เศรษฐกิจพอเพียง
องค์ความรู้ศาสตร์พระราชาด้านการดำเนินชีวิต (กลางน้ำ)

รูปภาพ

          “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

          1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
          3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
          โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
          1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
          2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต

 

ศึกษาเพิ่มเติมในโครงการพระราชดำริจังหวัดเพชรบุรีและจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ดังนี้

  • ศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยทรายอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ต. สามพระยา อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี โทรศัพท์ : 032-593252-3 โทรสาร : 032-593252 ตัวอย่างเป็นดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน

  • โครงการจัดพัฒนาที่ดินตามพระราชประสงค์ หนองพลับ-กลัดหลวง มีพื้นที่ดำเนินการครอบคลุม ต.หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ต. ไร่ใหม่พัฒนา อ. ชะอํา ต. เขากระแปุก และ ต. กลัดหลวง อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี ตัวอย่างเป็นดินลูกรัง ดินดาน ติดต่อ ศูนย์ปฏิบัติการโครงการจัดพัฒนาที่ดิน ตามพระราชประสงค์ ต.หนองพลับ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ โทร 0-3257-1138 โทรสาร. 0-3252-8015

  • โครงการตามพระราชประสงค์หุบกะพง หมู่ที่  8 และ 10 ต. เขาใหญ่ อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี ตัวอย่างเป็นดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน ขาดน้ำ ติดต่อ ศูนย์สาธิตสหกรณ์โครงการหุบกะพง  อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี 76120 โทรศัพท์ 0-3247-1100 โทรสาร 0-3247-1543 หรือที่ สหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี โทร. 0-3242- 5260 ต่อ 12

  • โครงการตามพระราชประสงค์ดอนขุนห้วย หมู่ที่ 5 ต. ดอนขุนห้วย อ. ชะอำ จ. เพชรบุรี หมู่ที่ 5 และ 6 ต. ท่าคอย อ. ท่ายาง จ. เพชรบุรี ตัวอย่างเป็นดินทราย มีแร่ธาตุน้อย ดินดาน ขาดน้ำ ติดต่อ กองพลพัฒนาที่ 1 / กองอำนวยการควบคุมและประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ค่ายศรีสุริยวงศ์ ต. ดอนตะโก อ. เมือง จ. ราชบุรี  โทรศัพท์ 0-3232-7801-2 ต่อ 52428, 0-3220-7383 โทรสาร 0-3232-8561

  • โครงการสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าเด็ง-ป่าละอู ต. ป่าเด็ง อ. แก่งกระจาน จ. เพชรบุรี และ ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ เนื้อที่ ติดต่อ สหกรณ์จังหวัดเพชรบุรี โทร 0-3242-5260 ต่อ 12

  • โครงการหมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ต. หนองพลับ อ. หัวหิน จ. ประจวบคีรีขันธ์ ติดต่อ ศูนย์ประสานงานโครงการตามพระราชประสงค์หมู่บ้านสหกรณ์ห้วยสัตว์ใหญ่ ป่าละอู หนองพลับ จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ เลขที่ 20 หมู่ 2 ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ 77110 โทรศัพท์ 0 3264 6720

 

เศรษฐกิจพอเพียง

          “เศรษฐกิจพอเพียง” เป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพระราชทานพระราชดำริชี้แนะแนวทาง การดำเนินชีวิตแก่พสกนิกรชาวไทยมาโดยตลอดนานกว่า ๒๕ ปี ตั้งแต่ก่อนเกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจ และเมื่อภายหลังได้ทรงเน้นย้ำแนวทางการแก้ไขเพื่อให้รอดพ้น และสามารถดำรงอยู่ได้อย่างมั่นคงและยั่งยืนภายใต้กระแสโลกาภิวัตน์และความ เปลี่ยนแปลงต่างๆ

ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

          เศรษฐกิจพอเพียง เป็นปรัชญาชี้ถึงแนวการดำรงอยู่และปฏิบัติตนของประชาชนในทุกระดับ ตั้งแต่ระดับครอบครัว ระดับชุมชน จนถึงระดับรัฐ ทั้งในการพัฒนาและบริหารประเทศให้ดำเนินไปในทางสายกลาง โดยเฉพาะการพัฒนาเศรษฐกิจ เพื่อให้ก้าวทันต่อโลกยุคโลกาภิวัตน์
          ความพอเพียง หมายถึง ความพอประมาณ ความมีเหตุผล รวมถึงความจำเป็นที่จะต้องมีระบบภูมิคุ้มกันในตัวที่ดีพอสมควร ต่อการกระทบใดๆ อันเกิดจากการเปลี่ยนแปลงทั้งภายในภายนอก ทั้งนี้ จะต้องอาศัยความรอบรู้ ความรอบคอบ และความระมัดระวังอย่างยิ่งในการนำวิชาการต่างๆ มาใช้ในการวางแผนและการดำเนินการ ทุกขั้นตอน และขณะเดียวกัน จะต้องเสริมสร้างพื้นฐานจิตใจของคนในชาติ โดยเฉพาะเจ้าหน้าที่ของรัฐ นักทฤษฎี และนักธุรกิจในทุกระดับ ให้มีสำนึกในคุณธรรม ความซื่อสัตย์สุจริต และให้มีความรอบรู้ที่เหมาะสม ดำเนินชีวิตด้วยความอดทน ความเพียร มีสติ ปัญญา และความรอบคอบ เพื่อให้สมดุลและพร้อมต่อการรองรับการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วและกว้างขวาง ทั้งด้านวัตถุ สังคม สิ่งแวดล้อม และวัฒนธรรมจากโลกภายนอกได้เป็นอย่างดี

ความหมายของเศรษฐกิจพอเพียง จึงประกอบด้วยคุณสมบัติ ดังนี้

          1. ความพอประมาณ หมายถึง ความพอดีที่ไม่น้อยเกินไปและไม่มากเกินไป โดยไม่เบียดเบียนตนเองและผู้อื่น เช่น การผลิตและการบริโภคที่อยู่ในระดับพอประมาณ
          2. ความมีเหตุผล หมายถึง การตัดสินใจเกี่ยวกับระดับความพอเพียงนั้น จะต้องเป็นไปอย่างมีเหตุผล โดยพิจารณาจากเหตุปัจจัยที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนคำนึงถึงผลที่คาดว่าจะเกิดขึ้นจากการกระทำนั้นๆ อย่างรอบคอบ
          3. ภูมิคุ้มกัน หมายถึง การเตรียมตัวให้พร้อมรับผลกระทบและการเปลี่ยนแปลงด้านต่างๆ ที่จะเกิดขึ้น โดยคำนึงถึงความเป็นไปได้ของสถานการณ์ต่างๆ ที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในอนาคต
          โดยมี เงื่อนไข ของการตัดสินใจและดำเนินกิจกรรมต่างๆ ให้อยู่ในระดับพอเพียง ๒ ประการ  ดังนี้
          1. เงื่อนไขความรู้ ประกอบด้วย ความรอบรู้เกี่ยวกับวิชาการต่างๆ ที่เกี่ยวข้องรอบด้าน ความรอบคอบที่จะนำความรู้เหล่านั้นมาพิจารณาให้เชื่อมโยงกัน เพื่อประกอบการวางแผนและความระมัดระวังในการปฏิบัติ
          2. เงื่อนไขคุณธรรม ที่จะต้องเสริมสร้าง ประกอบด้วย มีความตระหนักใน คุณธรรม มีความซื่อสัตย์สุจริตและมีความอดทน มีความเพียร ใช้สติปัญญาในการดำเนินชีวิต
 
 
 

2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี