การบำบัดน้ำเสีย
องค์ความรู้ศาสตร์พระราชา ด้านการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ (ปลายน้ำ)

รูปภาพ
          การบำบัดน้ำเสีย การฟื้นฟูป่าชายเลน สัมพันธ์เกื้อกูลกัน โดยรับน้ำเสียจากเมืองเพชรบุรีมาบำบัด ผ่านบ่อผึ่งแสงแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค บ่อกรองด้วยพืชน้ำ เช่น กก ธูปฤาษี ผักตบชวา เป็นต้น แล้วปล่อยน้ำให้เจือจางกับน้ำทะเลตามเวลาขึ้นลงของน้ำทะเล เพื่อให้เกิดตะกอนของสารอินทรีย์ในน้ำเสีย อาศัยรากพืชป่าชายเลนช่วยในการปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนเติมให้กับน้ำเสียและจุลินทรีย์ในดินเพื่อให้เกิดการย่อยสลาย ทำให้น้ำเสียมีคุณภาพดีขึ้นก่อนปล่อยลงสู่ทะเล และป่าชายเลนงอกงามขึ้นจากตะกอนของน้ำเสียที่เป็นปุ๋ยธรรมชาติ 

ศึกษาเรียนรู้เพิ่มเติมได้ที่

  • โครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ยอันเนื่องมาจากพระราชดำริ บ้านพะเนิน ต. แหลมผักเบี้ย อ. บ้านแหลม จ. เพชรบุรี 76100 โทรศัพท์ : 02–579-2116 Facebook : https://www.facebook.com/LERDProject/

 

          โครงการวิจัยและพัฒนาสิ่งแวดล้อมแหลมผักเบี้ย อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี เป็นการบำบัดน้ำเสีย การฟื้นฟูป่าชายเลน สัมพันธ์เกื้อกูลกัน โดยรับน้ำเสียจากเมืองเพชรบุรีมาบำบัด ผ่านบ่อผึ่งแสงแดดเพื่อฆ่าเชื้อโรค บ่อกรองด้วยพืชน้ำ เช่น กก ธูปฤาษี ผักตบชวา เป็นต้น แล้วปล่อยน้ำให้เจือจางกับน้ำทะเลตามเวลาขึ้นลงของน้ำทะเล เพื่อให้เกิดตะกอนของสารอินทรีย์ในน้ำเสีย อาศัยรากพืชป่าชายเลนช่วยในการปลดปล่อยก๊าซออกซิเจนเติมให้กับน้ำเสียและจุลินทรีย์ในดินเพื่อให้เกิดการย่อยสลาย ทำให้น้ำเสียมีคุณภาพดีขึ้นก่อนปล่อยลงสู่ทะเล และป่าชายเลนงอกงามขึ้นจากตะกอนของน้ำเสียที่เป็นปุ๋ยธรรมชาติ ดังนี้

            ๑. ระบบบ่อบำบัดน้ำเสีย ได้แก่ บ่อตกตะกอน บ่อผึ่ง และบ่อปรับสภาพน้ำ โดยแต่ละบ่อใช้เวลาบำบัดน้ำเสีย ๗ วัน

 

 

 

          ๒. จัดทำแปลงระบบพืชและหญ้ากรองน้ำเสีย ได้แก่ หญ้า สตาร์ หญ้าคาลล่า  หญ้าโดสครอส และพืชอื่นๆ ได้แก่ ธูปฤาษี  กกจันทรบูร  หญ้าแฝก  โดยใช้เวลาให้น้ำเสียไหลผ่าน ๕ วัน และปล่อยทิ้งไว้ให้แห้ง ๒ วัน เพื่อให้จุลินทรีย์ในดินปรับสภาพ

 

 

          ๓. จัดทำระบบพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม ลักษณะคล้ายกับแปลงระบบพืชกรองน้ำเสีย โดยใช้พืชน้ำ ๒ ชนิด คือ กกจันทบูร  และธูปฤาษี

 

 

          ๔. จัดทำแปลงพืชป่าชายเลน โดยให้น้ำทะเลไหลเข้าสู่แปลงป่าชายเลนในช่วงที่น้ำขึ้นสูงสุดในรอบวัน  และปิดประตูระบายน้ำขังน้ำทะเลไว้  แล้วปล่อยน้ำเสียเข้าไปในแปลงในอัตราส่วน ๑ ต่อ ๑๖ (น้ำเสีย ๑ ส่วน ต่อน้ำทะเล ๑๖ ส่วน) เพื่อการเจือจาง เร่งการตกตะกอน และพืชชายเลนช่วยดูดสารอาหารจากการย่อยสลายสารอินทรีย์ของจุลินทรีย์ในดิน  ทำให้ป่าชายเลนเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว

 

          กล่าวโดยสรุปได้ว่า ระบบการบำบัดน้ำเสียมีการรวบรวมน้ำทิ้งในเขตเทศบาลเมืองเพชรบุรี ส่งน้ำโดยท่อมายังบ่อตกตะกอน แล้วปล่อยน้ำผ่านแปลงระบบพืชกรองน้ำเสีย  ผ่านพื้นที่ชุ่มน้ำเทียม และในขั้นตอนสุดท้าย จะปล่อยลงสู่ป่าชายเลนและไหลสู่ทะเล


2022 © ศูนย์เรียนรู้ภูมิปัญญาราชภัฏเพชรบุรี