แก้มลิง
องค์ความรู้ศาสตร์พระราชา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (กลางน้ำ)

รูปภาพ

แก้มลิง เป็นชื่อที่มาจากพฤติกรรมการกินอาหารของลิงที่จะกักตุนอาหารไว้ที่แก้มก่อนแล้วค่อยนำออกมาเคี้ยวกินภายหลัง จึงนำมาใช้เรียกวิธีระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วม กล่าวคือ ในขณะที่มีน้ำมากก็ระบายมาเก็บไว้ในแหล่งเก็บน้ำ ที่เรียกว่า “แก้มลิง” ก่อน และในช่วงฤดูแล้งก็สามารถนำน้ำที่เก็บไว้มาใช้ประโยชน์ได้

 

          พระบาทสมเด็จพระปรเมนทรพระมหาภูมิพลอดุลยเดชบรมนาถบพิตรมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับแนวคิดของโครงการแก้มลิงเมื่อ พ.ศ. 2538  ไว้ดังนี้ ลิงโดยทั่วไปถ้าเราส่งกล้วยให้ ลิงจะรีบปอกเปลือกเอาเข้าปากเคี้ยวแล้วนำไปเก็บไว้ที่แก้มก่อนทิ้งจะทำอย่างนี้จนกล้วยหมดหรือเต็มกระปุกแก้มจากนั้นจะค่อยๆนำออกมาและกินภายหลัง

          เป็นชื่อที่มาจากพฤติกรรมการกินอาหารของลิงที่จะกักตุนอาหารไว้ที่แก้มก่อนแล้วค่อยนำออกมาเคี้ยวกินภายหลัง จึงนำมาใช้เรียกวิธีระบายน้ำออกจากพื้นที่น้ำท่วม กล่าวคือ ในขณะที่มีน้ำมากก็ระบายมาเก็บไว้ในแหล่งเก็บน้ำ ที่เรียกว่า “แก้มลิง” ก่อน และในช่วงฤดูแล้งก็สามารถนำน้ำที่เก็บไว้มาใช้ประโยชน์ได้

          แก้มลิงเป็นวิธีการบรรเทาปัญหาน้ำท่วมโดยวิธีการระบายน้ำแบบแก้มลิงคือ ระบายน้ำออกจากพื้นที่ตอนบน เพื่อให้น้ำไหลลงคลองอาบน้ำที่ชายทะเล จากนั้นเมื่อระดับน้ำทะเลลดลงต่ำกว่าน้ำในคลอง น้ำในคลองไหลลงสู่ทะเลตามธรรมชาติ  ที่ทำหน้าที่แก้มลิง ทำให้น้ำตอนบนค่อยๆมาเอง  จึงปิดประตูระบายน้ำ ให้น้ำไหลลงทางเดียว ( one way flow)

 

โครงการแก้มลิงแบ่งออกเป็น 3 ประเภทดังนี้

  1. แก้มลิงขนาดใหญ่ เป็นสระน้ำหรือบึงขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน อ่างเก็บน้ำ ฝาย ทุ่งเกษตรกรรมเป็นต้น

  2. แก้มลิงขนาดกลาง เป็นพื้นที่ชะลอน้ำที่มีขนาดเล็กลงก่อสร้างในระดับลุ่มน้ำมักเป็นพื้นที่ธรรมชาติ  หนอง บึง คลอง เป็นต้น

  3. แก้มลิงขนาดเล็ก มักเป็นพื้นที่สาธารณะ เช่น  ลานหรือสนามในบ้าน ซึ่งต่อเข้ากับระบบระบายน้ำหรือคลอง


2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี