วัดมหาธาตุวรวิหาร

Mahatat-Temple-01.JPG
Mahatat-Temple-02.JPG
Mahatat-Temple-03.JPG
Mahatat-Temple-04.JPG
Mahatat-Temple-05.JPG
Mahatat-Temple-06.JPG
Mahatat-Temple-07.JPG
Mahatat-Temple-08.JPG
Mahatat-Temple-09.JPG
Mahatat-Temple-10.JPG
Mahatat-Temple-11.JPG
Mahatat-Temple-12.JPG
Mahatat-Temple-13.JPG
Mahatat-Temple-14.JPG
Mahatat-Temple-15.JPG
Mahatat-Temple-16.JPG
Mahatat-Temple-17.JPG
Mahatat-Temple-18.JPG
Mahatat-Temple-19.JPG

Title

วัดมหาธาตุวรวิหาร

Creator

จำนงค์ เอมรื่น

Description

     วัดมหาธาตุวรวิหาร  เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเพชรบุรี  ตำบลคลองกระแชง อำเภอเมืองเพชรบุรี เดิมมีชื่อเรียกกันหลายชื่อ คือ วัดพระธาตุ วัดหน้าพระธาตุ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ ดังปรากฏในนิราศเมืองเพชรของสุนทรภู่ว่า “แล้วเลี้ยวลงตรงหน้าวัดพระธาตุ พอเดือนคลาดคล้อยจำรัสรัศมี…” เป็นต้น 

     วัดมหาธาตุวรวิหาร  ไม่มีหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด มีผู้สันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยทวารวดี-สุโขทัย มีอายุราว 800-1000 ปี โดยพบหลักฐานสำคัญคือ ซากอิฐสมัยทวารวดีเป็นจำนวนมาก 

     อนึ่งวัดมหาธาตุวรวิหาร น่าจะเป็นวัดที่เจริญรุ่งเรืองและเป็นพระอารามหลวงมาก่อน ต่อมากับชำรุดทรุดโทรมลง 

     สมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าได้เสด็จมาเยี่ยมเยือนเมื่อพศ. 2458 หลังจากไฟไหม้เมืองเพชรบุรีครั้งใหญ่ในปีขาล พ.ศ 2457  ไป ไปได้ ไฟได้ไหม้กุฏิสงฆ์และอื่น ๆ ทางด้านสังฆาวาสทั้งหมด ทรงรับสั่งให้ไวยาวัจกร ถวายกัปปิยภัณฑ์ส่วนพระองค์จำนวนหนึ่ง  พร้อมมีพระวินิจฉัยเกี่ยวกับวัดมหาธาตุว่า น่าเสียดายที่เป็นวัดที่อยู่เบียดเสียดกับวัดอื่นๆหลายวัด มีโบราณวัตถุอันเป็นปูนปั้น เป็นลวดลายที่หน้าบัน ซุ้มประตู ซุ้มหน้าตา ฝีมือปั้นวิจิตรงดงามมาก ภาพกลางหน้าบันและกลางซุ้ม ไม่มีซ้ำกัน ดูไม่จืดตาจะเป็นวัดที่เจริญต่อไป 

     อนึ่งสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรสสมเด็จพระสังฆราชเจ้า ได้ประทานนามวัดเสียใหม่ว่า วัดมหาธาตุ และได้พระราชทานพระราชหัตถเลขาถึงเจ้าพระยาพระเสด็จสุเรนทราธิบดีเสนาบดีกระทรวงธรรมการ เมื่อวันที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2458 ความตอนหนึ่งว่า เมื่อฉันไปตรวจคณะสงฆ์นนทบุรีครั้งนี้ ได้พบวัดมหาธาตุ วัดสุวรรณาราม เมืองเพชรบุรี เป็นวัดโบราณ มีฝีมือช่างที่ทำเป็นกรณี ฉันเป็นหวัดใหญ่ สมควรที่จะรักษาไว้เป็นเกียรติของเมือง ไม่ได้เป็นวัดหลวง ฝีมือช่างอาจกลายไปได้ตามใจรักษา หรือตามความถนัดของผู้นำ และเมื่อฟุตซอลจะหาคนปฏิสังขรณ์ได้ยาก เพราะฉะนั้น ฉันขอพระราชทานยศวัดมหาธาตุ วัดสุวรรณาราม ขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และก็ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีเมื่อพุทธศักราช 2458

     อาณาเขต วัดมหาธาตุแบ่งเป็น 2 เขต หน้าทิศเหนือเป็นเขตพุทธาวาส ด้านทิศใต้เป็นเขตสังฆาวาส มีถนนนอกเป็นแนวกั้นเขตทั้งสอง เนื้อที่ของวัดฝ่ายพุทธาวาส 8 ไร่ 1 งาน 9 ตารางวา ควายสังฆาวาส  2  ไร่ รวม เป็นเนื้อที่ 10 ไร่ 1 งาน 49 ตารางวา

     ผู้สร้างวัด วัดมหาธาตุน่าจะเป็นวัดที่ได้สร้างมาแต่สมัยทวารวดี มีใบเสมาคู่ ลวดลายแบบทวารวดี สงสารคือสุวรรณภูมิ สลักหินทราย เป็นหลักฐาน

     สมัยลพบุรี จากรายงานการอนุรักษ์จิตรกรรมฝาผนังพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ ระหว่างวันที่ 7 มีนาคมพุทธศักราช 2534 ถึงวันที่ 30 กันยายนพุทธศักราช 2534  ของคุณวัลภา ณ สงขลา กับคณะ ผู้เชี่ยวชาญจากกรมศิลปากร กระทรวงศึกษาธิการรายงานไว้ว่า “... มีหลักฐานสำคัญอย่างหนึ่ง  คือ ศิลาจารึกปราสาทพระขรรค์ พุทธศักราช 1734  ระบุว่า พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 ได้โปรดให้สร้างพระพุทธรูป พระชัยพุทธมหานาถ ขึ้น 23 องค์  20 3 องค์แล้ว องค์ แล้วโปรดให้อัญเชิญไปประดิษฐานยังเมืองต่างๆ คือลพบุรี  ราชบุรี สุพรรณบุรี เพชราบุรี ฯลฯ การประดิษฐานพระพุทธรูปครั้งนั้นคงได้สร้างพระปรางค์สีศาสนสถานแบบของไว้ด้วย จึงปรากฏว่ามีพระปรางค์อยู่ในจังหวัดต่างๆ ที่กล่าวไว้ในจารึกนั้น สืบมาจนถึงปัจจุบัน และการอัญเชิญพระพุทธรูปมาประดิษฐานไว้นั้น ย่อมหมายความว่า ได้สถาปนาศาสนสถานแห่งนั้นขึ้นเป็นวัดในพระพุทธศาสนาด้วย  และสันนิษฐานว่า พระปรางค์องค์ประธานของวัดมหาธาตุอาจสร้างขึ้นในครั้งนั้น …”

     สมัยอยุธยาตอนต้น คณะของคุณวรรณนิภา ณ สงขลา ยังมีความเห็นอีกว่า “...ศิลปกรรมสมัยก่อนอยุธยา อยุธยาตอนต้นในวัดมหาธาตุอาจเคยมีอยู่บ้าง เช่นพระพุทธรูป หลวงพ่ออู่ทอง ใบเสมาหินสีแดงจำหลักที่วางไว้ที่พื้นหน้าพระอุโบสถ มีลักษณะเจดีย์ทรงระฆังมีฐานสูงที่หน้าพระอุโบสถ ศิลปกรรมดังกล่าวนี้ได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์มาแล้วหลายครั้ง การสังเกตรูปแบบและลักษณะเดิมทำได้ยาก…”

     สมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ พ.ศ. 2275 - 2301 พระองค์ได้ทรงสร้างและบูรณะปฏิสังขรณ์วัดต่างๆ มีพระบรมราชานุญาตให้พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนาง ข้าราชบริพาร ร่วมโดยเสด็จพระราชกุศลสร้างวัดวาอารามและเจดีย์สถาน ทั้งในกลุ่มและหัวเมืองเป็นอันมาก ปรากฏว่าศิลปกรรมต่างๆในสมัยของพระองค์ มีอยู่ในวัดมหาธาตุมากอย่าง เช่น พระวิหารหลวง พระระเบียงคด พระอุโบสถ พระวิหารน้อย ลายปูนปั้นหน้าบันซุ้มประตูซุ้มหน้าต่าง พระพุทธรูป และปูชนีย Minecraftวัตถุต่างๆที่ประณีตงดงาม

Subject

พระอารามหลวง
วัด
โบราณสถาน
วัดมหาธาตุวรวิหาร

Coverage

เพชรบุรี
เมืองเพชรบุรี

Source

294.33 ส231
ทวีโรจน์ กล่ำกล่อมจิตต์, บรรณาธิการ. (2552). สมโภชวัดมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครบ 500 ปี. เพชรภูมิการพิมพ์.

Publisher

เพชรภูมิการพิมพ์

Date

ธันวาคม 2552

Type

text

Format

image/jpeg

Language

tha

Relation

  • ทวีโรจน์ กล่ำกล่อมจิตต์, บรรณาธิการ. (2552). สมโภชวัดมหาธาตุวรวิหาร จ.เพชรบุรี ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครบ 500 ปี. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=63410 
  • พระเทพสุวรรณมุนี. (2542). พระอารามหลวงจังหวัดเพชรบุรี. กรุงเทพฯ : บริษัท แวลลู พริ้นติ้ง จำกัด. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=26284 
  • บุญมี พิบูลย์สมบัติ, บรรณาธิการ. (2552). วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี. พิมพ์ครั้งที่ 5. เพชรบุรี : วัดมหาธาตุวรวิหาร. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=69157 
  • มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี. (2554). เส้นทางท่องเที่ยวเมืองพริบพรี. เพชรบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=69849 
  • ระเบียบ เชิงชม. (2539). วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : สถาบันราชภัฏเพชรบุรี. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=25607 
  • สมบูรณ์ แก่นตะเคียน, บรรณาธิการ. (2525). สมุดเพชรบุรี 2525. กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์เรือนแก้วการพิมพ์. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=25657
  • มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี. (2554). หนังสืออ่านประกอบชุดในหลวงกับจังหวัดเพชรบุรี : ในหลวงกับการเสด็จพระราชดำเนิน ณ วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี. เพชรบุรี : เพชรภูมิการพิมพ์. https://book.pbru.ac.th/cgi-bin/koha/opac-detail.pl?biblionumber=63406
  • สวัสดิ์ อุราฤทธิ์, (2565). “วัดมหาธาตุวรวิหาร จังหวัดเพชรบุรี,” ฐานข้อมูลท้องถิ่น (เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์), accessed July 19, 2022, https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/31.
  • ทองใบ แท่นมณี, (2552). “เจ้าฟ้ามหากษัตริย์ กับ วัดมหาธาตุฯ,” ฐานข้อมูลท้องถิ่น (เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์), accessed July 19, 2022, https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/33.
  • บุญมี พิบูลย์สมบัติ, “ปรางค์ที่วัดมหาธาตุ จังหวัดเพชรบุรี,” ฐานข้อมูลท้องถิ่น (เพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์), accessed July 19, 2022, https://localphetchaburi.net/eLocal/items/show/34.

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น

Geolocation