ฝายต้นน้ำลำธาร
องค์ความรู้ศาสตร์พระราชา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (ต้นน้ำ)

รูปภาพ
          เพื่อชะลอน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้ดินและป่า โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่าย ปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะเพื่อเก็บกักน้ำและตะกอนดิน โดยน้ำที่กักไว้จะซึมเข้าไปในดินและแผ่ขยายความชุ่มชื้นออกไปทั้งสองข้างของฝาย ทำให้สามารถปลูกพันธุ์ไม้ ป้องกันไฟป่า ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำให้มีความสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังช่วยกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่างด้วย ศึกษาเพิ่มเติมเกี่ยวกับหญ้าแฝกในโครงการพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรีและประจวบคีรีขันธ์ ได้ที่
          - โครงการดูแลรักษาป่าไม้ บริเวณป่าละอูบนและเขาพะเนินทุ่งอันเนื่องมาจากพระราชดําริ ในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ แก่งกระจานและบริเวณต้นน้ํา ของแม่น้ำเพชรบุรี แม่น้ําปราณบุรี และพื้นที่ตลอดแนวชายแดน (เทือกเขาตะนาวศรี) ตั้งแต่ จังหวัดราชบุรีตอนล่างจรด อ. กุยบุรี จ. ประจวบคีรีขันธ์ ติดต่อ อุทยานแห่งชาติแก่งกระจาน อ. แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี โทรศัพท์ :  032-459291 โทรสาร :  032-459291

 

ฝายต้นน้ำลำธาร

          ฝายต้นน้ำลำธาร หรือ Check Dam คือ สิ่งก่อสร้างขวาง หรือกั้นทางน้ำ ซึ่งปกติมักจะกั้นลำห้วยลำธารขนาดเล็กในบริเวณที่เป็นต้นน้ำ หรือพื้นที่ที่มีความลาดชันสูงให้สามารถกักตะกอนอยู่ได้ และหากช่วงที่น้ำไหลแรงก็สามารถชะลอการไหลของน้ำให้ช้าลง และกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหล   ลงไปทับถมลำน้ำตอนล่าง ซึ่งเป็นวิธีการอนุรักษ์ดินและน้ำได้มากวิธีการหนึ่ง สามารถจำแนกรูปแบบฝายต้นน้ำลำธารได้ 3 รูปแบบ คือ
          1) ฝายผสมผสาน มีรูปแบบเหมาะสมกับร่องห้วยหรือลำห้วยแขนง
          2) ฝายกึ่งถาวร รูปแบบที่มีความแข็งแรงมากขึ้น เหมาะสำหรับร่องห้วยที่มีขนาดใหญ่กว่าห้วยแขนง
          3) ฝายถาวร รูปแบบที่แข็งแรง เหมาะสำหรับลำห้วยใหญ่ที่มีน้ำไหลแรง

          เพื่อชะลอน้ำสร้างความชุ่มชื้นให้ดินและป่า โดยใช้วัสดุราคาถูกและหาง่ายในท้องถิ่น เช่น แบบหินทิ้งคลุมด้วยตาข่าย ปิดกั้นร่องน้ำกับลำธารขนาดเล็กเป็นระยะเพื่อเก็บกักน้ำและตะกอนดิน โดยน้ำที่กักไว้จะซึมเข้าไปในดินและแผ่ขยายความชุ่มชื้นออกไปทั้งสองข้างของฝาย ทำให้สามารถปลูกพันธุ์ไม้ ป้องกันไฟป่า ฟื้นฟูพื้นที่ต้นน้ำให้มีความสมบูรณ์ขึ้นตามลำดับ นอกจากนี้ยังช่วยกักเก็บตะกอนไม่ให้ไหลลงไปทับถมลำน้ำตอนล่างด้วย


2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี