พรรณพฤกษากับการออกลวดลายปูนปั้นประดับหน้าบันอาคาร ในศิลปะสกุลช่างเพชรบุรี

25660202_Phetchaburi School.pdf

Title

พรรณพฤกษากับการออกลวดลายปูนปั้นประดับหน้าบันอาคาร ในศิลปะสกุลช่างเพชรบุรี
Stucco Floral Motifs on the Pediments of the Phetchaburi School

Creator

ดวงกมล บุญแก้วสุข

Description

การศึกษาเกี่ยวกับรูปแบบลวดลายปูนปั้นประดับหน้าบันอาคารในศิลปะสกุลช่างเพชรบุรีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่เน้นความสำคัญกับแบบแผนลวดลายแนวประเพณี ประเภทลวดลายก้านขด และลวดลายเครือเถากระหนกแบบต่างๆ เป็นหลัก เนื่องจากเป็นแบบแผนที่ปรากฏเด่นชัดในงานศิลปะไทยแนวประเพณีโดยทั่วไป บทความฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของรูปแบบลวดลายพรรณพฤกษาในงานปูนปั้นสกุลช่างเพชรบุรี โดยทำการศึกษาตัวอย่างลวดลายประดับหน้าบันในศิลปะปูนปั้น ร่วมกับงานสลักไม้สกุลช่างเพชรบุรี ที่ปรากฏหลักฐานการสร้างสมัยอยุธยาตอนปลายถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2510 ในเขตจังหวัดเพชรบุรี ก่อนนำผลมาเทียบเคียงกับกลุ่มตัวอย่างงานปูนปั้นประดับหน้าบันอาคารของช่างปูนปั้นเพชรบุรีที่มีชื่อเสียงในปัจจุบัน (พ.ศ. 2511 ถึงปัจจุบัน)

ผลการศึกษาพบว่าลวดลายประเภทพรรณพฤกษาเป็นแบบลวดลายสำคัญที่ปรากฏหลักฐานมาตลอดในงานประดับสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น โดยเป็นลวดลายทางเลือกสำหรับการประดับองค์ประกอบปลีกย่อยที่ช่างต้องการปรับให้มีความหลากหลายของลวดลาย ทั้งยังปรากฏแบบแผนการออกลายประเภทก้านขด และเครือเถากระหนกในงานประดับหน้าบันอาคารกลุ่มหนึ่ง ที่แสดงความสัมพันธ์กับการออกลายอันมีพื้นฐานมาจากความเข้าใจในการออกลวดลายประเภทต่างๆ ว่ามีนิมิตจากลายเถาวัลย์ในธรรมชาติ และนับว่าเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งในงานศิลปะสกุลช่างเพชรบุรีที่มีการสืบทอดมาในงานปูนปั้นยุคปัจจุบัน

Subject

พรรณพฤกษา
ลวดลายปูนปั้น
ศิลปะสกุลช่างเพชรบุรี

Coverage

เพชรบุรี

Source

ดวงกมล บุญแก้วสุข. (2558). พรรณพฤกษากับการออกลวดลายปูนปั้นประดับหน้าบันอาคาร ในศิลปะสกุลช่างเพชรบุรี. ศิลปากร, ปีที่35 ฉบับที่ 1 หน้า 83-101.
ISSN 2586 - 8489

Publisher

เพชรบุรี: มหาวิทยาลัยศิลปากร

Date

2558

Type

text

Format

application/pdf.

Language

tha

Rights

สำนักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี เป็นหน่วยงานทางการศึกษาไม่แสวงหาผลกำไร - ใช้สำหรับการศึกษา ค้นคว้า วิจัยเท่านั้น
Geolocation