธรูป “พระชัยพุทธมหานาถ” ขึ้น 23 องค์ ให้อันเชิญประดิษฐานไปยังเมืองต่าง ๆ คือ ลพบุรี ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชรบุรี ฯลฯ ซึ่งคงได้สร้างพระปรางค์หรือศาสนสถานแบบขอมไว้ด้วย
  2. พ่อขุนรามคำแหง (สมัยกรุงสุโขทัย) ทรงอาราธนาพระสังฆราชจากลังกา จากนครศรีธรรมราช มาเป็นประธานสงฆ์ในกรุงสุโขทัย และทรงเสด็จมารับพระพุทธสิหิงค์ ซึ่งเป์นพระพุทธรูปที่ประเทศศรีลังกาส่งมาถวายจากนครศรีธรรมราชขึ้นไปยังปรุงสุโทัย สันนิษฐานว่าพ่อขุนรามต้องเสด็จผ่าน และประทับที่เพชรบุรีและชาวเพชรบุรีต้องร่วมงานบุญในครั้งนั้นด้วย วัดหน้าพระธาตุ ก็น่าจะสร้างขึ้นในสมัยนี้
  3. สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (สมัยกรุงศรีอยุธยา) พระองค์ได้ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ มีพระบรมราชานุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชบริพาร ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลสร้างวัดวาอารามและเจดีย์สถาน ทั้งในกลุ่มและหัวเมืองเป็นอันมาก ปรากฏว่าศิลปกรรมต่างๆ ในสมัยของพระองค์ มีอยู่ในวัดมหาธาตุมากมาย เช่น พระวิหารหลวง พระระเบียงคด พระอุโบสถ พระวิหารน้อย ลายปูนปั้นหน้าบันซุ้มประตูซุ้มหน้าต่าง พระพุทธรูป และปูชนียสถาน โบราณวัตถุต่างๆ ที่ประณีตงดงาม
  4. พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 4 แห่งกรุงรัตนโกสินท์) โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระปรางค์ ซึ่งหักพังให้ดีดังเดิม ใน พ.ศ. 2406
  5. พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5 แห่งกรุงรัตนโกสินท์) โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะพระปรางค์ โดยก่อให้สูงขึ้นมาในระดับหนึ่ง ต่อมาพังลงอีก และคงค้างอยู่จนถึงสมัยรัชกาลที่ 6
  6. พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินท์ โปรดเกล้าฯ พระราชทานพระราชทรัพย์สร้างกุฏิสงฆ์ ซึ่งประสบอัคคีภัย ในปี พ.ศ 2458
  7. สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า ในสมัยรัชกาลที่ 6 ทรงขอพระราชทานยกวัดเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เมื่อวันที่ 10 มีนาคม พ.ศ. 2458
  8. พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว (รััชกาลที่ 7 แห่งกรุงรัตนโกสินท์) เสด็จฯ วัดมหาธาตุพระราชทานทรัพย์ส่วนพระองค์ ร่วมบูรณะพระปรางค์ ซึ่งยังไม่เสร็จเรียร้อย เมื่อ พ.ศ. 2479 และมีการฉลองพระปรางค์ 5 วัน 5 คืน ในปี พ.ศ. 2480
  9. พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร (รัชกาลที่ 9 แห่งกรุงรัตนโกสินท์) เสด็จฯ วัดมหาธาตุ 4 ครั้ง ทรงทอดพระเนตรเป็นการส่วนพระองค์ เมื่อ 11 พฤษภาคม พ.ศ. 2496 ในปีถัดมาเสด็จฯ พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ กลางครรภธาตุของพระปรางค์องค์ประธาน เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2497 เสด็จฯ บำเพ็ญพระราชกุศลวิสาขบูชา พร้อมด้วยสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ พระเจ้าลุกเธอเจ้าฟ้าอุบลรัตนฺราชกญญาฯ และพระเจ้าลูกยาเธอเจ้าฟ้าวชิราลงกรณ ทรงเวียนเทียนรอบองค์พระปรางค์ และทรงถวายกัปปิยภัณฑ์บำรุงพระอารม เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2508 และเสด็จฯ พร้อมสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ทรงเททองหล่อพระพุทธรูปปางประทานพร ประดิษฐานพระบรมปรมาภิไธย ร. 9 เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2508
  10. สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิตต์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เสด็จพระราชดำเนินเวียนเทียนรอบพระปรางค์วัดมหาธาตุวรวิหาร เนื่องในวันมาฆบูชา เมื่อวันที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552
  11. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จทรงยกฉัตรทองคำประดิษฐาน ณ ยอดพระปรางค์องค์ประธาน เมื่อวันที่ 12 มิถุนาย พ.ศ. 2551

โบราณสถานในวัดมหาธาตุวรวิหาร ประกอบด้วย

  1. พระปรางค์ 5 ยอด
  2. พระวิหารหลวง 
  3. พระวิหารน้อย
  4. พระอุโบสถ
  5. พระระเบียงคต
  6. กำแพงและซุ้มประตู
  7. ซุ้มประตูหน้าวัดมหาธาตุ (ตรงพระวิหารหลวง)
  8. หอประชุม
  9. เจดีย์ยอดพรหมพักตร์
  10. เจดีย์พรหมสี่หน้า
  11. เจดีย์ฐานแปดเหลี่ยม
  12. ศาลานางสาวอัมพร บุญประคอง
  13. เขตสังฆาวาส

โบราณวัตถุ/ประติมากรรมในวัดมหาธาตุวรวิหาร ประกอบด้วย

  1. หลวงพ่ออู่ทอง
  2. ใบเสมา
  3. พระพุทธรูปในระเบียงคต
  4. พระบรมสารีริกธาตุ
  5. พระศรีรัตนเมตไตรย
  6. พระประธานปูนปั้นในพระวิหารหลวง
  7. พระประธานสัมฤทธิ์
  8. พระประธานปูนปั้นทรงราชาพรปูนปั้น

ศิลปกรรมที่พบในวัดมหาธาตุวรวิหาร

  1. จิตรกรรมฝาผนัง
  2. ปูนปั้น
  3. เมรุ
  4. ศิลปการแทงหยวกและเครื่องสด

ศิลปการแสดง

  1. ละครชาตรี
  2. หนังตะลุง

ทำเนียบเจ้าอาวาสวัดมหาธาตุวรวิหาร

  1. พระอธิการถัว
  2. พระอธิการแก้ว
  3. พระอธิการอัด
  4. พระอธิการครุธ
  5. พระอธิการน้อย
  6. พระอธิการหลุบ
  7. พระครูอโศกธรรมสาร
  8. พระสุวรรณมุนี (ชิต)
  9. พระเทพสุวรรณมุนี (ผัน)
  10. พระธรรมรัตนดิลก (บุญรวม สีลภูสิโต)
  11. พระราชสุวรรณมุนี (แคล้ว)
  12. พระครูวาทีวรวัฒน์, ดร. (กล้า วีรรตโน )

 

Subject

วัดมหาธาตุวรวิหาร
พระอารามหลวง

Coverage

เพชรบุรี
อำเภอเมืองเพชรบุรี

Date

13 กันยายน 2558

Type

ภาพถ่าย

Format

image/jpeg

Relation

  • พระเทพสุวรรณมุนี. (2542). พระอารามหลวงจังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท แวลลู พริ้นติ้ง จำกัด. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=26284 
  • ทวีโรจน์ กล่ำกล่อมจิตต์, บรรณาธิการ. (2552). สมโภชวัดมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครบ 500 ปี. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=63410 
  • บุญมี พิบูลย์สมบัติ, บรรณาธิการ. (2552). วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 5. เพชรบุรี : วัดมหาธาตุวรวิหาร. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=69157 
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี. (2554). เส้นทางท่องเที่ยวเมืองพริบพรี. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=69849 
  • ระเบียบ เชิงชม. (2539). วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : สถาบันราชภัฏเพชรบุรี. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=25607 
  • สมบูรณ์ แก่นตะเคียน, บรรณาธิการ. (2525). สมุดเพชรบุรี 2525. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=25657
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2554). หนังสืออ่านประกอบชุดในหลวงกับจังหวัดเพชรบุรี : ในหลวงกับการเสด็จพระราชดำเนิน ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=63406 
  • สมพร ประกอบชาติ, บรรณาธิการ. (2560). รอยเสด็จฯ เพชรบุรี : ประมวลพระบรมฉายาลักษณ์พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช บรมนาถบพิตร กับจังหวัดเพชรบุรี. มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=80671
  • จำนงค์ เอมรื่น, (2552). “วัดมหาธาตุวรวิหาร,” ฐานข้อมูลท้องถิ่น (เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์), accessed July 19, 2022, https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/32.
  • ทองใบ แท่นมณี, (2552). “เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ กับ วัดมหาธาตุฯ,” ฐานข้อมูลท้องถิ่น (เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์), accessed July 19, 2022, https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/33.
  • บุญมี พิบูลย์สมบัติ, “ปรางค์ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี,” ฐานข้อมูลท้องถิ่น (เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์), accessed July 19, 2022, https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/34.

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น

Geolocation